ภาษาจีนพื้นฐาน 1

Fundamental Chinese 1

ผู้เรียนสามารถฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาจีนเบื้องต้นเกี่ยวกับตนเอง และศัพท์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันแบบง่าย เช่น การทักทาย การแนะนำตนเองและผู้อื่น ตัวเลข อาชีพ เวลา ความต้องการ และสภาพอากาศ เป็นต้น ตลอดจนเข้าใจผู้ส่งสารจนสามารถถ่ายทอดข้อมูลของตนเองได้
 
 
เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีพื้นฐานความรู้และสื่อสารภาษาจีนได้ โดยสามารถสนทนาในประโยคสั้นๆ สามารถออกเสียงอย่างถูกต้อง สามารถเรียบเรียงประโยคตามหลักไวยากรณ์ได้และเรียนรู้วัฒนธรรม คติธรรม ค่านิยม ธรรมเนียมตลอดจนเจตคติของชาติพันธุ์เจ้าของภาษา เพื่อสามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง
ศึกษาและฝึกทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาจีนเบื้องต้นเกี่ยวกับตนเอง และศัพท์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันแบบง่าย เช่น การทักทาย การแนะนำตนเองและผู้อื่น ตัวเลข อาชีพ เวลา ความต้องการ และสภาพอากาศ เป็นต้น ตลอดจนเข้าใจผู้ส่งสารจนสามารถถ่ายทอดข้อมูลของตนเองได้
ห้องศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน อาคารเรียนรวม เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ห้อง 14-201 โทร 0-5434-2547 ต่อ 150 e-mail: teenavaniti@rmutl.ac.th เวลา 09.00 - 15.00 น. ทุกวัน  
1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริตและสามารถจัดการปัญหาด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.2 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน 1.3 มีความรับผิดชอบในหน้าที่
1.4 มีวินัยมีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ
เน้นย้ำการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้องเรียน และความร่วมมือต่าง ๆ -อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน -สอดแทรกกรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
พิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา -พิจารณาจากการร่วมอภิปรายที่มีเหตุผล และยกตัวอย่างที่น่าสนใจ และสร้างสรรค์ -ประเมินผลการจากกรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 มีความรู้ที่เกิดจากการ บูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ 2.3 มีความรู้ในกระบวนการและเทคนิคการวิจัย
-บรรยายประกอบการยกตัวอย่าง -การทำกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ -การทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการค้นคว้า  
- ทดสอบกลางภาคและปลายภาค - ประเมินผลจากการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
3.1.2 มีความสามารถประมวลและศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา รวมทั้งหาแนวทางป้องกันแก้ไขทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก 3.1.2 สามารถสาธิต ทักษะในการแก้ปัญหาที่ใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ให้ผู้อื่นเข้าใจ 3.1.3 มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติจริงตามสถานการณ์
3.1.4 สามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ
-ร่วมกิจกรรม สถานการณ์จำลอง บทบาทสมมุติแล้วอภิปรายกลุ่ม พร้อมกับรายงานทั้งด้านวาจาและการเขียน - ฝึกการเขียนรายงานอย่างเป็นขั้นตอนและหาแนวทางแก้ไขได้ (Solving Problem)
- ปฏิภาณไหวพริบในการตอบข้อซักถามอาจารย์เมื่อมีสถานการณ์จำลองซึ่งเป็นข้อชี้วัดหนึ่งในการให้คะแนนปฏิบัติได้ - พิจารณาจากการทำงานรวมกลุ่ม การประสานงานและรักษาอำนาจหน้าที่ในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี
4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย 4.2 สามารถพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัย
- จัดกิจกรรมกลุ่มหรือสถานการณ์จำลอง แล้ววิเคราะห์หาสาเหตุ
- นักศึกษาประเมินผลตนเองและเพื่อนด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด เกี่ยวกับการช่วยเหลือและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในงาน - ประเมินผลจากการทำงานเสร็จตรงเวลามีความรับผิดชอบทั้งต่ออาจารย์ และเพื่อนในกลุ่มได้
- สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้ - สามารถเข้าในสารที่ผู้สือสารส่งมาได้ - สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น วิดีทัศน์ ในการรับสารและส่งสาร
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทางเว็บไซต์ แล้ววิเคราะห์พร้อมกับนำเสนอ ทั้งแบบบรรยาย และตารางตัวเลข พร้อมกับบอกแหล่งอ้างอิง - นำเสนอผลการศึกษาข้อมูล พร้อมการวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- ชิ้นงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมและจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีความซื่อสัตย์สุจริตและสามารถจัดการปัญหาด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ มีวินัยมีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา มีความรู้ที่เกิดจากการ บูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ มีความรู้ในกระบวนการและเทคนิคการวิจัย มีความสามารถประมวลและศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา รวมทั้งหาแนวทางป้องกันแก้ไขทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก สามารถสาธิต ทักษะในการแก้ปัญหาที่ใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ให้ผู้อื่นเข้าใจ มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติจริงตามสถานการณ์ สามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย สามารถพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัย
1 BOATH149 ภาษาจีนพื้นฐาน 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3 การสอบกลางภาค 9 25%
2 2,3 การสอบปลายภาค 18 25%
3 1,2,3,4,5 การนำเสนองาน/การรายงาน 1-17 40%
4 1.1,1.2,1.3,1.4 การเข้าชั้นเรียน 1-17 10%
Wang Fang. Wang Feng. Liu Liping (2013). HSK Biaozhun Jiaocheng 1. Hoboken, Beiing: Beijing Language & Culture University Press.
- 商务印书馆辞书研究中心修订(2001)《新华词典》 (2001年修订版) , 北京:商务印书馆. - 中国社会科学院语言研究所词典编辑室(2002)《现代汉语词典》 (汉英双语) , 北京:外语教学与研究出版社.
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนใน ข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรีย
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการแกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิภาพผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ