หลักฟิสิกส์

Principle of Physics

1. เพื่อให้นักศึกษาความเข้าใจในหลักการพื้นฐานทางกลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ และแม่เหล็ก-ไฟฟ้า 2. เพื่อเข้าใจหลักการพื้นฐานทางคลื่น แสง เสียง 3. เพื่อฝึกและพัฒนาทักษะปฎิบัติการที่เป็นระบบ 4. เพื่อฝึกและพัฒนาทักษะวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เป็นระบบ 5. เพื่อสร้างเสริมจิตพิสัยในการปฎิบัติงานอย่างมีระบบตามหลักวิทยาศาสตร์
1. เพื่อปรับกระบวนการเรียนการสอนรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฏิบัติอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 2. เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้ ความเข้าใจ ในรายวิชาหลักฟิสิกส์ไปเป็นพื้นฐานการเรียนในรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและปฎิบัติการทดลอง เกี่ยวกับ จลศาสตร์ พลศาสตร์ งานและพลังงาน คลื่น แสง เสียง ความร้อน กลศาสตร์ของไหล แม่เหล็กไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน
 วันพุธ เวลา 15.00 - 16.00 น. ห้อง 212 (แผนกฟิสิกส์) 
E-mail; s.inthong@rmutl.ac.th เวลา 09.00 - 17.00 น.
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction) 1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง เปิดโอกาสให้นักศึกษาตั้งคำถามหรือตอบคำถาม 2. อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน หาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นให้นักศึกษามีความรับผิดชอบในการทำงานเดี่ยวและทำงานกลุ่มเพื่อฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิก 3. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย เน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา แต่งกายให้เรียบร้อยตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีความซื่อสัตย์โดยไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านผู้อื่น สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในระหว่างการสอนในรายวิชา 
- การนำเสนองาน - แบบทดสอบวัดด้านการปฏิบัติ 1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 2. ประเมินผลจากการทำงานเดี่ยวและกลุ่ม ความสัมพันธ์ในกลุ่ม 3. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย คลอบคลุม เนื้อหา ทางทฤษฎีทั้งหมดในรายวิชา การทำงานเดี่ยวและงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพ
1. ประเมินผลจากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2. ประเมินจากการทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียนและการบ้าน 3. ประเมินจากการทำรายงานตามหัวข้อที่นักศึกษาได้ 4. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. การสอนภาคบรรยายและการทดลองปฏิบัติการมีการใช้ตัวอย่างที่เหมะสม 2. พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ 3. อภิปรายกลุ่ม การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ 4. เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม เพื่อแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษากับนักศึกษาในชั้นเรียน
1. สอบกลางภาคและปลายภาค 2. วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน 3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ 2. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล 3. การนำเสนอรายงาน
1. ประเมินการเข้าชั้นเรียน และการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน 2. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 3. ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning - นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 BSCCC102 หลักฟิสิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - ความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบย่อย สอบปฏิบัติการทดลอง ตามความเหมาะสม 60%
2 - ทักษะทางปัญญา - ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - ประเมินผลงานการทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้นเรียน - การส่งงานตามที่มอบหมายรายบุคคล - การส่งรายงานผลการปฏิบัติการทดลองตามที่มอบหมายรายบุคคล - ประเมินผลงานการทำงานกลุ่มจากรายงานการประยุกต์รายวิชาหลักฟิสิกส์ กับวิชาชีพ พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 - คุณธรรม จริยธรรม - การเข้าชั้นเรียน(บันทึกเวลาการมาเรียน) - สังเกตพฤติกรรมจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักฟิสิกส์ (เอกสารอัดสำเนา).
2.1 ฟิสิกส์ 1. คณาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541. 2.2 กลศาสตร์เวกเตอร์ พลศาสตร์ภาคแรก . ผศ.จรัส บุณยธรรมา , สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. กรุงเทพฯ : สุริยาสาส์น,2543 2.3 กลศาสตร์วิศวกรรม. อุดมวิทย์ กาญจนวรงค์ . กรุงเทพฯ : สกายบุ๊กส์,2542 2.4 โจทย์ประกอบการเรียนฟิสิกส์ . ผศ.จรัส บุณยธรรมา , สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. กรุงเทพฯ : สุริยาสาส์น,2543 2.5 รศ.ก่องกัญจน์ ภัทรากาญจน์ , ฟิสิกส์มหาวิทยาลัย
 
ฟิสิกส์ราชมงคล : http://www.electron.rmutphysics.com/physics/charud/scibook/electronic-physics1/content.html
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
ให้นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การประยุกต์ใช้สิ่งที่นักศึกษาได้เรียนในรูปแบบการนำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ในชั้นเรียน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การขอรับคำปรึกษาและสังเกตการณ์ของผู้สอน
หลังจากทราบผลการประเมินการสอน จึงมีการปรับปรุงการเรียนการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 รวบรวมปัญหาการเรียนของนักศึกษาและแนวทางแก้ไข โดยทำการสำรวจเบื้องต้นจากผลการประเมินการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การทำวิจัยในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ 3.2 การจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง 4.2 ให้นักศึกษามีโอกาสตรวจสอบคะแนนก่อนส่งเกรด 4.3 การพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาเดียวกันของแต่ละกลุ่มกับผลการประเมินพฤติกรรม
 
ผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 นำผลที่ได้จากการประเมินของนักศึกษา คะแนนสอบ นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองพัฒนาความคิดที่หลากหลาย