ปฏิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้า

Electrical Machines Laboratory

เพื่อให้นักศึกษามีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน องค์ประกอบ และการใช้งานด้านเครื่องจักรกลไฟฟ้า
เพื่อให้นักศึกษามีทักษะ ความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องจักรกลไฟฟ้า  เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งการนำไปใช้ในชีวิตการทำงานในอนาคตต่อไป
ปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนในวิชา เครื่องจักรกลไฟฟ้า 1 (รหัสวิชา 32082202)  และ  เครื่องจักรกลไฟฟ้า 2    (รหัสวิชา 32082303)
 
หมายเหตุ - คำอธิบายรายวิชา  วิชาเครื่องจักรกลไฟฟ้า 1 และ  เครื่องจักรกลไฟฟ้า 2
                  เครื่องจักรกลไฟฟ้า 1   3(3-0-6) รหัสวิชา 32082202   Electrical Machines 1
                  วงจรแม่เหล็ก หลักการแปลงพลังงานกลไฟฟ้า พลังงานและพลังงานร่วม หม้อแปลงไฟฟ้าหนึ่งเฟสและสามเฟส หลักการของเครื่องจักรกลชนิดหมุน โครงสร้าง หลักการและการวิเคราะห์เครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง
                   เครื่องจักรกลไฟฟ้า 2   3(3-0-6)  รหัสวิชา 32082303  Electrical Machines 2
                   โครงสร้าง หลักการและการวิเคราะห์เครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับ เครื่องจักรกลไฟฟ้าแบบซิงโครนัส เครื่องจักรกลไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำหนึ่งเฟสและสามเฟส การป้องกัน เครื่องจักรกลไฟฟ้า
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  โดยจะประกาศช่วงเวลากำหนดการให้คำปรึกษาในและนอกเวลาเรียน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิลิขสิทธิ์ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้อื่น  มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ ใช้ความรู้ทางด้านเครื่องจักรกลไฟฟ้าและในส่วนที่เกี่ยวข้องในทางที่เหมาะสม โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้งานเครื่องกลไฟฟ้าต่อบุคคลองค์กรและสังคม

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
วิธีการสอน 


มอบหมายหัวข้องานหรือหัวข้อปัญหา ที่สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาที่กำหนดไว้ในรายวิชาเครื่องจักรกลไฟฟ้า ที่ต้องการทดสอบหรือประลอง จัดเตรียมเอกสารใบประลอง ให้ตรงตามจุดประสงค์สิ่งที่ต้องการค้นหา หรือเกี่ยวข้องกับหลักการทางเครื่องจักรกลไฟฟ้า จัดกลุ่มทำการประลอง หรือทดลองเพื่อนำผลที่ได้ไปทำการเปรียบเทียบกับผลทางทฤษฎีที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกลไฟฟ้า

สรุปผลการประลอง และอภิปรายผล  พร้อมวิเคราะห์ผลที่ได้เพื่อให้สามารถนำเครื่องกลไฟฟ้าไปใช้งานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
วิธีการประเมินผล
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงองค์ความรู้ที่ได้นำมาทำรายงานผลการประลอง อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์ผลการประลองทางเครื่องจักรกลไฟฟ้า
1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย หลังจากการได้ทำการประลองทางเครื่องจักรกล
           ไฟฟ้า
ความรู้ ที่ต้องได้รับ
              มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของเครื่องจักรกลไฟฟ้า หลักการแปลงพลังงานกลไฟฟ้า พลังงานและพลังงานร่วม โครงสร้าง หลักการและการวิเคราะห์เครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรงหลักการและการวิเคราะห์เครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับ เครื่องจักรกลไฟฟ้าแบบซิงโครนัส เครื่องจักรกลไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำหนึ่งเฟสและสามเฟส การป้องกัน เครื่องจักรกลไฟฟ้า และหม้อแปลงไฟฟ้า และทักษะ ความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องจักรกลไฟฟ้า  เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งการนำไปใช้งาน
วิธีการสอน
สาธิตพร้อมการบรรยายเกี่ยวกับเอกสารการประลองและหลักวิธีการ พร้อมจัดกลุ่มการประลอง  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์ผลการประลอง และมอบหมายให้ค้นหาองค์ความรู้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เขียนรายงานการทำงานหรือรายงานผลการประลอง  พร้อมนำมาสรุปและนำเสนอในเนื้อหาความรู้ที่ศึกษาและส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลไฟฟ้า  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
วิธีการประเมินผล
2.3.1   ทดสอบโดยการสัมภาษณ์  ซักถาม สังเกตระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน สอบปฏิบัติ  ด้วยการลงมือทำเป็นรายบุคคล  ที่เน้นการวัดหลักการทำงานที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  และการสรุปพร้อมอภิปรายผลการประลอง
ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลไฟฟ้า
วิธีการสอน
3.2.1   การมอบหัวข้องานให้นักศึกษาทำการค้นคว้าองค์ความรู้ในทางทฤษฎีเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่จะทำการประลอง
3.2.2   ผู้สอนตรวจสอบงานที่นักศึกษาได้จัดทำ  พร้อมแก้ไขปรับปรุงและให้ข้อแนะนำ
3.2.3   ปฏิบัติการประลอง โดยผู้สอนให้การดูแลและแนะนำอย่างใกล้ชิด
3.2.4   นักศึกษานำผลการประลองที่ได้ มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักการในทางทฤษฎี พร้อมหาคำตอบ และนำมาอภิปรายผล
วิธีการประเมินผล
3.3.1   การสอบปฏิบัติ โดยสังเกต  และสัมภาษณ์โดยมุ่งเน้นปฏิบัติการที่ถูกต้อง หรือสังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาการวิเคราะห์ผลการประลองที่ได้
3.3.2   วัดผลจากการประเมินรายงานการประลอง  การนำเสนอผลงาน
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
วิธีการสอน
4.2.1   จัดแบ่งกลุ่มในการปฏิบัติการ
4.2.2   มอบหมายงานการค้นคว้าหลักทฤษฎีทางเครื่องจักรกลไฟฟ้าในหัวข้อที่จะทำการปฏิบัติการประลอง เป็นรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3   ทำการปฏิบัติการประลอง เป็นรายกลุ่มภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้สอน
4.2.4   การนำเสนอรายงาน
วิธีการประเมินผล
4.3.1   ประเมินทักษะของผู้เรียนเองตามหัวข้อทักษะที่กำหนดให้ หรือควรจะต้องมีในรายวิชานี้
4.3.2   ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
ทักษะการประลองด้านเครื่องจักรกลไฟฟ้า
5.1.1   ทักษะการคิด การค้นคว้า และการออกแบบวงจร และวิธีการประลองเพื่อค้นหาคำตอบ หรือคุณลักษณะต่างๆ ของเครื่องจักรกลไฟฟ้า
5.1.2   พัฒนาทักษะในการเตรียมการในปฏิบัติการประลองทางเครื่องจักรกลไฟฟ้า
5.1.3   พัฒนาทักษะในการต่อวงจรการประลองเครื่องจักรกลไฟฟ้า
5.1.4   พัฒนาทักษะในการใช้การเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า ที่ใช้ประกอบในปฏิบัติการ
5.1.5   พัฒนาทักษะปฏิบัติการประลองเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่ถูกต้องตามหลักขั้นตอนทางวิชาการ
5.1.6   ทักษะในการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติการประลองทางเครื่องจักรกลไฟฟ้า
5.1.7   ทักษะในการเก็บบันทึกข้อมูล ในปฏิบัติการประลองทางเครื่องจักรกลไฟฟ้า
5.1.8   ทักษะในการนำเสนอรายงานผลการประลองในปฏิบัติการประลองทางเครื่องจักรกลไฟฟ้า
วิธีการสอน
5.2.1   มอบหมายหัวข้องานให้ศึกษาจัดเตรียมการปฏิบัติการประลองทางเครื่องจักรกลไฟฟ้า
5.2.2   จัดกลุ่มทำการปฏิบัติการประลอง เป็นรายกลุ่มภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้สอน และนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ พร้อมนำเสนอรายงานผลการประลอง
ประเมินจาก การสังเกตการปฏิบัติงาน  การตอบคำถาม รายงาน และการนำเสนอผลงาน
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย    
                 6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านปฎิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้า เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                 6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านปฎิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้า ปฏิบัติตามรูปแบบได้
อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย 
                 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
                 6.2.1    กำหนดรูปแบบการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาสะท้อนความรู้ที่ค้นคว้าและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ 
                 6.2.2    กำหนดให้นักศึกษาปฎิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้า
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
                 6.3.1    ประเมินพฤติกรรมการปฎิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้า
                 6.3.2    การประเมินจากการนำเสนองานปฎิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้า
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 1 2 2 2 3 3 4 4 4 4 5 5 5 6 6
1 32082304 ปฏิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทุกบทเรียนที่นักศึกษา ปฏิบัติการ การเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน ความพร้อมในการเตรียมเอกสารก่อนการปฏิบัติการ ความสนใจในการปฏิบัติการ ตลอดภาคการศึกษา 10% 10% 10%
2 ทุกบทเรียนที่นักศึกษา ปฏิบัติการ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 ทุกบทเรียนที่นักศึกษา ปฏิบัติการ สอบปฏิบัติ ตลอดภาคการศึกษา 40%
หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
              สุภาพ  สุราสา. การทดสอบเครื่องกลไฟฟ้า. ขอนแก่น : วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา,
     2527.
  Nasar, SA. And Unnewehr L.E.,Electromachanics and Electric Machines. (second edition ), John 
     Wiley & Sons Inc. ( USA ), 1973.
เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
               เอกสารคู่มือการประลองเครื่องกลไฟฟ้า ( Lucas )
เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
              - http://www.sawdustmaking.com/ELECTRIC%20MOTORS/electricmotors.html
 
              -. http://www.iprocessmart.com/leeson/leeson_singlephase_article.htm
 
- http://www.alibaba.com/countrysearch/CN-suppliers/Single_Phase_Motor.html
 
และเว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาปฏิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้า
กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  ทบทวน ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   อาจารย์ผู้สอนศึกษาเพิ่มเติมด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกลไฟฟ้าใหม่ๆ ตลอดเวลา พร้อมทั้งนำมาสอนเสริมความรู้ให้ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนก้าวทันตามเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรกลไฟฟ้าสมัยใหม่
5.3  มีการเอาใจใสดูแลซ่อมแซม ชุดฝึกปฏิบัติการเครื่องจักรกลไฟฟ้าให้มีความพร้อมในการใช้งานอยู่ตลอดเวลา