ฝึกงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

Computer Engineering Practice

จุดมุ่งหมายของวิชาประสบการณ์ภาคสนาม เป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งต่อไปนี้
- การเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฏีกับการประยุกต์ให้เกิดผลทางปฏิบัติ
- เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการนำความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำงาน
- การวางแผนพัฒนาความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์อย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ
- เข้าใจชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และสามารถทำงานร่วมกันได้
เพื่อให้เป็นวิชาที่นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง ทำงานเป็นทีม เป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา ภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการและอาจารย์ที่ปรึกษา
ปฏิบัติการฝึกงาน โดยนำความรู้จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์อย่างมีระบบ และนักศึกษาจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบที่แน่นอนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องสรุปโครงงานและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานประกอบการนั้นๆ อย่างเป็นรูปธรรมและมีการจัดทำรายงานปฏิบัติงาน มีการประเมินผลงานร่วมกันจากทางสถานประกอบการ และคณาจารย์ เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จริงก่อนสำเร็จการศึกษา
1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
          1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
          1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
          1.1.3 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
          1.1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
          1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร ตามข้อบังคับสภาวิศวกรดังนี้
                    1.1.5.1 ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
                    1.1.5.2 ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชากร
                     1.1.5.3 ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
                     1.1.5.4 ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน
                     1.1.5.5 ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ จากผู้รับเหมา หรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง
                    1.1.5.6 ไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความเป็นจริง
                     1.1.5.7 ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้
                     1.1.5.8 ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันควร
                     1.1.5.9 ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในงานที่ตนเองไม่ได้รับทำ ตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง
                     1.1.5.10 ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง
                     1.1.5.11 ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
                     1.1.5.12 ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรกและได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว
                     1.1.5.13 ไม่ใช้หรือคัดลอกแบบ รูป แผนผัง หรือเอกสาร ที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น
                     1.1.5.14 ไม่กระทำการใดๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแกชื่อเสียง หรืองานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น
1.2 วิธีการสอน
                     1.2.1 ติดตามผลและปรึกษาการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา กับวิศวกรพี่เลี้ยงในสถานประกอบการ
                     1.2.2 แนะนำให้คำปรึกษาหารือร่วมกับนักศึกษาฝึกงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่สาขาวิชา กำหนดไว้
1.3 วิธีการประเมินผล
                     1.3.1 ประเมินผลจากการออกนิเทศนักศึกษาในสถานประกอบการ
                     1.3.2 ประเมินผลจากการรายงานการฝึกงานของนักศึกษา
                     1.3.3 ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
สามารถนำความรู้ทางวิชาการที่ได้ศึกษาได้ฝึกทดลองปฏิบัติก่อนที่จะไปประกอบอาชีพจริงๆ และยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาพัฒนาบุคลิกภาพ ทัศนคติ ต่อสาขาวิชาชีพวิศวกรรม
2.2 วิธีการสอน
                     2.2.1 ติดตามผลและปรึกษาการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา กับวิศวกรพี่เลี้ยงในสถานประกอบการ
                     2.2.2 แนะนำให้คำปรึกษาหารือร่วมกับนักศึกษาฝึกงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่สาขาวิชาได้กำหนดไว้
2.2 วิธีการสอน
                     2.2.1 ติดตามผลและปรึกษาการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา กับวิศวกรพี่เลี้ยงในสถานประกอบการ
                     2.2.2 แนะนำให้คำปรึกษาหารือร่วมกับนักศึกษาฝึกงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่สาขาวิชาได้กำหนดไว้
2.3 วิธีการประเมินผล
                     2.3.1 ประเมินผลจากการออกนิเทศนักศึกษาในสถานประกอบการ
                     2.3.2 ประเมินผลจากการรายงานการฝึกงานของนักศึกษา
                     2.3.3 ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
                     พัฒนาความสามารถในการคิด และความเข้าใจ ให้เป็นไปตามระบบในทางทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพต่อไป
3.2 วิธีการสอน
                     3.2.1 ติดตามผลและปรึกษาการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา กับวิศวกรพี่เลี้ยงในสถานประกอบการ
3.2.2 แนะนำให้คำปรึกษาหารือร่วมกับนักศึกษาฝึกงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่สาขาวิชาได้กำหนดไว้
3.3 วิธีการประเมินผล
                     3.3.1 ประเมินผลจากการออกนิเทศนักศึกษาในสถานประกอบการ
                     3.3.2 ประเมินผลจากการรายงานการฝึกงานของนักศึกษา
                     3.3.3 ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
                   4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพอันดีต่อคณะผู้ร่วมงานในสถานประกอบการที่ไปนิเทศฝึกงาน
                     4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
                     4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 ติดตามผลและปรึกษาการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา กับวิศวกรพี่เลี้ยงในสถานประกอบการ
4.2.2 แนะนำให้คำปรึกษาหารือร่วมกับนักศึกษาฝึกงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่สาขาวิชาได้กำหนดไว้
4.3.1 ประเมินผลจากการออกนิเทศนักศึกษาในสถานประกอบการ
4.3.2 ประเมินผลจากการรายงานการฝึกงานของนักศึกษา
4.3.3 ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
5.1.1 ทักษะการค้นคว้า หาข้อมูล คิดคำนวณ เชิงตัวเลข
                     5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน
                     5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
                     5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
                     5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางอีเมล
                     5.1.6 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีทีเหมาะสม
5.2.1 ติดตามผลและปรึกษาการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา กับวิศวกรพี่เลี้ยงในสถานประกอบการ
5.2.2 แนะนำให้คำปรึกษาหารือร่วมกับนักศึกษาฝึกงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่สาขาวิชาได้กำหนดไว้
5.3.1 ประเมินผลจากการออกนิเทศนักศึกษาในสถานประกอบการ
5.3.2 ประเมินผลจากการรายงานการฝึกงานของนักศึกษา
5.3.3 ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
 1.1  นักศึกษา
          แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
 1.2  พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ
          แบบประเมินนักศึกษา ข้อเสนอแนะผ่านเอกสารการฝึกงาน
 1.3  อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม
          แบบประเมินนักศึกษา ข้อเสนอแนะผ่านเอกสารการฝึกงาน
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
          2.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะ
          2.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ