เทคนิคการจัดการสมัยใหม่

Modern Management Techniques

1. รู้แนวคิดและวิวัฒนาการของการจัดการ
2. อธิบายเกี่ยวกับการจัดการเชิงกระบวนการ การจัดการเชิงปริมาณ การจัดการเชิงพฤติกรรม และการจัดการเชิงระบบ
3. เข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดการสมัยใหม่
4. รู้หลักจริยธรรมในการบริหารตามหลักบรรษัทภิบาล
5. เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือทางการบริหารจัดการสมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสม
6. ประยุกต์ความรู้ทางการจัดการสมัยใหม่ไปใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน....
 
1. เพื่อความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อประกอบการเรียน
2. เพื่อความรู้ความเข้าใจการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาโดยการใช้เครื่องมือทางการจัดการสมัยใหม่ได้
3. เพื่อสามารถนำความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงและเป็นประโยชน์ต่อองค์การ
ศึกษาถึงวิวัฒนาการของทฤษฎีการจัดการ การจัดการเชิงกระบวนการ การจัดการเชิงปริมาณ การจัดการเชิงพฤติกรรม การจัดการเชิงระบบ ศึกษาแนวทางของการจัดการสมัยใหม่ บทบาทของผู้บริหารและผู้นาในโลกยุคโลกาภิวัตน์ จริยธรรมในการบริหารตามหลักบรรษัทภิบาล เทคนิคในการจูงใจ การทางานร่วมกันเป็นทีม การบริหารความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งแนวทางการจัดการธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนเทคนิคและเครื่องมือทางการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่นิยมใช้ การบริหารองค์การในยุคปัจจุบัน และกรณีศึกษาการนำเครื่องมือการจัดการสมัยใหม่ไปใช้ในองค์กรต่าง ๆ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา  ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย   อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม  ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ . จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน  การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน  ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง  จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม  มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค   
สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา   มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค   ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผล การดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน สัปดาห์ที่ 9 , 18 และ ตลอดภาคการศึกษา - การสอบกลางภาค 25% - การสอบปลายภาค 25% - งานที่มอบหมาย / รายงาน (กลุ่ม) 20% - แบบฝึกหัด / กรณีศึกษา (เดี่ยว, กลุ่ม) 10% - การนำเสนอผลง
เนตร์พัณณา ยาวิราช.การจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด.
ภานุ ลิมมานนท์.(2547). กลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พี ดับบลิวพริ้นติ้ง.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2550). TQM คู่มือพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ.กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์
วัลลี พุทโสม. (2550).ทฤษฎีองค์การสำหรับองค์การสมัยใหม่ .สำนักพิมพ์ วิทยาลัยมิชชัน สระบุรี
ศลิษา ภมรสถิต. (2551). การจัดการดำเนินงาน Operations Management (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท้อป.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ(2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
-
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้เรียนและผู้สอน การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย)
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ
2.2 การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงาน หรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
3.2 การปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน 
3.3 ทำวิจัยในชั้นเรียน
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาดังนี้
4.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
4.2 การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
 
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
5.2 นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน
5.3 นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร