วัสดุวิศวกรรม

Engineering Materials

พื่อเข้าใจขั้นตอน พื้นฐานการผลิตวัสดุในงานวิศวกรรม การกำหนดมาตรฐาน สมบัติทางกลและสมบัติทางกายภาพของวัสดุ ขีดจำกัดในการนำไปใช้งานของวัสดุชนิดโลหะกลุ่มเหล็ก โลหะนอกกลุ่มเหล็ก โพลีเมอร์เซรามิกส์ วัสดุคอมโพสิต แอลฟัลท์ ไม้ คอนกรีต และวัสดุงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
 
          1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอน พื้นฐานการผลิตวัสดุในงานวิศวกรรม           2. เพื่อศึกษาการกำหนดมาตรฐาน สมบัติทางกลและสมบัติทางกายภาพของวัสดุ           3. เพื่อศึกษาขีดจำกัดในการนำไปใช้งานของวัสดุชนิดโลหะกลุ่มเหล็กโลหะนอกกลุ่มเหล็ก           4. เพื่อศึกษาขีดจำกัดการนำไปใช้โพลีเมอร์เซรามิกส์ วัสดุคอมโพสิต แอลฟัลท์           5. เพื่อศึกษาขีดจำกัดการนำไปใช้ไม้ คอนกรีต และวัสดุในงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง คุณสมบัติ กระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้วัสดุวิศวกรรม เช่น โลหะ โพลิเมอร์ พลาสติก ยางมะตอย ไม้ คอนกรีต เซรามิค และวัสดุเชิงประกอบ แผนภาพสมดุลเฟสและการแปลความหมาย การทดสอบสมบัติต่างๆ ของวัสดุวิศวกรรมและการแปลความหมายสมบัติทางกลและการเสียหายของวัสดุ
ให้คำแนะนำในชั้นเรียน หากนักศึกษามีข้อสงสัยในเนื้อหาที่เรียน สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้โดยการมาพบอาจารย์นอกเวลาเรียน โดยอาจารย์ผู้สอนระบุ วัน เวลา ไว้ในประมวลการสอน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน หรือนักศึกษาสามารถปรึกษาทาง E-mail นอกเวลาราชการทุกวัน
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
วิธีการสอน
เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อของลักษณะรายวิชา โดย การวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง
ประเมินผลตลอดภาคเรียน ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มี ความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ  ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
วิธีการประเมินผล
ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม
1. กิจกรรมกลุ่ม และอภิปรายกลุ่มภายในห้องเรียน 2. ให้ทำรายงานกลุ่มและนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นกลุ่ม พร้อมทั้งชี้แจงบทบาทในการทำงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่ม
ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ ประเมินผลการดำเนินการบริการทางวิชาการต่อสังคม
1 มีทักษะการทำงานเป็นทีม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้ วิธีการวัดและประเมินผล 1. การอภิปราย/รายงาน/การนำเสนอและ การตอบคำถาม 2. นักศึกษาประเมินเพื่อนร่วมกลุ่มกิจกรรมและนักศึกษาประเมินตนเอง 4.2 ตระหนักถึงสิทธิของตนเองและผู้อื่น และยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์ วิธีการวัดและประเมินผล 1. การอภิปราย/รายงาน/การนำเสนอและ การตอบคำถาม 2. นักศึกษาประเมินเพื่อนร่วมกลุ่มกิจกรรม 4.5 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย วิธีการวัดและประเมินผล 1. ประเมินใบชี้แจงบทบาทในการทำงานและหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกกลุ่ม เมื่อมีการมอบหมายงานกลุ่ม 4.6 สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการวัดและประเมินผล 1. ประเมินใบชี้แจงบทบาทในการทำงานและหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกกลุ่ม เมื่อมีการมอบหมายงานกลุ่ม 4.7 สามารถวางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ วิธีการวัดและประเมินผล 1. รายงานกลุ่ม 2. การอภิปราย และการตอบคำถาม
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจ องค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลข่าวสาร
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก Website สภาวิศวกร และฐานข้อมูลออนไลน์ 2. ใช้สื่อการสอนสำเร็จรูป 3. ให้ทำการบ้านและรายงาน โดยเน้นการคำนวณตัวเลข หรือมีการคิดสถิติอ้างอิง 4. ให้นำเสนอผลงานหน้าชั้นโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสาร ความสามารถในการวิเคราะห์และแปลความหมาย
 ใช้ภาษาในการติดต่อ สื่อความหมายได้ดี ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน วิธีการวัดและประเมินผล 1. ประเมินรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 5.2 วิเคราะห์เชิงตัวเลขได้ วิธีการวัดและประเมินผล 1. ตรวจสอบความถูกต้องของการคำนวณตัวเลขและสถิติในงานที่มอบหมาย 5.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และคัดเลือก ข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม วิธีการวัดและประเมินผล 1. ดูรูปแบบ เนื้อหา และสื่อที่ใช้ในการนำเสนอรายงานหน้าชั้น 2. ส่งงานผ่านเทคโนโลยีได้ครบถ้วนทันตามกำหนด 5.4 สรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการเขียน พูด รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ วิธีการวัดและประเมินผล 1. ดูรูปแบบ เนื้อหา และสื่อที่ใช้ในการนำเสนอรายงานหน้าชั้น
1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
1. ให้ทำแบบฝึกหัดและการบ้านโดยมีการเฉลยในชั้นเรียนทุกครั้ง 2. อภิปรายกลุ่ม และวิเคราะห์กรณีศึกษาเป็นกลุ่มภายในห้อง 3. ให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน 4. เรียกตอบเป็นรายบุคคลระหว่างเรียน 5. สาธิตการทดสอบแรงดึง การทดสอบแรงกระแทก การทดสอบความแข็ง 6. เรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Performance based learning) 7. ฝึกการตรวจโครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์ 8. ฝึกวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบจำลองปัญหาด้านความเสียหาย
1. ตรวจการบ้านและแบบฝึกหัดของนักศึกษา 2. อภิปรายกลุ่ม 3.2 คิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างมีหลักการและเหตุผล มีวิสัยทัศน์ และความคิดสร้างสรรค์ วิธีการวัดและประเมินผล 1. สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการนำไปใช้ 2. การตอบปากเปล่ารายบุคคล 3. ผลงานกลุ่มในการวิเคราะห์ปัญหา การแก้ไขปัญหา และเสนอแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหา 3.3 นำความรู้มาประยุกต์ ในชีวิตประจำวัน แก้ไขปัญหา และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม วิธีการวัดและประเมินผล 1. ผลงานกลุ่มในการวิเคราะห์ปัญหา การแก้ไขปัญหา และเสนอแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหา 2. การตอบปากเปล่ารายบุคคล 3.4 มีทักษะปฏิบัติและสามารถแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานตามสภาพจริงได้ วิธีการวัดและประเมินผล 1. ประเมินการปฏิบัติจากแบบทดสอบ และใบงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.3, 4.4 การเข้าชั้นเรียนและพฤติกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 4.2, 4.3, 4.4 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 2.1, 3.2, 5.1, 5.2 ทดสอบย่อย 2-7, 9-16 10%
4 2.1, 3.2, 5.1, 5.2 สอบกลางภาค 8 20%
5 2.1, 3.2, 5.1, 5.2 สอบปลายภาค 17 20%
 -  รศ ดอกธูป พุทธมนต์ ,วัสดุวิศวกรรม (2544)
 -  รศ.แม้น อมรสิทธิ์ และผศ.ดร.สมชัย อัครทิวา, วัสดุวิศวกรรม (2544)
 -  ผศ.ณรงค์ศักดิ์ ธรรมโชติ, วัสดุวิศวกรรม (2552)
-
-
-  การประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษา
-  ผลการเรียนและผลการทำงานกลุ่มของนักศึกษา -  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
 -  พิจารณาจากผลการเรียนของนักศึกษา  -  พิจารณาจากการประเมินของนักศึกษา  -  พิจารณาจากความเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตร
 -  ประชุมอนุมัติเกรดนักศึกษา  -  ทวนจากคะแนน และงานที่มอบหมาย
  -  นำผลการประเมินการสอนและการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ มาพิจารณาปรับปรุงการเรียนการสอน