การอ่านเพื่อความเข้าใจ

Reading for Comprehension

เพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลวิธีการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ เก็บรายละเอียดข้อมูลเฉพาะ ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น การอนุมานความ การเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท
เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้หลักและกลวิธีการอ่านเอกสารภาษาอังกฤษ เพื่อจับใจความสำคัญและเก็บรายละเอียดข้อมูลเฉพาะ ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น การอนุมานความ การเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท เพื่อเป็นพื้นฐานของการศึกษารายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญเก็บรายละเอียดข้อมูลเฉพาะ ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น การอนุมานความ การเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
         ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
         1.2.1    ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
         1.2.2    กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.1   การเข้าเรียนตรงเวลา
         1.3.2    การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
         1.3.3    การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจ ทั้งความรู้ด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา
         2.1.1    ในทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในหลักและกลวิธีการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ และการกำหนดข้อมูลสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง
         2.1.2    ในทางปฏิบัติ เน้นความสามารถในการถ่ายทอดความเข้าใจสู่เพื่อนในชั้นเรียน และการเก็บข้อมูลที่ต้องการจากเรื่องที่อ่านอย่างถูกต้อง
         2.1.3    การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอ่านให้แก่ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
          2.2.1    ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
         2.2.2    ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชั้นเรียน
         2.2.3    ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการอ่านข้อเขียนประเภทต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลที่ต้องการ
2.3.1   การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
         2.3.2    การฝึกปฏิบัติการอ่านข้อเขียนประเภทต่าง ๆ ทั้งในและนอกชั้นเรียน
         2.3.3    ผลงานจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในการปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นที่การประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการอ่านงานเขียนประเภทต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลที่ต้องการ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1    ให้นักศึกษาฝึกการอ่านงานเขียนประเภทต่าง ๆ ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย
         3.2.2    ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลแก่กัน
3.3.1   การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
         3.3.2    การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
                   3.3.3    การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักการทำงานเป็นทีม โดยการช่วยกันค้นคว้าหาคำตอบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และช่วยกันระดมสมองในการฝึกการอ่านงานเขียนประเภทต่างๆ
4.3.1   ให้นักศึกษาประเมินกันเองในกิจกรรมกลุ่ม
         4.3.2    ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม
                   4.3.3    สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการอ่านเพื่อเก็บข้อมูลอย่างเหมาะสม
กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line
ดูจากผลการศึกษาจากเว็บไซต์ที่มอบหมาย  ความรู้ที่ได้รับ ผลการเรียนหลังการศึกษาค้นคว้า และการฝึกฝนด้วยตนเอง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 2..1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 2.9 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4..3 4.4 4.5 4.6 4.7 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 6.1 6.2 6.3
1 BOAEC109 การอ่านเพื่อความเข้าใจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-6 สอบกลางภาค 9 ร้อยละ 30
2 หน่วยที่ 7-12 สอบปลายภาค 17 ร้อยละ 30
3 หน่วยที่ 1-7 ชิ้นงาน อภิปราย นำเสนอ สอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 30
4 จิตพิสัย แบบสังเกต ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
1.  วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. 2544. Text Book Speed Reading. กรุงเทพฯ. ธีระป้อมวรรณกรรม.
2.  ไกรคุงและกรรณิการ์ อนัคฆกุล. มปป. เทคนิคพิชิตการอ่าน. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ภูมิบัณฑิต.
3.  สมุทร เซ็นเชาวนิช. 2549. เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
4.  มสธ. 2545. เอกสารการสอนชุดวิชา การอ่านภาษาอังกฤษ. นนทบุรี. ม.สุโขทัยธรรมาธิราช.
5.  Blanchard, K and Root, C. 2005. Ready to Read Now. NY: Pearson Education, Inc.
6.  Bradshaw, Robert I. “Figures of Speech” Available from ww.biblicalstudies.org.uk
7.  Carr, M. 2003-2007. “Inference” Available from www.algebralab.org/connections.aspx
8.  Craven, Miles. 2003. Extending Reading Keys. Oxford: Macmillan Education.
9.  Drury, Keith. 2001-2007. “Speed Reading Technique” Available from http://readerssoft.com
10.         Dyer, Brenda and Bushell Brenda. 2003. Global Outlook 1: High Intermediate Reading. New York: McGraw-Hill Co.
11.         Dyer, Brenda and Bushell Brenda. 2003. Global Outlook 2: Advanced Reading. New York: McGraw-Hill Co.
12.         Fry, Edward B. 2000. Reading Drills. Illinois: NTC/Contemporary Publishing Group, Inc.
13. เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ
 
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
          1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
          2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
          2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
          2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
          3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
          4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
          4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
          5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
          5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์