เตรียมสหกิจศึกษาหรือการฝึกงาน

Pre Co-operative Education / Pre Job internship

เตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนที่จะเข้าสู่ระบบการทำงานในด้านการพัฒนาอาชีพ  การเสริมทักษะและประสบการณ์ เพิ่มเติมประสบการณ์ทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษา เปิดโอกาสให้สถานประกอบการทั้งภาคเอกชนและภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
ศึกษาและฝึกทักษะการปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา หรือการฝึกงานทางวิชาชีพ โดยมุ่งเน้นฝึกทักษะ เน้นในด้านความรู้เกี่ยวกับงานสหกิจศึกษาหรือฝึกงานทางวิชาชีพ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะในการทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน ด้านบุคลิกภาพและมารยาท ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ 
 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์  (เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่  1.1.1 ความมีจิตสำนักสาธารณะและความตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม  1.1.2 ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย   1.2.1   ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง   1.2.2   สร้างจิตสำนึกของนักศึกษาให้มีจิตสาธารณะ และมีคุณธรรมจริยธรรม ผ่านการปฏิบัติในรูปแบบที่เหมาะสมตามควรแก่โอกาส และยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เหมาะสม  1.2.3   กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การแต่งกายให้ถูกระเบียบ ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน  1.2.4   ฝึกให้นักศึกษารู้จักรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
1.3.1  การทดสอบความเข้าใจในหลักจรรยาบรรณ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง  1.3.2   การเข้าเรียนตรงเวลา และการรักษาระเบียบวินัย  1.3.3   การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจ ทั้งความรู้ด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ โดยเน้น  2.1.1   ความรู้และความเข้าใจที่จำเป็นสำหรับการทำงาน เช่น แนวคิด ปรัชญา แนวปฏิบัติ การพัฒนาบุคลิกภาพ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ความปลอดภัยในงาน และประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับจากการปฏิบัติสหกิจศึกษาหรือการฝึกงาน  2.1.2   ความสามารถในการนำความรู้ทางภาษาไปบูรณาการกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย  2.2.1   ให้ความรู้พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เหมาะสม  2.2.2   ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ  2.2.3   จัดกลุ่มอภิปรายหรือจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้เรียน  2.2.4   ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติตามหัวข้อที่กำหนด
ผลงานจากการศึกษาค้นคว้าและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติ โดยมุ่งเน้น  3.1.1   การประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการที่ได้รับจากการศึกษาไปใช้ในงานสหกิจศึกษาหรือฝึกวิชาชีพ  3.1.2   การนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย  3.2.1   ให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาเพื่อมานำเสนอและถ่ายทอดความรู้ในชั้นเรียน  3.2.2   จัดกลุ่มอภิปรายหรือจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้เรียน
ผลงานจากการศึกษาค้นคว้า การฝึกปฏิบัติและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มี  4.1.1   มนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียน  4.1.2   ภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม  4.1.3   ความสามารถในการทำงานเป็นทีมและการแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม  4.1.4   ความสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์ที่ศึกษามาช่วยเหลือสังคมได้อย่างเหมาะสม
ยึดหลักการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-based) ได้แก่  4.2.1   จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมกลุ่ม เช่น การแสดงบทบาทสมมติ (role-play) การวิเคราะห์สถานการณ์ (situation analysis) การจัดการข้อขัดแย้ง เป็นต้น  4.2.2   จัดให้นักศึกษาได้สลับสับเปลี่ยนกันรับบทบาทเป็นทั้งผู้นำและผู้ตามในกิจกรรมกลุ่ม  4.2.3   จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในวิชาชีพ
4.3.1  ประเมินจากผลการทำกิจกรรมของนักศึกษา  4.3.2   การสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา  4.3.3   ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นต่อการทำกิจกรรมของตน
 
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการนำเสนอความรู้ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้และนำเสนอข้อมูล
กำหนดให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆและฝึกปฏิบัติในสาขาวิฃา
 
ผลงานจากการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบปลายภาค การสอบกลางภาค paper-based/presentation 9 20%
2 หน่วยที่ 7-12 การสอบปลายภาค - paper-based/presentation 17 20%
3 หน่วยที่ 1-12 กิจกรรม / งานมอบหมาย / การปฏิบัติงานกลุ่ม / การpresent ตลอดภาคการศึกษา 50%
4 คุณธรรมจริยธรรม จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
ไม่มี
เอกสารประกอบการสอนวิชาเตรียมสหกิจศึกษาและการฝึกงาน
1.   วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ. 2552. ประมวลสาระชุดฝึกอบรมสหกิจศึกษา. กรุงเทพฯ: สมาคมสหกิจศึกษาไทย.  2.   สมาคมสหกิจศึกษาไทย. 2552. มาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษา. กรุงเทพฯ: สมาคมสหกิจศึกษาไทย.  3.   เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้            1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน            1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา            1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
 
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้            2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย            2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา            2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้            3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน            3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้            4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย          4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้            5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4            5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์