สัมมนาการบัญชีการเงิน

Seminar in Financial Accounting

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ มาตรฐานการบัญชี ตลอดจนแนวทางการนำมาตรฐานการบัญชีไปใช้ในการปฏิบัติงานด้านการบัญชีการเงินสำหรับองค์กรรูปแบบต่าง ๆ
1.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถค้นคว้า นำเสนอ ข้อมูลในรูปแบบการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา
1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการบัญชีการเงิน
1.4 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับ บทบาท คุณค่าแห่งวิชาชีพบัญชีต่อสังคม
1.5 เพี่อให้นักศึกษาตระหนักถึงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
2.1 เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการประยุกต์ แนวคิด หลักการ การค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการบัญชี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านการบัญชีการเงิน
2.2 เพื่อเสริมสร้างทักษะการนำเสนอในรูปแบบการเขียนและวาจา
2.3 เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและตระหนักถึงบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต่อสังคม
    อภิปรายและวิเคราะห์แนวทางการนำกรอบแนวคิดในการรายงานทางการเงินและมาตรฐานการบัญชีไปใช้ในการปฏิบัติงานด้านบัญชีการเงินสำหรับองค์กรประเภทต่าง ๆ ประเด็นทางด้านบัญชีการเงินที่น่าสนใจ รวมทั้งปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการบัญชีการเงิน และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้กรณีศึกษา บทความ เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อฝึกให้รู้จักทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา  
10  ชั่วโมง
ต่อสัปดาห์
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพ และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียนของสถาบันและสังคม สามารถบริหารเวลา และ ปรับวิถีชีวิต อย่างสร้างสรรค์ในสังคม มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
วิธีการสอน 


สอดแทรกเรื่อง บทบาทและผลกระทบของวิชาชีพการบัญชีต่อส่วนรวม จัดสัมมนา เกี่ยวกับ จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ชี้แจงระเบียบของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับนักศึกษา เช่น การแต่งกาย วินัยนักศึกษา การสอบ และกำหนดข้อตกลงในการเรียน ซึ่งประกอบด้วย การเข้าเรียน การตรงต่อเวลา การส่งงานและวินัยในชั้นเรียน
 
 
1.3.1   ทดสอบความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทของวิชาชีพการบัญชีต่อส่วนรวม จรรยาบรรณวิชาชีพ และ ความซื่อสัตย์
1.3.2   ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษา ตามข้อตกลงในการเรียนตลอดภาคการศึกษา  
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฏี หลักการและวิธีทางการบัญชี
2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.1.3  มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.1.4  สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัยและวิชาชีพทั้งทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.2.1  ใช้การสอนหลายรูปแบบ เช่น อภิปราย บรรยาย และการถาม-ตอบในชั้นเรียน โดยเน้นหลักทางทฤษฏีและการปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.2  มอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้น
 2.3.1   ประเมินจากแบบทดสอบด้านทฤษฏี
 2.3.2   ประเมินจากรายงานที่มอบหมาย
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1   สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.1.2   สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจ ในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.1.3    สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
3.2.1   กรณีศึกษา เกี่ยวกับ ปัญหาทางการบัญชีการเงิน เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา
3.2.2   มอบหมายให้นำเสนอ ประเด็นทางการบัญชีการเงินที่น่าสนใจในปัจจุบัน โดยให้นักศึกษา กำหนดหัวข้อด้วยตนเอง และค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.3.1   ประเมินจาก กรณีศึกษา และการทดสอบ
3.3.2   ประเมินจากการนำเสนอรายงานโดยผู้สอน และนักศึกษา โดยเน้นประเด็นด้านเนื้อหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2   มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และวัฒนธรรมขององค์การได้เป็นอย่างดี
4.1.3  มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.1.4  มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1   กำหนดให้ทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
4.2.2   เน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับในงานกลุ่ม
4.2.3   มอบหมายงาน จัดสัมมนา โดยให้นักศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ
4.3.1   ประเมินจาก การรายงานหน้าชั้น โดยผู้สอน และ นักศึกษา โดยเน้นประเด็น ความสามัคคีของกลุ่ม
4.3.2    สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
4.3.3    ประเมินจากผลงานของการจัดงานสัมมนา
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1   มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.1.2   สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหา และกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.1.3   สามารถเลือกใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมายและการสื่อสารสารสนเทศ
มอบหมายงานให้นำเสนอรายงาน โดย
5.2.1  ผู้สอนเป็นผู้กำหนดหัวข้อและ เนื้อหาที่ชัดเจน
5.2.2 ผู้สอนกำหนดประเด็น และให้นักศึกษากำหนดหัวข้อ และเนื้อหาเองเกี่ยวกับประเด็นทางการบัญชีการเงินที่น่าสนใจ
5.2.3  การนำเสนอ นักศึกษาสามารถกำหนดรูปแบบการนำเสนอ เลือกใช้สื่อเทคโนโลยีและสารสนเทศในการนำเสนอ ให้เหมาะสมกับหัวข้อที่นำเสนอ
ประเมินผลจากผลงานที่นำเสนอ โดยผู้สอนและนักศึกษา โดยเน้นประเด็นรูปแบบการ
นำเสนอ และ ความเข้าใจในเนื้อหา ตลอดจนความสามารถนำเนื้อหาที่นำเสนอไป
ประยุกต์ใช้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 2. มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม 3. สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม 4. มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1 11011499 สัมมนาการบัญชีการเงิน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-1.3, 2.1-2.3, 3.1-3.3 4.2, 4.3, 5.1 สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค 9 และ 17 30
2 ทุกหน่วยการเรียนรู้ สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา ตามข้อตกลงในการเรียน การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย และ การส่งงานตามกำหนด ทุกสัปดาห์ 10
3 ทุกหน่วยการเรียนรู้ ประเมินผลงาน กรณีศึกษา และการนำเสนอรายงาน สังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักศึกษา ประเมินผลงานการเข้าร่วมใันชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 60
1.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพบัญชี
           พรบ.การบัญชี พ.ศ. 2543 และประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
           พรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ 19) จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2553
1.2 มาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
ไม่มี
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับ กฎหมาย ประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางวิชาชีพ สามารถสืบค้นได้จาก เว็บไซต์ ดังต่อไปนี้
     สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์
     กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
     ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
     กรมสรรพากร
และสามารถสืบค้นได้จากวารสารวิชาชีพบัญชีของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3.2 ฐานข้อมูลอ้างอิง ThaiLis, ฐานข้อมูลอ้างอิง ProQuest Information and Learning
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ใช้แบบประเมินผลการสอนของอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัย
       นำผลคะแนนของนักศึกษา และ ผลการประเมินผลการสอนของอาจารย์จากนักศึกษา ประชุมร่วมกันระหว่างผู้สอน และหัวหน้าสาขา หัวหน้าสาขาวิชา เพื่อประเมินผลการสอนในภาพรวม
นำผลการประเมินการสอน และ ข้อแนะนำของนักศึกษาจากผลการประเมินตามแบบของมหาวิทยาลัย  และ ข้อแนะนำจากคณะกรรมการ มาพิจารณาปรับปรุงวิธีการสอน
นำผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา มาวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาจุดที่นักศึกษาขาดทักษะ มาปรับปรุงการสอน โดยเน้นในเรื่องดังกล่าว
       ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
       สอบทานความตรงประเด็นของข้อสอบ
       ซึ่งการทวนสอบดังกล่าวดำเนินการโดยคณะกรรมการกำกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของสาขาวิชา
นำผลการประเมิน ตามข้อ 1,3 และ 4 มาพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา เกี่ยวกับ
ผู้สอน การจัดตารางเรียน การสอนเสริม การทบทวนและปรับปรุงเนื้อหา และมาตรฐานของข้อสอบ