การฝึกงานสำหรับการปฏิบัติงานด้านต่างประเทศ

Job Internship in International Affairs

จุดมุ่งหมายของวิชาการฝึกงานสำหรับการปฏิบัติงานด้านต่างประเทศ เป็นการให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษ ในประเทศหรือต่างประเทศ ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 450 ชั่วโมง โดยมีพนักงานของสถานประกอบการที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ดูแล และให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานของนักศึกษา
เพื่อให้เป็นวิชาที่นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง ทำงานเป็นทีม เป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา ภายใต้การดูแลของพนักงานพี้เลี้ยงจากสถานประกอบการและอาจารย์ที่ปรึกษา
Preparation for job internship trainning and being an intern in a domestic or overseas workplace in the English field for a minimum of 450 hours under the supervision of the employer.
คุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่

ความมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
กระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้
         1.2.1    จัดปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศนักศึกษาก่อนและหลังออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
         1.2.2    จัดทำแผนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา แผนการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ กำหนดขอบเขตของงาน กำหนดวิธีการประเมินผลงานร่วมกับสถานประกอบการ
         1.2.3    มอบหมายงาน กำหนด ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการเช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร
         1.2.4    ให้นักศึกษาจัดทำบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
         1.3.1    ประเมินโดยพนักงานที่ปรึกษาของสถานประกอบการ ด้วยการสังเกตจากพฤติกรรมและการแสดงออกในระหว่างปฏิบัติสหกิจศึกษา
         1.3.2    อาจารย์นิเทศทำการสัมภาษณ์พนักงานที่ปรึกษาของสถานประกอบการ รวมทั้งเพื่อนร่วมงาน (ถ้ามี) ตลอดจนบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
         1.3.3    การประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำระหว่างการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา  และประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมายโดยสถานประกอบการ
         1.3.4   ความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลา ในการนำเสนอผลการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษาวันปัจฉิมนิเทศ
ความรู้ที่จะได้รับ/ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
         พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจ ทั้งความรู้ด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ โดยเน้น
         2.1.1    ความรู้และความเข้าใจที่ในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงานจริง
         2.1.2    ความสามารถในการนำความรู้ทางภาษาไปบูรณาการกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย
กระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้
          2.2.1    สถานประกอบการจัดให้มีพนักงานที่ปรึกษาทำหน้าที่ให้คำแนะนำต่างๆ แก่นักศึกษาตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติสหกิจศึกษา
         2.2.2    สถานประกอบการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ทรัพยากรต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างเต็มที่ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของพนักงานที่ปรึกษา
         2.2.3    มีการมอบหมายงานแก่นักศึกษา และติดตามเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
         2.3.1    ประเมินผลการปฏิบัติงานโดยอาจารย์นิเทศ พนักงานที่ปรึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ     โดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยฯ
         2.3.2    ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผลงานหรือโครงงาน ที่นักศึกษาได้รับมอบหมายตามหลักวิชาการและวิชาชีพของหลักสูตร
         2.3.3    ประเมินจากความตั้งใจและความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
         2.3.4     ประเมินจากความสามารถในการนำเสนอผลการปฏิบัติสหกิจศึกษาวันปัจฉิมนิเทศ
ทักษะทางปัญญาที่จะได้รับจากการพัฒนา/ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
         พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติ โดยมุ่งเน้น
         3.1.1    การประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการที่ได้รับจากการศึกษาไปใช้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
         3.1.2    การนำความรู้ทางภาษาอังกฤษ รวมถึงความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
กระบวนการหรือกิจกรรมที่ใช้พัฒนาผลการเรียนรู้
          3.2.1    มีการมอบหมายงานทั้งงานประจำตามหน้าที่และ/หรือโครงงานพิเศษ
          3.2.2    มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงงานที่ทำเป็นระยะๆ โดยอาจารย์นิเทศ และพนักงานที่ปรึกษา
          3.2.3    จัดให้มีการนำเสนอผลการปฏิบัติงานและการศึกษาของโครงงานต่อผู้บริหาร พนักงานที่ปรึกษา บุคคลอื่นๆ ของสถานประกอบการ และอาจารย์นิเทศในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ
         3.2.4    มีการจัดทำรายงานของงานและ/หรือโครงงานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ โดยเน้นความถูกต้องตามหลักวิชาการ
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
         3.3.1    อาจารย์นิเทศ และพนักงานที่ปรึกษาทำการประเมินผลการเรียนรู้จากงานและ/หรือโครงงานที่นักศึกษาทำ โดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยฯ
         3.3.2    ประเมินผลจากทักษะและความสามารถในการตอบข้อซักถาม ปฏิภาณไหวพริบ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ในระหว่างการนำเสนอผลการปฏิบัติงานและ/หรือผลการศึกษาโครงงานแบบปากเปล่า โดยอาจารย์นิเทศและพนักงานที่ปรึกษา
         3.3.3    ประเมินจากความถูกต้องตามหลักวิชาการของรายงาน โดยอาจารย์นิเทศ และพนักงานที่ปรึกษา
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถในการรับภาระความรับผิดชอบที่ควรมีการพัฒนา
         พัฒนาผู้เรียนให้มี
         4.1.1    มนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
         4.1.2    ภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม มีความอดทน ขยันมั่นเพียร
         4.1.3    ความสามารถในการทำงานเป็นทีมและการแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
         4.1.4    ความสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์ที่ศึกษามาช่วยเหลือสังคมได้อย่างเหมาะสม
กระบวนการหรือกิจกรรมที่ใช้พัฒนาผลการเรียนรู้
         4.2.1    จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ให้นักศึกษาก่อนไปปฏิบัติงาน
         4.2.2    สร้างกิจกรรมสันทนาการละลายพฤติกรรม เพื่อให้เกิดความรู้รัก สามัคคี พร้อมทำงานเป็นทีม
         4.2.3    มอบหมายงานที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน
         4.2.4    มีการติดตามและประเมินผลพฤติกรรมการทำงานของนักศึกษาเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องโดยพนักงานที่ปรึกษาและอาจารย์นิเทศ
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
         4.3.1    ประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการนิเทศงานของอาจารย์นิเทศ ณ สถานประกอบการ ผ่านการสัมภาษณ์พนักงานที่ปรึกษา เพื่อนร่วมงาน และ/หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
         4.3.2    ประเมินจากเพื่อนร่วมงาน หรือพนักงานที่ปรึกษา ด้านมนุษยสัมพันธ์ มารยามสังคม การทำงานเป็นทีมของนักศึกษาโดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยฯ
         4.3.3    ประเมินจากทักษะการติดต่อประสานระหว่างอาจารย์นิเทศกับนักศึกษาในการออกนิเทศ
 
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องกับวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์การสื่อสารเฉพาะตามบริบทของกลุ่มสังคม
วิธีการสอน
         5.2.1    มอบหมายงานที่ต้องมีการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร และการเขียนตามความจำเป็นและเหมาะสมในการประสานงาน
         5.2.2    มอบหมายงานที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลการปฏิบัติงาน
         5.2.3    ฝึกการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
วิธีการประเมินผล
         5.3.1    ประเมินผลจากภาษาและสื่อเทคโนโลยีที่นักศึกษาใช้จัดทำในเล่มรายงานผลการปฏิบัติงาน และทักษะภาษาที่ใช้สื่อสารกับอาจารย์นิเทศ
         5.3.2    พนักงานที่ปรึกษา ทำการประเมินทักษะภาษาในการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาสหกิจศึกษา ระหว่างการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา โดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยฯ
         5.3.3    ประเมินจากความสามารถในการใช้ภาษาสื่อสารและใช้เทคโนโลยีในวันนำเสนอผลการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
          6.1.1  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
         6.1.2  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษา มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถานประกอบการได้
          6.1.3  สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและวัฒนธรรมในสถานประกอบการได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
         6.1.4  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล
          6.1.5  สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย    
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ   
6.2.1   จัดกิจกรรมปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศให้นักศึกษาก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา
6.2.2   จัดการนำเสนอผลการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษาของนักศึกษาเมื่อเสร็จสิ้นการฝึก
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
6.3.1  แบบประเมินของสหกิจศึกษาที่ให้อาจารย์นิเทศและพนักงานที่ปรึกษา หัวหน้างาน จากสถานประกอบการประเมิน
6.3.2  เล่มรายงานผลการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา
6.3.3  พฤติกรรมและความสามารถในวันนำเสนอผลการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา
 
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 3 4 5 1 2
1 BOAEC123 การฝึกงานสำหรับการปฏิบัติงานด้านต่างประเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การประเมินผลการเรียนรู้ การประเมินการบรรลุผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 5 ด้าน มีการแบ่งสัดส่วนคะแนนดังนี้ ผู้ประเมิน คะแนน สถานประกอบการ (พนักงานที่ปรึกษา) 50 มหาวิทยาลัยฯ 50 (อาจารย์นิเทศครั้งที่ 1 20) (อาจารย์นิเทศครั้งที่ 2 20) (การนำเสนอผลการฝึกปฏิบัติและเล่มรายงาน 10) รวม 100 1.2 การกำหนดค่าระดับคะแนน คะแนน ระดับคะแนน (เกรด) 70 – 100 S ต่ำกว่า 70 U 2. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา 2.1 ประเมินโดยพนักงานที่ปรึกษาของสถานประกอบการ และอาจารย์นิเทศร่วมกัน โดยใช้แบบประเมินและเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยฯ 2.2 อาจารย์นิเทศสรุปผลการประเมินการปฏิบัติงาน และรายงานผลต่อสหกิจศึกษา 3. ความรับผิดชอบของพนักงานที่ปรึกษาต่อการประเมินนักศึกษา 3.1 ให้ข้อมูล คำปรึกษา คำแนะนำ การสอนงาน การปฏิบัติตนในองค์กร ในระหว่างที่นักศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา รวมถึงการจัดทำแผนการปฏิบัติงาน และการจัดทำรายงาน 3.2 ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งระหว่างการปฏิบัติงาน และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน โดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยฯ 4. ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบประสบการณ์ภาคสนามต่อการประเมินนักศึกษา 4.1 การให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา 4.2 ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งระหว่างการปฏิบัติงาน และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดของนักศึกษาจากสถานประกอบการ ตลอดจนการประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ โดยใช้แบบประเมินของมหาวิทยาลัยฯ 5. การสรุปผลการประเมินที่แตกต่าง หากผลการประเมินของสถานประกอบการ กับอาจารย์นิเทศแตกต่างกัน ควรมีการประชุมร่วมกัน ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาหาข้อสรุป
กระบวนการประเมินการปฏิบัติสหกิจศึกษา
              1.1   นักศึกษา
1.1.1 นักศึกษาให้ข้อมูลหลังกลับจากสถานประกอบการ โดยใช้แบบฟอร์มแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยฯ
1.1.2 นักศึกษาประเมินสถานประกอบการว่าเป็นสถานประกอบการที่สามารถให้ประสบการณ์แก่นักศึกษาได้อย่างแท้จริง และตรงตามที่สาขาวิชากำหนดหรือไม่
1.1.3 นักศึกษากรอกแบบประเมินที่คณะจัดทำขึ้น ในการปฏิบัติงานตามระบบสหกิจศึกษา ตั้งแต่การเตรียมตัว การฝึกปฏิบัติงาน และการประเมินผล ตลอดจนปัญหา อุปสรรคที่พบ และแนวทางการแก้ไข
              1.2   พนักงานพี่เลี้ยงหรือสถานประกอบการ
                     ใช้แบบประเมินผลการปฏิบัติงานนักศึกษาสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ และควรให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาตนเองของนักศึกษาเพิ่มเติม
              1.3   อาจารย์นิเทศ
  นอกจากการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาแล้ว อาจารย์นิเทศต้องประเมินความพร้อมของสถานประกอบการ และพนักงานที่ปรึกษา เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาถึงความเหมาะสมในการส่งนักศึกษารุ่นต่อไป รวมทั้งควรให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาตนเองของนักศึกษาเพิ่มเติม
กระบวนการทบทวนผลการประเมินและการวางแผนปรับปรุง
2.1 อาจารย์นิเทศวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามระบบสหกิจศึกษา และประมวลผล
2.2 อาจารย์ในสาขาวิชาร่วมกันสรุปประเด็นการพัฒนา ปรับปรุง ทั้งที่เกี่ยวข้องในเนื้อหารายวิชาต่างๆ การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมนักศึกษา การวัดและประเมินผล และความร่วมมือกับสถานประกอบการ เพื่อให้ได้ข้อมูลในการวางแผนการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษารุ่นต่อไป และการปรับปรุงหลักสูตรในระยะเวลาที่กำหนด