การจัดการทรัพยากรประมง

Management of Fisheries Resource

เข้าใจความหมายของอุตสาหกรรมประมงและทรัยพากรประมง เข้าใจการประมงของโลกและของประเทศไทย เข้าใจประเภทของทรัพยากรประมงและแนวคิดในการใช้ประโยชน์ เข้าใจหลักและทฤษฎีของการจัดการทรัพยากรประมง เข้าใจมาตรการในการจัดการประมงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล เข้าใจการจัดการประมงในน่านน้ำสากล เข้าใจกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการจัดการประมง เข้าใจข้อตกลงและสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการประมง เพื่อให้นักศึกษามีเจตคติและลักษณะนิสัยที่ดีในด้านการจัดการทรัพยากรประมง ด้วยความรับผิดชอบ ละเอียดรอบคอบ และมีคุณธรรมจริยธรรม
เป็นรายวิชาใหม่
   ศึกษาเกี่ยวกับประเภทของทรัพยากร ปัญหาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง ผลผลิตและส่วนที่เก็บเกี่ยวได้จากสต็อค นโยบายและมาตรการที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรประมง การพัฒนาแผนการจัดการทรัพยากรประมง
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยอาจารย์จะนัดหมายวันและเวลา แจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า
พัฒนาให้ผู้เรียนมีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพทางประมง ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  ไม่ใช้เทคโนโลยีที่ทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ โดยตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม
 ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง  เปิดโอกาสให้นักศึกษาสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ทั้งในรายวิชาและของมหาวิทยาลัย บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีทางการประมง โดยมีวัตถุประสงค์ไม่ทำลายล้างให้สูญหายไป และอนุรักษ์ให้คงอยู่
ประเมินผลจาการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน และตรวจสอบมีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
พัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ และทฤษฎีที่สำคัญในการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ  ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงมากเกินควร และสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านนโยบายและมาตรการที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรประมง การพัฒนาแผนการจัดการทรัพยากรประมง และความรู้ใหม่ๆ ทางด้านการจัดการทรัพยากรประมง
ใช้วิธีการสอนที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การบรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบ e-Learning และมีการเสริมความรู้ประสบการณ์ โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาบรรยาย
-   สอบกลางภาค สอบปลายภาค
-   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  การวิเคราะห์กรณีศึกษา
-   การจัดทำรายงานรายบุคคล/กลุ่ม
พัฒนาความสามารถการประยุกต์ความรู้จากทฤษฏี และหลักการของการจัดการทรัพยากรประมงมาประยุกต์ใช้ในงานด้านวิชาการ การกำหนดแผนและนโยบาย การวางมาตการ ข้อกำหนด กฎกติกา เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น บนพื้นฐานความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรประมงได้อย่างเหมาะสม
ยกตัวอย่างกรณีศึกษา และมอบหมายให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ถึงปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหา การอภิปรายกลุ่ม โดยใช้ทฤษฏีมาประกอบการให้เหตุผล และรวบรวมข้อมูลนำเสนอ
- ประเมินจากการตอบปัญหา และการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนทั้งรายบุคคล/กลุ่ม
           - รายงานรายบุคล/กลุ่มกรณีศึกษา และการนำเสนอผลงาน
           - การสอบกลางภาค และปลายภาค
พัฒนาความสามารถการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกใน การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ภายในกลุ่ม ในบทบาทความเป็นผู้นำ และผู้ตามในกรณีการทำงานเป็นทีม และมีการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม
- มอบหมายงานให้ค้นคว้าข้อมูลรายกลุ่ม/รายบุคคล
- จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา และนำเสนอรายงาน
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
- ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                        5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
                        5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ  5.1.1 และ 5.1.3  เป็นความรับผิดชอบรอง
5.2.1  กำหนดให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ค้นคว้า และใช้ในการนำเสนอผลงาน
                        5.2.2  ให้ค้นคว้าในการจัดทำรายงานผ่านฐานข้อมูลหรือวารสารที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                        5.2.3   มีการนำข้อมูลทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการเรียน
5.3.1  ประเมินจากรายงาน หรืองานที่มอบหมาย ว่ามีการใช้วารสาร หนังสือ หรือฐานข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษหรือไม่
                        5.3.2  ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
                        5.3.3  ประเมินจากข้อมูลที่นำเสนอเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์
6.1.1  มีทักษะการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้น สังเคราะห์ข้อมูล และนำเสนองานได้
6.2.1  ฝึกทักษะการสืบค้น สังเคราะห์ข้อมูล นำเสนอผลงาน
6.3.1  ทักษะการสืบค้น และการสังเคราะเพื่อการสื่อสารให้เป็นที่เข้าใจ         
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1,2 3,4 1,2 3 1,2 1,2 3 4 1,2,3 1 2
1 23014310 การจัดการทรัพยากรประมง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.4, 3.3 2.1,2.4, 3.3 วัดผลการเรียนรู้กลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน สัปดาห์ที่8 และ 17 70 %
2 1.1, 1.5, 4.1,4.3 - วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า จัดทำรายงาน และนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 2.4, 3.3, 4.1 - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
กังวาลย์   จันทรโชติ. 2541. การจัดการประมงโดยชุมชน. ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
กังวาลย์   จันทรโชติ. 2544. จรรยาบรรณในการทำการประมงอย่างรับผิดชอบ. องค์การอาหารและเกษตร
แห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, กรุงเทพฯ. 12 น.
กังวาลย์   จันทรโชติ. 2545. ขจัดประมงเถื่อน :ยุติการประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม.
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, กรุงเทพฯ. 20 น.
นภาพร    ศรีพุฒินิพนธ์ และคณะ. 2548. คู่มือการจัดการทรัพยากรประมงแบบมีส่วนร่วม. สำนักงาน
ภาคสนามแผนงานประมงในลุ่มน้ำโขง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดอุดรธานี. 37 น.
พวงทอง  อ่อนอุระ. 2547. การจัดการประมงนอกน่านน้ำไทยแนวใหม่ตามบทบัญญัติของร่าง
พระราชบัญญัติการประมงฉบับใหม่. กองประมงต่างประเทศ กรมประมง, กรุงเทพฯ. 65 น.
พวงทอง  อ่อนอุระ. 2547. การทำการประมงอย่างรับผิดชอบและแผนปฏิบัติการสากลในการขจัดประมง
เถื่อน. กองประมงต่างประเทศ กรมประมง, กรุงเทพฯ. 48 น.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). 2541. การพัฒนาที่ยั่งยืน. สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทองม, กรุงเทพฯ.
280 น.
วิฑูรย์       ปัญญากุล. 2547. ปลาหายไปไหน: สาเหตุและผลกระทบจากการทำประมงเกินขีดจำกัด.  มูลนิธิ
สายใยแผ่นดิน, กรุงเทพฯ. 247 น.
วีระวัฒน์  หงสกุล. 2521. การประมงของไทย. กองประมงทะเล กรมประมง, กรุงเทพฯ. 151 น.
เรืองไร    โตกฤษณะ. 2548. ทรัพยากรประมงทะเลไทย—กับนโยบายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 47 น.
ลัดดา       วงศ์รัตน์. 2550. ป่าสักชลสิทธิ์กับการจัดการทรัพยากรประมง. ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะ
ประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 163 น.
ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคณะ. 2530. อนาคตประมงไทย. รายงานผลการ
สัมมนาร่วมภาครัฐบาลและภาคเอกชน 4-6 มิถุนายน 2530 คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 583 น.
สื่อประกอบการสอน DVD ชุด SEA SERIES ทะเลสีคราม
3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
จิราภรณ์  ไตรศักดิ์. 2550. การจัดการประมง” คำตอบที่ไม่รอคำถาม. ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, กรุงเทพฯ. เรียกดูได้จาก http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=193:2011-03-24-06-54-47&catid=35:research-forum&Itemid=146
นภาพร   ศรีพุฒินิพนธ์ และคณะ. 2548. คู่มือการจัดการทรัพยากรประมงแบบมีส่วนร่วม. สำนักงาน
ภาคสนามแผนงานประมงในลุ่มน้ำโขง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดอุดรธานี. 37 น. เรียกดูได้จาก http://www.thaimrcfisheries.org/WEBSITE/June_FMG_report/Fisheries%20Co-management.pdf
นุศจี         ทวีวงศ์ และเรวดี  ประเสริฐเจริญสุจ. ทรัพยากรและชุมชน: บทบาทหญิงชายในชุมชนประมง.
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน, กรุงเทพฯ. 62 น. เรียกดูได้จาก
http://www.sdfthai.org/newsletter/edit%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%
E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%81[1]...pdf
ไพโรจน์ ทรัพย์ประเสริฐ. จรรยาบรรณว่าด้วยการทำประมงอย่างรับผิดชอบ. เรียกดูได้จาก
http://www.gotoknow.org/blog/group705/13829
สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย.2530. อนาคตประมงไทย. เรียกดูได้จาก
http://www.navy.mi.th/navic/document/880807a.html
อานนท์   อุปบัลลังก์. ชีววิทยาประมง. ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. เรียกดูได้จาก  http://natres.psu.ac.th/QuizNRStudents/AquaticScience2/Quiz_FishBiology.htm
 
 
อิสระ      ชาญราชกิจ และคณะ. การประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม. กอง
เทคโนโลยีการประมง ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, กรุงเทพฯ. 82 น. เรียกดูได้จาก http://map.seafdec.org/downloads/pdf/IUU_thai.pdf
อุไรวรรณ กว้างขวาง. ทาไมต้องมีการจัดการทรัพยากรประมง. กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการ
ทรัพยากรประมงน้ำจืด. เรียกดูได้จาก http://www.fisheries.go.th/if-center/web2/images/pdf/4s.pdf
 
 
การประเมินผลการสอนเมื่อสิ้นสุดการสอน โดยการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจการ
สอนที่จัดทำขึ้น โดยประเมินแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 1 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยทบทวนปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และมีการนำสื่อ อุปกรณ์ที่สามารถสื่อให้เข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น และเป็นความต้องการของนักศึกษา โดยต้องคำนึงถึงการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ไม่มี
ไม่มี