การติดตั้งไฟฟ้า

Electrical Installation

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของการติดตั้งไฟฟ้า ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า การใช้เครื่องมืองานติดตั้งระบบไฟฟ้า เครื่องมือวัดไฟฟ้า การต่อสายไฟฟ้า การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้าภายในอาคารและนอกอาคาร ระบบไฟฉุกเฉิน ระบบเตือนภัย และระบบป้องกันฟ้าผ่า เป็นต้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ  ทางการติดตั้งไฟฟ้า เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการนำไปพัฒนา และประยุกต์ใช้งานในการประกอบอาชีพในอนาคต ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย เมื่อนักศึกษาเรียนก่อนจบภาคเรียนเข้าร่วมฝึกอบรมและทดสอบช่างไฟฟ้าในอาคารระดับ 1
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับ  ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า  มาตรฐานการติดตั้ง ระบบไฟฟ้า  การใช้เครื่องมืองานติดตั้งระบบไฟฟ้า  เครื่องมือวัดไฟฟ้า  การต่อ สายไฟฟ้า การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้าภายในอาคารและนอก อาคาร  ระบบไฟฉุกเฉิน ระบบเตือนภัย และระบบป้องกันฟ้าผ่า  
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาโดยตรงกับผู้เรียน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความรับผิดชอบ ต่อจรรยาบรรณทา
วิชาการ และวิชาชีพ ตลอดจนมีวินัย ความขยันอดทน การตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1.1.1  นักศึกษาต้องมีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2  ปลูกฝังให้นักศึกษาให้ยึดถือ และนำจรรยาบรรณทางวิชาการ และจรรยาบรรณทางวิชาชีพที่ได้นำไปใช้งาน
1.1.3  ปลูกนักศึกษาให้เป็นผู้มีวินัย ขยันอดทน การตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4  ปลูกฝังให้นักศึกษาเคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้นักศึกษาต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกาย การสอนเน้นการสอดแทรกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นด้านคุณธรรม จริยธรรม การมีทัศนคติที่ดีในการช่วยเหลือผู้อื่น ทัศนคติด้านการรักษาสภาพแวดล้อมและการลดการใช้พลังงาน
1.3.1  ประเมินพฤติกรรมการเข้าเรียน พฤติกรรมในห้องเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้ และตรงเวลา
1.3.2  ประเมินการมีวินัย และพร้อมเพรียงของนักศึกษาในกิจกรรมที่มีการมอบหมายต่างๆ
1.3.3  ประเมินการมีคุณธรรมจริยธรรมจากการทดสอบในแต่ละครั้งๆ
1.3.4  ประเมินความรับผิดชอบในงานที่รับมอบหมาย ความเรียบร้อยของงาน การช่วยเหลืองานในกลุ่ม
2.1.1  มีความรู้ และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎี และหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ และเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย  อภิปราย การทำงานเดี่ยว  การนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุป และนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นการใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (WIL)
2.3.1  ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์
2.3.3  นักศึกษาที่เรียนรายวิชาติดตั้งไฟฟ้าต้องผ่านการทดสอบฝีมือแรงงาน สาขาช่างไฟฟ้าในอาคารระดับ 1
พัฒนาทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ  รวมถึงการพัฒนาทักษะในการนำความรู้มาคิด และใช้อย่างเป็นระบบ
3.1.1  พัฒนาทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
3.1.2  พัฒนาทักษะในการนำความรู้มาคิด และใช้อย่างเป็นระบบ
บรรยาย  อภิปราย การทำงานเดี่ยว  การนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุป และนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นการใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (WIL)
3.3.1  การตั้งโจทย์สมมติสถานการณ์ เพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น แนวทางการแก้ไขปัญหา
3.3.2  วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.3  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1  พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2  พัฒนาความเป็นผู้นำ และผู้ตามในการทำงานเป็นกลุ่ม
4.1.3  พัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีม เพื่อการแก้ไขปัญหา
4.1.3  พัฒนาการนำความรู้ที่มี เพื่อการช่วยเหลือสังคม
4.2.1  จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้เรียนในวิชาเรียน และการนำเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
4.2.2  มอบหมายงานรายกลุ่มและ/หรือรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี
4.2.3  การนำเสนอรายงาน และการซักถาม-ตอบคำถาม
4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการระหว่างการเข้าร่วม และความสนใจ
4.3.3  ประเมินจากการแสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
5.1.1  ทักษะการเลือกใช้วิธีการ และเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2   ทักษะในการสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหา
5.1.3  ทักษะการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ดำเนินการสอนโดยมอบหมายงานหรือหัวข้อที่ต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรืองานวิจัยที่น่าสนใจ ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยให้นำเสนอผ่านการทำเล่มรายงานพร้อมการนำเสนอความคิดสนับสนุน จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการสอบข้อเขียนทางด้านการพัฒนาทางความคิด จากตัวอย่างสมมุติ
การเรียนการสอนเน้นความสำคัญไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม
6.1.1  พัฒนาทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2  สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้
จัดกิจกรรมเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.3.1  ประเมินพฤติกรรมจากการปฏิบัติงาน
6.3.2  ประเมินผลจากการทำงานในภาคปฏิบัติ
6.3.3  ประเมินจากโครงงานนักศึกษา
6.3.4  ประเมินจากการนิเทศนักศึกษาขณะปฏิบัติการสอน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDEE102 การติดตั้งไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6,1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 30% 30%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6, 5.3-5.4 รายงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย เข้าร่วมฝึกอบรมและทดสอบช่างไฟฟ้าระดับ 1 ตลอดภาคการศึกษา 20% 10%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- นพ มหิษานนท์, มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าภายในและนอกอาคาร 
-มงคล ชมบุญ; การติดตั้งไฟฟ้า
-วสท, มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556
คู่มือ การสอบมาตรฐานช่างไฟฟ้าในอาคาร ระดับ 1
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
1. https://sites.google.com/view/bunyarit-rmutl-plc/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81
2. เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ