การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Computer Programming

1.1 อธิบายองค์ประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ทั้ง ซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์ได้
1.2 สามารถออกแบบและพัฒนาโปรแกรมได้
1.3 สามารถเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาซีแบบค่าคงที่และนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ได้
1.4 สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อทำงานแบบทำวนซ้ำคำสั่งได้
1.5 สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอาเรย์ และ/หรือพอยน์เตอร์ได้
1.6 สามารถนำไลบรารี่ฟังก์ชั่นที่มีอยู่แล้วไปประยุกต์งานได้
1.7 สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างฟังก์ชั่นขึ้นมาใช้งานเองได้
1.8 สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการแบบโครงสร้างและ/หรือไฟล์ได้
1.9 สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการแฟ้มข้อมูลได้
1.10 สามารถนำความรู้ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ 
ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานองค์ประกอบ ประโยชน์จากการใช้งานด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลกระทบ การใช้งานด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อสังคม และมีคุณธรรม จริยธรรมตามกรอบ มคอ. 2 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการนำความรู้ ความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้อง และนำไปประยุกต์ใช้งานต่างๆ ในด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันโดยใช้ CDIO FRAME  WORK
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับ แนวคิดและองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ การอันตรกิริยา(Interaction) ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ การประมวลผลข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางวิศวกรรม
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ มีจรรยาบรรณวิชาชีพเช่นมีความซื่อสัตย์ในการออกแบบและเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้อื่น และมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม ความเสียสละ และความซื่อสัตย์สุจริต(จุดโปร่ง)
1.1.2 วินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม(จุดดำ)
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม(จุดโปร่ง)
1.2.1 สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และความเสียสละ ก่อน หลังหรือระหว่างการบรรยายเนื้อหาทางวิชาการ
1.2.2 นำกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเวลาในการเข้าเรียน การแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนามาบังคับใช้ โดยให้นักศึกษาถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด(จุดดำ)
1.2.3 กำหนดกฎเกณฑ์การส่งงาน และการเข้าสอบในรายวิชานี้ให้นักศึกษาถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
1.2.4 นำตัวอย่างกรณีศึกษาในเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ความเสียสละและความซื่อสัตย์สุจริตมาให้นักศึกษาอภิปรายเป็นรายกลุ่ม พร้อมตอบข้อซักถามของอาจารย์ผู้สอน
1.3.1 ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการแต่งตัว ความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.2 ประเมินจาก ผลจากคุณภาพของงานทีได้รับมอบหมาย และมีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินจากปริมาณการกระทำทุจริตในด้านการส่งงาน การนำเสนอผลงานและการสอบของนักศึกษา
มีความรู้ในหลักการความสำคัญ องค์ประกอบของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาระหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โครงสร้างทางภาษาเพื่อเขี่ยนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประเภทข้อมูล ลักษณะคำสั่งควบคุมประเภทเงือนไข และการวนซ้ำองค์ประกอบระบบคำสั่งต่างๆ ขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ การพัฒนาออกแบบเพื่อเขี่ยนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านวิศวกรรม และธุรกิจผลกระทบในการใช้คำสั่งควบคุมประเภทต่างๆ ที่มีต่อบุคคลและสังคม การป้องกันอันตราย หรือภัยจกการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยตั่งอยู่บนพื้นฐานตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ของคณะวิศวกรรมดังนี้
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิศวกรรม คอมพิวเตอร์ (จุดโปร่ง)
2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รวมทั้ง ประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา (จุดดำ)
2.1.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
(จุดดำ)
บรรยาย อภิปรายเกี่ยวกับหลักทางทฤษฎี และประยุกต์ใช้ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยสอดคล้องกับเนื้อหาโครงสร้างภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าเพิ่มเติม ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรมที่เป็นระบบ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี
2.3.3 ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด หรือการตอบคำถามนั้นเรียน
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารย์จะเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
 
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอยากเป็นระบบ(จุดดำ)
3.1.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินอุตสาหกรรมโดยใช้สารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไข ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (จุดโปร่ง)
3.1.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ(จุดโปร่ง)
3.2.1 ให้นักศึกษาทำการวิเคราะห์และเขียนขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาจากใบงานและกรณีศึกษาทางการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์
3.2.2 การอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ศึกษาการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการออกแบบและเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการนำทฤษฎีที่เหมาะสมมาใช้
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.2 วัดผลจากการนำเสนอผลงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3.3 สัมภาษณ์ และสังเกตพฤติกรรม การแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ (จุดโปร่ง)
4.1.2 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม(จุดดำ)
4.2.1 กำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม
4.2.2 กำหนดกิจกรรมที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์
4.2.3 มีการมอบหมายงาน และให้ส่งตามกำหนดเวลา
4.3.1 ประเมินจากรายงานกลุ่มที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมาย
 
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาต้องมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ขั้นต่ำดังนี้
5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(จุดดำ)
5.1.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการ นำเสนอ อย่าง เหมาะสม(จุดโปร่ง)
5.1.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม(จุดโปร่ง)
5.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าการณีศึกษาด้วยตนเองจากเว็บไซต์
5.2.2 อภิปรายในห้องเรียนตามเวลาและจังหวะที่เหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละเรื่อง
5.2.3 ให้นักศึกษานำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.4 ติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาผ่านกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย
5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง
5.3.2 ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
5.3.3 ประเมินจากการสังเกตจำนวนความถี่ในการใช้กลุ่มที่ตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะในโซเชียล มีเดีย
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ(จุดดำ)
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็น อย่างดี(จุดโปร่ง)
6.2.1 อธิบายและสาธิตการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และ
วิธีการให้เข้าใจและปฏิบัติถูกต้องตามหลักการ
6.2.2 มอบหมายให้ลงมือปฏิบัติทดลองตามกำหนดเวลา
6.2.3 ให้มีการแบ่งกลุ่มในการปฏิบัติงาน มีการแบ่งความรับผิดชอบกัน
6.2.4 นำเสนอโดยใช้รูปแบบโจทย์ปัญหาของกรณีศึกษาและตัวอย่างวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ ในเรื่องเวลา วิธีการและผลงานที่ได้รับ การทำงานร่วมกัน
6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติการทดลอง รวมทั้งงานที่มอบหมาย
6.3.3 สังเกตพฤติกรรมการเขียนโปรแกรมและจดบันทึก
6.3.4 พิจารณาผลการปฏิบัติงานการเขียนโปรแกรมในชั้นเรียน
6.3.5 ให้คะแนนผลการปฏิบัติงานโปรแกรมต่างๆ โดยเปิดเผย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGCC304 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.2, 4.1.3 1) ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการแต่งตัว ความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย 2) ประเมินจาก การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3) ประเมินจาก ปริมาณการกระทำทุจริต ในด้านการส่งงาน การนำเสนอผลงานและการสอบของนักศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 2.1.2, 2.1.4 1) ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 2) สอบกลางภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี 3) ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 4) สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นข้อสอบที่มีมีความเข้าใจ วิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ทฤษฎี 4, 8, 12, 17 5%, 20%, 5%, 20%
3 3.1.1, 5.1.1, 6.1.1 1) วัดผลจากทักษะในการลงมือปฏิบัติตามใบงานตามที่ได้รับมอบหมายและคุณภาพของใบงานที่ทำเสร็จแล้ว 2) ประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ความเข้าใจ วิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแก้ปัญหาจาก Case Study ที่มอบหมาย (Flip Study) ตลอดภาคการศึกษา 15 20% 10%
- Lealy Anne Robertson, Simple Program Design (A Step-by-step Approach)
September 29.2006 | ISBN-10: 1423901320 | ISBN-13 978-1423091327

Robert C. Hutchion , Steven B. Just Programming using the C Language

McGraw-Hill, 1988
-ดร. สุเทพ มาดารัศมี, ปรียากรทิพวัย, การเขียนโปรแกรมภาษา C, บริษัทสำนักพิมพ์ท๊อปจำกัด
- นิรุธ อำนวยศิลป์, คู่มือเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C, บริษัท โปรวิชั่น จำกัด
- ธันวา ศรีประโมง, การเขียนโปรแกรมภาษา C สำหรับวิศวกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
- ธนัญชัย ตรีภาค, กรณีศึกษาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C, บริษัทซีเอ็ดยูชั่น จำกัด มหาชน
- ผศ. สานนท์ เจริญฉาย, การเขียนโปรแกรมและอัลกอริทึมกรณีตัวอย่างภาษา C, เชนพริ้นติ้
- http://www.ce.kmitl.ac.th/subject.php?action=view&SUBJECT_ID=129
- http://www.jk.rmutl.ac.th/
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
 
 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ