ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต

Sufficiency Economy and Wisdom of Living

1. เพื่อเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.เพื่อเข้าใจหลักการทรงงานและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จปรมินทรมหา
ภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)
3. เพื่อตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และร่วมส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต
4. เพื่อเข้าใจและมีจิตสาธารณะและรักษ์สิ่งแวดล้อม ในการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นสุขบน
พื้นฐานของศาสตร์พระราชา
1. เพื่อปรับปรุงคุณภาพในการจัดการกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยฝึกให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์
สังเคราะห์โดยผ่านกิจกรรมหรือกรณีศึกษาทีมีความทันสมัยต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
2.เพื่อให้นักศึกษารู้จักการใช้ชีวิตด้วยความพอเพียงในสังคมเมืองและรู้จักปรับตัวในยุคโลกาภิวัฒน์แห่งการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งการนำแนวคิดและวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลต้นแบบไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
อีกทั้งตระหนักถึงความประหยัดและอดออม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต
ศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จปรมินทรมหา
ภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักธรรมาภิบาล ภูมิปัญญา การคิดและการ
บริหารจัดการชีวิตอย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและกระแสสังคมโลก การบูรณาการวัฒนธรรมที่หลากหลายสู่การดำเนินชีวิต การมีจิตสาธารณะและรักษ์สิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขบนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม และหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ(เฉพาะรายที่ต้องการ)
- ติดต่ออาจารย์ผู้สอนทางอีเมล หรือโทรศัพท์มือถือ
พัฒนาผู้เรียนเข้าใจถึงการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในระดับครอบครัว
ระดับชุมชน และระดับรัฐ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ใน
ชีวิตประจำวันของตน บนพื้นฐานของทางสายกลางโดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล
การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรมประกอบการวางแผน
การตัดสินใจ และการกระทำ อีกทั้งเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงสภาพปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน และ
ทราบถึงวิธีการปรับตัวเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
- บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน
- อภิปรายเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แล้ววิเคราะห์แผนฯ 12 ต่อทิศทางการพัฒนาประเทศพร้อมทั้งยกตัวอย่างและวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลโครงการตามแนวพระราชดำริ
- อภิปรายเกี่ยวกับบุคคลตัวอย่างในท้องถิ่นของนักศึกษาในการน้อมนำแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจมาประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งแสดงข้อคิดเห็นต่อแนวทางในการนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับนักศึกษา
- อภิปรายเกี่ยวกับกรณีศึกษา โดยการนำหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ ในโครงการ/แผนงานของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ
- การเข้าร่วมกิจกรรมทำนุงบำรุงศิลปวัฒนธรรม “สืบฮีต ต๋ามฮอยประเพณีและวันสำคัญของชาติไทย”
-การเข้าร่วมกิจกรรมรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ “บัณฑิตราชมงคล รักษ์สิ่งแวดล้อม”
- แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ และลงพื้นที่เพื่อศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาในท้องถิ่น รวมทั้งภูมิปัญญาชน ภายใต้โครงการ “บัณฑิตนักปฏิบัติ สืบสานตามรอยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่น” และกิจกรรมบัณฑิตจิตอาสาสร้างสุขสู่ชุมชน
- ใช้สื่อการสอน เช่น power-point, clip วีดีโอ , วีดีทัศน์ , สารคดี และอื่น ๆ
- การเข้าชั้นเรียน
- ส่งงานตามที่กำหนด
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
- ประเมินผลจากการวิเคราะห์กรณีศึกษาและการสืบค้นงานที่มอบหมายด้วยตนเอง
- ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายในชั้นเรียน โดยใช้สื่อที่เหมาะสม เช่นโปรแกรมPower point วีดีทัศน์ และอื่น ๆ
- ประเมินจากคะแนนสอบกลางภาคและปลายภาค
- มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
- สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต และ
หลักเศรษฐกิจพอเพียง
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในระดับต่างๆ
- ตระหนักและเห็นความสำคัญของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ใน
ชีวิตประจำวันและปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรยาย /อภิปราย การนำเสนอในชั้นเรียน โดยการปฏิบัติจริง ฝึกการคิดและวิเคราะห์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องติดตามข่าวสารเหตุการณ์ปัจจุบัน เศรษฐกิจพอเพียงตามหัวข้อที่เรียน การใช้ชีวิตในยุคโลกาภิวัติ โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน(Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning) ผ่านโครงการ/กิจกรรมทำนุงบำรุงศิลปวัฒนธรรม “สืบฮีต ต๋ามฮอยประเพณีและวันสำคัญของชาติไทย” กิจกรรมรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ “บัณฑิตราชมงคล รักษ์สิ่งแวดล้อม” กิจกรรมลงพื้นที่เพื่อศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาในท้องถิ่น รวมทั้งภูมิปัญญาชน ภายใต้โครงการ “บัณฑิตนักปฏิบัติ สืบสานตามรอยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่น” และกิจกรรมบัณฑิตจิตอาสาสร้างสุขสู่ชุมชน
-ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี และการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่น
-ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem– based Learning ที่ได้รับมอบหมาย
- มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
- มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การสอนวิชาวิชาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต ช่วยให้นักศึกษาสามารถดำรงชีวิตของตน บนพื้นฐานของทางสายกลางโดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ และคุณธรรม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อการคิดและตัดสินใจ ที่ดีและถูกต้อง สามารถอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคมได้ และเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การบรรยายประกอบสื่อการสอน และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
- ให้นักศึกษาวิเคราะห์และอภิปรายกรณีศึกษาที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียนในแต่บทในเชิงสร้างสรรค์
-การสะท้อนความคิด (Reflection) เกี่ยวกับองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในกระบวนวิชาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาท้องถิ่น
-การวิเคราะห์และสังเคราะห์กิจกรรมที่นักศึกษาได้ลงพื้นที่ฝึกประสบการณ์จริงเกี่ยวกับภูมิปัญญาชน/ภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษา ภายใต้โครงการ “บัณฑิตนักปฏิบัติ สืบสานตามรอยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่น” และแผนการดำเนินกิจกรรมบัณฑิตจิตอาสาสร้างสุขสู่ชุมชน โดยนำเสนอในรูปแบบรูปเล่ม และวิดีโอนำเสนอผลการทำงานและประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับจากการศึกษาจากประสบการณ์จริง
- การสรุปประเด็นที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมทำนุงบำรุงศิลปวัฒนธรรม “สืบฮีต ต๋ามฮอยประเพณีและวันสำคัญของชาติไทย”
-การสรุปประเด็นที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ “บัณฑิตราชมงคล รักษ์สิ่งแวดล้อม”
- การการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการอภิปรายและแสงความคิดเห็นในชั้นเรียน
- รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน
- สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
-สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- พัฒนาทักษะการพึ่งพาตนเอง การมีน้ำใจต่อผู้อื่นในสังคม และการเคารพสิทธิของผู้อื่น
- พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม
- พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพ ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
- การฝึกปฏิบัติจริงจากการลงพื้นที่ในการศึกษาภูมิปัญญาในท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชน และโครงการบัณฑิตจิตสาธารณะสู่ชุมชน
- กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
- ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุป เพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม
-การมีส่วนร่วมในการอภิปราย/แสดงความคิดเห็น และการสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง
- อาจารย์ประเมินตามรูปแบบการนำเสนองานของนักศึกษา
- สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
- พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูลจาก Website
- พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สื่อจาก
Internet
- ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น CD, VCD, วีดีทัศน์, เทปเสียง และสารคดี
- การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point และ/หรือ Clip
- การเรียนการสอนและการพบปะระหว่างผู้เรียนและผู้สอนผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่ RMUTL Education และ Microsoft Terms
-มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม “สืบฮีต ต๋ามฮอยประเพณีและวันสำคัญของชาติไทย” กิจกรรมรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ “บัณฑิตราชมงคล รักษ์สิ่งแวดล้อม” กิจกรรมลงพื้นที่เพื่อศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาในท้องถิ่น รวมทั้งภูมิปัญญาชน ภายใต้โครงการ “บัณฑิตนักปฏิบัติ สืบสานตามรอยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่น” และกิจกรรมบัณฑิตจิตอาสาสร้างสุขสู่ชุมชน
- ประเมินผลจากรูปแบบการนำเสนอและการรายงานผลการศึกษา การสืบค้นข้อมูล
- สังเกตการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในการอภิปรายจากกรณีศึกษาหนังสั้นและคลิปวิดีโอในระหว่างชั้นเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 , 3.1 2.1 , 3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 20% 20%
2 1.3, 2.3, 3.3, 4.3, 5.3 - การเข้าชั้นเรียน - การซักถาม - การตอบคำถาม - การตั้งใจเรียน - การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม - การแสดงความคิดเห็น/อภิปราย - ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.3, 3.3 3.3, 4.3 1.3,3.3, 4.3 การทำรายงาน - การเข้าร่วมกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม “สืบฮีต ต๋ามฮอยประเพณีและวันสำคัญของชาติไทย” -การเข้าร่วมกิจกรรมรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ “บัณฑิตราชมงคล รักษ์สิ่งแวดล้อม” - การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน “บัณฑิตนักปฏิบัติ สืบสานตามรอยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่น” -กิจกรรมบัณฑิตจิตอาสาสร้างสุขสู่ชุมชน ตลอดภาคการศึกษา 40%
- เอกสารประกอบการสอน รายวิชา “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต” คณาจารย์แผนกสังคมศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
-สรรเสริญ วงศ์ชอุ่ม.เศรษฐกิจพอเพียง: พื้นฐานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, กรุงเทพฯ: เพชรรุ่งการพิมพ์, 2544.154 หน้า.
-สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง.แนวทางปฏิบัติ 7 ขั้น สู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2550.320หน้า.
-อุดมพร อมรธรรม.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว,กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2549.136 หน้า.
-ภานุ พรปรีดา.ชีวิตพอเพียง เสบียงตลอดชีพ,กรุงเทพฯ:มายิก สำนักพิมพ์.222 หน้า.
-สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.เศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สงคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน.กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต, 2540.197 หน้า.
-จรัญ จันทลักขณา.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุขมวลชนและการเกษตรยั่งยืน.กรุงเทพฯ:เสริมมิตร, 2549.137หน้า
-สุนทร กุลวัฒนาวรพงศ์.ตามรอยพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง-ทฤษฎีใหม่.กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น,2544.192หน้า
-กระทรวงศึกษาธิการ.ทฤษฏีใหม่ในหลวงชีวิตที่พอเพียง.กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน2542.277หน้า.
-ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ .สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ.กรุงเทพฯ: วีพริ้น(1991),2552.176หน้า.- เว็บไซด์โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง http://www.sufficiencyeconomy.org
- เว็บไซด์สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ http://www.nesdb.go.th
-เว็บไซด์ SOCIAL SCIENCE โดย ผศ.สุภวรรณ พันธุ์จันทร์ http://www.socialcience.igetweb.com
การประเมินผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษา
-นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา วิธีการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อสนับสนุนการเรียนการสอน และการให้ข้อเสนอแนะของนักศึกษา โดยนักศึกษาประเมินผ่านทางระบบอินเตอร์เนตของมหาวิทยาลัย
-นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน
- นักศึกษาประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมต่างๆที่สอดแทรกในบทเรียน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
-สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียน การอภิปราย และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
-ประเมินจากผลการนำเสนอผลงานโครงการและกิจกรรมการลงพื้นที่ศึกษาประสบการณ์จริง
- ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
การปรับปรุงการสอนวิชานี้คือ
-ปรับเอกสาร-สื่อประกอบการสอน และกรณีศึกษาให้มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
-ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก ตำรา และแหล่งข้อมูลที่หลากหลายจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
-สนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
- จัดประชุมหารือคณาจารย์ผู้สอน เพื่อร่วมกันวางแผนและพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
- นำผลการประเมินที่ได้จากนักศึกษามาปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
- ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจการบันทึกรายรับรายจ่าย บันทึกพอเพียง และการจัดทำโครงการ/นิทรรศการ
ผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่าพัฒนาก้าวหน้าอย่างไร โดยแจ้งผลคะแนนเป็นระยะ
อย่างต่อเนื่อง
-วิชานี้ต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 2 ปี
-เชิญวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจพอเพียง มาถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับนักศึกษา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล