อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

Power Electronics

1.1  เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจหลักการพื้นฐานของการเรียงกระแส  การแปลงผันเอซีเป็นเอซี  การแปลงผันดีซีเป็นดีซี  และการแปลงผันเอซีเป็นดีซี
1.2  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจพฤติกรรมการทำงานและคุณลักษณะกระแส-แรงดันไฟฟ้าของไดโอด  ไธริสเตอร์  ทรานซิสเตอร์  ไทรแอก มอสเฟต และไอจีบีที 
1.3   เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในการเลือกใช้งานสวิตซ์สารกึ่งตัวนำกำลังชนิดต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้งาน    
1.4  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการทำงานและสามารถคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของวงจรเรียงกระแสหนึ่งเฟสชนิดควบคุมกำลังไฟฟ้าด้านเอาต์พุตไม่ได้ที่ต่อโหลดเป็นตัวต้านทาน  เป็นตัวต้านทานและตัวเหนี่ยวนำอนุกรมกัน  และเป็นตัวต้านทานและตัวเก็บประจุขนานกันได้
1.4  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการทำงานและสามารถคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญ ของวงจรเรียงกระแสสามเฟสชนิดควบคุมกำลังไฟฟ้าด้านเอาต์พุตไม่ได้ที่ต่อโหลดเป็นตัวต้านทานได้
1.5  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้ในข้อ 1.2 และ 1.3    เพื่อทำความเข้าใจการทำงานและสามารถคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของวงจรเรียงกระแสหนึ่งเฟสและสามเฟสชนิดควบคุมกำลังไฟฟ้าด้านเอาต์พุตที่มีโหลดเป็นตัวต้านทาน และเป็นตัวต้านทานและตัวเหนี่ยวนำอนุกรมกันได้
1.6  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบหาค่าองค์ประกอบของวงจรแปลงผันดีซี-ดีซีชนิดกระแสไหลผ่านตัวเหนี่ยวนำต่อเนื่องให้มีพฤติกรรมการทำงานเป็นตามที่กำหนดได้ 
1.7  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการทำงานและสามารถคำนวณหาค่าองค์ประกอบของวงจรแปลงผันดีซี-เอซีหนึ่งเฟสให้มีพฤติกรรมการทำงานเป็นตามที่กำหนดได้ 
1.8 เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงบทบาทของศาสตร์ด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลังในการประยุกต์ใช้ควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้า
เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้พื้นฐานด้านวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกลไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แคลคูลัสและตรีโกณมิติ  มาประยุกต์และพัฒนาการเรียนรู้ในศาสตร์ด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลังให้มีความเข้าใจ และสามารถจำลองการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลังด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้รวดเร็วขึ้นและสามารถเรียนรู้พฤติกรรมการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้ด้วยตนเอง ออกแบบใบประลองได้ ผู้เรียนมีความมั่นใจที่จะเป็นครูผู้สอนในรายวิชาอิเล็กทรอนิกส์กำลัง 
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลัง และการทำงานของวงจร อิเล็กทรอนิกส์ วงจรเรียงกระแส วงจรช็อปเปอร์ วงจรไซโคลคอนเวอร์เตอร์ วงจรควบคุมแรงดันไฟฟ้าสลับ วงจรอินเวอร์เตอร์ การควบคุมเครื่องจักรกลไฟฟ้า ด้วยอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการของผู้เรียน หรือกรณีที่ผู้สอนเห็นว่าผู้เรียนมีแนวโน้มผลการเรียนอ่อนหรือทำการบ้านไม่ได้อย่างน้อย  3  ชั่วโมงต่อสัปดาห์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล