การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

Educational Research

1  เพื่อให้เข้าใจทฤษฏีและหลักการวิจัย
2  เพื่อให้สามารถเขียนเค้าโครงการวิจัย
3  เพื่อให้สามารถปฏิบัติการวิจัย
4  เพื่อให้สามารถเขียนรายงานการวิจัยและนำเสนองานวิจัย
5  เพื่อให้มีกิจนิสัยในการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ
6  เพื่อให้ตระหนักในความสำคัญของงานวิจัยที่มีต่อการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการ
       เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวปฏิบัติการวิจัย รูปแบบการวิจัย การออกแบบการวิจัย กระบวนการวิจัย สถิติเพื่อการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้และผลิตงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้การวิจัยในชั้นเรียน และการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน การเขียนโครงร่างการวิจัย ทำการวิจัยในชั้นเรียนพร้อมทั้งเขียนรายงานการวิจัยและนำเสนอผลการวิจัย สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
        ศึกษาเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและแนวปฏิบัติการวิจัย รูปแบบการวิจัย การออกแบบการวิจัย กระบวนการวิจัย สถิติเพื่อการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้และผลิตงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การวิจัยในชั้นเรียน และการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน การเขียนโครงร่างการวิจัย ทำการวิจัยในชั้นเรียนพร้อมทั้งเขียนรายงานการวิจัยและนำเสนอผลการวิจัย สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
-     อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรกโดยชี้แจงกระบวนการการจัดการเรียนการสอน โดยให้คำปรึกษาผ่านทางเฟสบุ๊ค ไลน์ 
-    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
          พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1  บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยมีวัตถุประสงค์ไม่สุจริต หรือจากมิจฉาชีพ การป้องกันตนเอง
1.2.2  อภิปรายกลุ่ม
1.2.3  กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.2.4  กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้า และเสนอหัวข้อวิจัย เพื่อจัดทำโครงร่างการวิจัย
1.3.1  พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2  มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3  ประเมินผลการวิเคราะห์หัวข้อปัญหาการวิจัย และการดำเนินงานวิจัย
1.3.4  ประเมินผลการนำเสนอรายงานการวิจัยที่มอบหมาย
          นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถ และทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
2.1.1 มีความรู้ในหลักการ และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1  ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
2.3.3  ประเมินผลการวิเคราะห์หัวข้อปัญหาการวิจัย และการดำเนินงานวิจัย
2.3.4  ประเมินผลการนำเสนอรายงานการวิจัยที่มอบหมาย
          นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้         
3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ      
3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ และมีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี
3.2.1  การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2  อภิปรายกลุ่ม
3.2.3  วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.2.4  การสะท้อนแนวคิดจากการแสดงประพฤติกรรม
3.3.1  สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้
3.3.2  วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.3  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
          นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่น ๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชา หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ นี้
4.1.1  มีมนุษยสัมพันธ์ และมารยาทสังคมที่ดีระหว่างผู้เรียนด้วยกัน          
4.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ          
4.1.3  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม    
4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1  จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2  มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การอภิปรายหัวข้อที่เกี่ยวกับโครงการวิจัยทางการศึกษา
4.2.3  การนำเสนอรายงาน
4.3.1  ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3  ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
          ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาชีพ ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้         
5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม        
5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์  และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2  นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
          การทำงานในสถานศึกษา สถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะการปฏิบัติ การวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายตามสภาพจริงดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องมุ่งเน้นการสร้างทักษะการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ดังต่อไปนี้    
6.1.1  แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์
6.1.2  แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม
          จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
6.2.1  สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน         
6.2.2  สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ         
6.2.3  สนับสนุนการทำโครงงาน         
6.2.4  จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา         
6.2.5  การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
6.3.1  มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน         
6.3.2  มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน                  
6.3.3  มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ         
6.3.4  มีการประเมินโครงงานนักศึกษา         
6.3.5  มีการประเมินนักศึกษาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDCC809 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรม จริยธรรม 1.1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม 1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 9 สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 17 สอบกลางภาค 25% สอบปลายภาค 25%
2 1. คุณธรรม จริยธรรม 1.1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม 1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 5.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เขียนโครงร่างการวิจัย ปฏิบัติการทำวิจัย และจัดทำรายงานการวิจัย การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย เขียนโครงร่างการวิจัย ปฏิบัติการทำวิจัย และจัดทำรายงานการวิจัย การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย 40%
3 1. คุณธรรม จริยธรรม 1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม 1.3 มีภาวะคว ามเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม 7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 3. ทักษะทางปัญญา การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1)  เอกสารคำสอน
2) สื่อ  PowerPoint
1. ไพฑูรย์ สินลารัตน์  และสำลี ทองธิว. (2552). การวิจัยทางการศึกษา : หลักและวิธีการสำหรับนักวิจัย. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส จำกัด.
2. พงศ์เทพ จิระโร. (2557). หลักการวิจัยทางการศึกษา. ชลบุรี: บัณฑิตเอกสาร.
3. ธีรยุทธ  พึ่งเพียร. (2543). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล.
4. ล้วน  สายยศ  และอังคณา  สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
5. สมโภชน์  อเนกสุข. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
6. สมโภชน์ อเนกสุข. (2553). การวิจัยทางการศึกษา. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
7. สุรีพร  อนุศาสนนันท์. (2552). เอกสารประกอบการสอน วิจัยการศึกษาเบื้องต้น. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
8. สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). แนวคิดพื้นฐานทางการวิจัย. กรุงเทพฯ: ทวี พริ้นท์ (1991) จำกัด.
9. ภัทรา นิคมานนท์. (2542). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย (Foundation of research). กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างการเรียนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ และสถานศึกษา