เครื่องมือวัดและการวัดทางไฟฟ้า

Electrical Instruments and Measurements

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยและมาตรฐานการวัดทางไฟฟ้า เพื่อให้นักศึกษาแยกข้อแตกต่างของประเภทและคุณลักษณะของเครื่องมือวัด เพื่อให้นักศึกษาพิจารณาเลือกวิธีการวัดกระแสและแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับโดยใช้เครื่องวัดแบบอนาล็อกและแบบดิจิตอล เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการวัดกำลัง ตัวประกอบกำลังและพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการวัดค่าความต้านทาน ค่าความเหนี่ยวนำและค่าความจุไฟฟ้า เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการวัดความถี่และคาบหรือช่วงเวลา สัญญาณรบกวน ทรานสดิวเซอร์ได้ เพื่อให้นักศึกษาพิจารณาและเลือกใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
เพื่อให้เนื้อหาหลักสูตรใหม่มีความสอดคล้องกับสาระสำคัญในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ.2553 หรือเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา มาตรฐานของสภาวิศวกร สมาคมระดับชาติ และนานาชาติ อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านในการนำความรู้ ความเข้าใจในการวัดและเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติการ ทั้งรวมถึงวิธีการเข้าถึงเนื้อหาเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาและวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (E-Learning) เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหน่วยและมาตรฐานการวัดทางไฟฟ้า ประเภทและคุณลักษณะของเครื่องมือวัด การวิเคราะห์การวัด การวัดกระแสและแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับโดยใช้เครื่องวัดแบบอนาล็อกและแบบดิจิตอล การวัดกำลัง ตัวประกอบกำลังและพลังงานไฟฟ้า การวัดค่าความต้านทาน ค่าความเหนี่ยวนำและค่าความจุไฟฟ้า การวัดความถี่และคาบหรือช่วงเวลา สัญญาณรบกวน การแปลงสัญญาณ และการสอบเทียบเครื่องมือวัด
ให้คำปรึกษาผ่าน Social Media ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ทำการนัดหมาย)
      1.1.1  ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ เข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรม
1.2.1 ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยโดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบ
1.2.2 ฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.2.3 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนรายวิชา
1.2.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น บำเพ็ญประโยชน์เกี่ยวกับรายวิชาที่ศึกษา
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริม
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางวิศวกรรมพื้นฐานเพื่อประยุกต์ใช้กับงานเกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3 วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.2.1 แบบบรรยาย/อภิปรายหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเน้นหลักการและประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง ตามสถานการณ์ปัจจุบันที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
2.2.3 เรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน
2.2.4 เชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
2.2.5 ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในห้องทดลองและภาคสนาม
2.3.1 การทดสอบย่อย กลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 ประเมินจากฝึกปฏิบัติงานในห้องทดลองและภาคสนาม
2.3.3 ประเมินจากการนาเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – Based Learning
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.2.1 กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
3.2.2 การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน ในรูปแบบ Problem – Based Learning
3.2.3 ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.1 ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียน
3.3.2 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
3.3.3 ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา
3.3.4 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2.1 จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้เรียนในวิชาเรียนและการนำเสนอข้อมูล
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและ/หรือรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี
4.2.3 การนำเสนอรายงาน และการซักถาม-ตอบคำถาม
4.3.1 ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2 ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของ
4.3.3 ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
4.3.4 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการระหว่างการเข้าร่วม และความสนใจ
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองและสถานการณ์เสมือนจริง
5.2.2 นำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิคจากการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ
5.2.3 ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอโดยให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.2 ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือการอภิปรายที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
5.3.3 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6,1.7, 2.1,2.4 – 2.6,3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 9 12 18 10% 25% 10% 25%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2, 4.1 – 4.6, 5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงานการทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความการส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปรายเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
Electronic Instrumentation and Measurement David A. Bell 1930 ISBN 0-13-249954-1 การวัดและเครื่องวัดไฟฟ้า. รศ.ดร.ไชสวัสดิ์ ISBN 974-8324-45-1 Instrumentation for Engineering Measurements. JAMES W.DALLY, WILLIAM F.RILEY KENNETH G. McCONNELL 1993 ISBN 0-471-55192-9 Theory and Design for Mechanical Measurements. RICHARD S. FIGLIOLA, DONALD E. BEASLEY. 1991 Modem Electronic Instrumentation and Measurement Techniques, ALBERT D. HELFRICK WILLIAM D. COOPER. 1990 ISBN 0-13-593385-4
TEKTRONIX MEASUREMENT AND AUTOMTION CATALOGUE.1999 TEKTRONIX MEASUREMENT PRODUCTS CATALOG 1997/1998 NATIONAL INSTRUMENTS INSTRUMENTATION REFERENCE AND CATALOGUE
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่ม การอภิปรายเนื้อหาเชิงทฤษฎีและปฏิบัติระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านสังคมออนไลน์ (Social Network) โดยอาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ ดังนี้

การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนบางหัวข้อบรรยาย เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือภาคอุตสาหกรรม