การจัดการการผลิตและปฎิบัติการ

Production and Operation Management

เพื่อผลิตวิศวกรระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการและการดำเนินการผลิตและปฏัติเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านโลจิสติกส์ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม สามารถนำแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดกาจัดการการผลิตและปฏิบัติการมาประยุกต์ใช้ร่วมกับศาสตร์ทางด้านโลจิสตกส์และโซ่อุปทานต่อไป
เพื่อผลิตวิศวกรระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและสามารถปฏิบัติงานในด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์ มีความสามารถปฏิบัติงานเฉพาะด้าน สามารถเข้าใจหลักการการจัดการการดำเนินงานและปฏิบัติการของโลจิสติกส์ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมบูรณาการร่วมกับการจัดการโซ่อุปทานและแนวคิดการบริหารโซ่อุปทาน การประเมินผลความสามารถของโซ่อุปทาน การบริหารโซ่อุปทานทั่วโลก นำหลักการและทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบของ โลจิสติกส์และโซ่อุปทานต่อไป
ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของงานอุตสาหกรรม การควบคุมคุณภาพและปริมาณรวมทั้งราคาและมาตรฐานตามที่ต้องการ การเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงาน และกระบวนการที่ใช้ในการผลิต การคาดการณ์ในอนาคต เทคนิคการพยากรณ์ การวางแผนกระบวนการผลิต การวิเคราะห์ตลาด การวางแผนความต้องการวัสดุ การจัดการและควบคุมวัสดุคงคลัง การจัดลำดับและตารางการผลิต การวิเคราะห์ผลตอบแทนสำหรับการตัดสินใจในการผลิต การบริหารและการจัดการโซ่อุปทานเบื้องต้น ตลอดจนการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการวางแผนและควบคุมการผลิต
เวลาให้คำปรึกษานักศึกษา หลักเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 16.00 - 17.00 น
 1.1.1  มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
 1.1.2  แสดงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ
 1.1.3  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
 1.1.4  เคารพในระเบียบและกฎเกณฑ์ขององค์กรและสังคม
1.2.1  เน้นในเรื่องให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลาในการเข้าเรียน และการส่งงานในเวลาที่กำหนด
1.2.2  ใช้กรณีศึกษาและการอภิปรายกลุ่ม
1.2.3  จัดกิจกรรมการพัฒนาคณะ / มหาวิทยาลัย / ชุมชน
1.3.1  เช็คชื่อการเข้าเรียน ตรวจสอบการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2  พฤติกรรมการเข้าร่วมทำกิจกรรมการพัฒนาของนักศึกษา
1.3.3  ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4  ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
 2.1.1  สามารถเข้าใจ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานของการจัดการการผลิตและปฏิบัตการ
 2.1.2  สามารถนำแนวคิดและทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้
2.2.1  บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับการจัดการการผลิตและปฏิบัตการ
2.2.2  มอบหมายให้ทำกรณีศึกษาธุรกิจ การวิเคราะห์การจัดการการผลิตและปฏิบัตการ ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการผลิตและปฏิบัตการ โดยนำมาสรุปและนำเสนอ
2.2.3  บรรยาย มอบหมายและนำเสนอรายงานศึกษากรณีศึกษาโดยนำทฤษฎีและหลักการของการจัดการการผลิตและปฏิบัตการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านโลจิสติกส์
2.3.1  ทดสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  ประเมินผลทักษะการนำหลักการจัดการการผลิตและปฏิบัตการมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและธุรกิจได้
2.3.3  ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1.1  พัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาของธุรกิจ โดยนำหลักการและทฤษฎีของการจัดการการผลิตและปฏิบัตการที่ได้เรียนมา และนำไปประยุกต์ในสถานการณ์จริง
3.1.2  พัฒนาความสามารถการแก้ปัญหาของธุรกิจ โดยนำหลักการและทฤษฎีการจัดการการผลิตและปฏิบัตการมาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม
3.1.3  พัฒนาการใฝ่หาความรู้
3.2.1  มีการมอบให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา บทความ ของการการจัดการการผลิตและปฏิบัตการ การทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์
3.2.2 จัดการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ วิเคราะห์กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติกับภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ โดยนำหลักการ การจัดการการผลิตและปฏิบัตการ มาใช้อย่างเหมาะสมพร้อมทั้งแก้ปัญหาในภาคธุรกิจให้มีประสิทธภาพ
3.2.3  มอบหมายงานการสืบค้นข้อมูลจากตำรา เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการผลิตและปฏิบัตการ
3.3.1  สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้หลักการ และทฤษฎีของการจัดการการผลิตและปฏิบัตการ
3.3.2  วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
3.3.3  ประเมิลผลจากงานที่มอบหมายและการนำเสนอ
4.1.1  พัฒนาให้นักศึกษาสามารถทำงานกลุ่มหรือผู้อื่นได้
4.1.2  พัฒนาให้มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.1  จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา และการฝึกภาคปฏิบัติเป็นกลุ่ม
4.2.2  มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.3.1  ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมและการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1  พัฒนาทักษะการนำเสนอโครงงาน และรายงาน การสื่อสารความหมายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1.2  พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน
5.1.3  พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้
5.2.1  มอบหมายรายงาน โครงงานหัวข้อพิเศษเกี่ยวกับการวิเคราะห์ธุรกิจ โดยนำหลักของการจัดการการผลิตและปฏิบัตการมาใช้ และการนำเสนอ
5.2.2  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำรายงานโดยให้มีการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.3  บรรยายและแนะนำหลักการพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติสำหรับการใช้งานในการวิเคราะห์ประเมินระบบโลจิสติกส์และประเมินโซ่อุปทาน นำเสนอกรณีศึกษาด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์โดยเน้นการนำตัวเลข หรือสถิติมาอ้างอิง
5.2.4  มอบหมายงานนำเสนอบทความวิจัยหรือบทความวิชาการภาษาอังกฤษ รวมถึงการท่องคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการจัดการการผลิตและปฏิบัตการและโลจิสติกส์
5.3.1  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยตัวเลข และเทคโนโลยี
5.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
5.3.3  ประเมินผลจากการทดสอบ และการสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.4  ประเมินจากการนำเสนอบทความและวัดผลจากคำศัพท์
6.1.1 พัฒนาทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา วิธีการปฏิบัติงาน
6.1.2  พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มและการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
6.2.1  ผู้สอนแนะนำวิธีการนำหลักการจัดการการผลิตและปฏิบัตการมาวิเคราะห์ในธุรกิจตัวอย่าง
6.2.2  ควบคุมการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาให้มีความถูกต้องตามวิธีการที่กำหนด
6.3.1  บันทึกผลเวลาการปฏิบัติ การใช้เครื่องมือ และประเมินจากรายงาน
6.3.2  ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
1 ENGIE317 การจัดการการผลิตและปฎิบัติการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1,3.2, 3.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.3, 5.4, 6.1, 6.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 30% 30%
2 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1,3.2, 3.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.3, 5.4, 6.1, 6.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 3.1,3.2, 3.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.3, 5.4, 6.1, 6.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
กิตติชัย อธิกุลรัตน์,ศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล,รชฏ ขำบุญ,โสมสกาว สนิทวงศ์ ณ อยุธยา,  ดร. อาทร จิตสุนทรชัยกุล, ดร. จินตนัย ไพรสณฑ์, ผศ. ผ่องใส เพ็ชรรักษ์จินตนัย ไพรสณฑ์ และคณะ. การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ.
ผศ. สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การบริหารการผลิตและการดำเนินงาน.
ผศ. สุธี ขวัญเงิน. การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ.
ผศ.ดร. ประจวบ กล่อมจิตร. โลจิสติกส์-โซ่อุปทาน การออกแบบและจัดการเบื้องต้น.
N/A
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่าน google form ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ