สัมมนา

Seminar

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดประชุมสัมมนาและการจัดฝึกอบรมทางด้านออกแบบ                                   
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการสืบค้นหัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจ ทักษะการมีบทบาทเป็นทั้งวิทยากร และทีมผู้จัดสัมมนา                                                
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการเสนอประเด็นปัญหา ความก้าวหน้าวงการด้านการออกแบบอุตสาหกรรม
4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลการสัมมนา                                            
5. เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในงานสัมมนาอื่นๆ ต่อไป
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในการเขียนโครงการและจัดสัมมนา การประเมินผล พัฒนาทักษะการพูด การบริหารจัดการงานสัมมนา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ไปเป็นพื้นฐานของรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การนำเสนอหัวข้อโครงงานออกแบบอุตสาหกรรม วิชาการนำเสนอผลงาน และวิชาที่ใช้ทักษะในการพูดนำเสนอผลงาน
ศึกษาลักษณะและชนิดของการสัมมนา การตั้งหัวข้อการสัมมนา การเขียนโครงการสัมมนา นำเสนอหัวข้อสัมมนา นำเสนอหัวข้อสัมมนาด้านงานออกแบบอุตสาหกรรม และด้านความก้าวหน้าทางงานการออกแบบ ครอบคลุมเนื้อหาที่นักศึกษาสนใจในระดับปริญญาตรี
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3  มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา  และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม  และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 ให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบในการเข้าเรียน เช็คชื่อและมีการให้คะแนนในส่วนของการเข้าเรียนครบและตรงต่อเวลา
1.2.2 ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัย เคารพ กฎ ระเบียบและข้อบังคับของสถานศึกษา กล่าวชมเชยนักศึกษาที่แต่งกายถูกระเบียบ
1.2.3  สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมถึงการมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.3.1   ประเมินจากการเข้าเรียนทุกครั้ง
1.3.2   ประเมินจากพฤติกรรมการแต่งกายของนักศึกษาที่เข้าเรียน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 บรรยาย หลักการและทฤษฎี
2.2.2 สอดแทรกความรู้ในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวเนื่องและศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.2.3 วิธีการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.2.4 มอบหมายให้ค้นคว้าหาข้อมูลและความรู้อื่นๆ
2.3.1   สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
2.3.2   ประเมินจากข้อมูลในการทำโครงการสัมมนา
3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1   วิธีการสอนแบบตั้งคำถาม(Questioning-Based)
3.2.2   มอบหมายให้จัดทำโครงการสัมมนา
3.3.1   ประเมินจากการตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น
3.3.2   ประเมินจากการทำโครงการสัมมนา
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1  จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2  มอบหมายงานรายบุคคล และรายกลุ่มในการทำโครงงานสัมมนา
4.2.3  การนำเสนอรายงาน
4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงาน
4.3.2  ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง 
5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2  สามารถสืบค้น  ศึกษา  วิเคราะห์  และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และทำรายงานโดยเน้นการอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2  นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1  ตรวจสอบความถูกต้องของแนวคิด และวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้พื้นฐานความรู้ที่เรียนมา
5.3.2  จากผลการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.3  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.4  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 43023040 สัมมนา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1, 3.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 15% 15%
2 2.3.2, 3.3.2, 3.3.3, 4.3.1, 4.3.2, 5.3.1, 5.3.2 การปฏิบัติงาน การจัดสัมมนา ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 1.3.1 การเข้าเรียน การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
ชาญ สวัสดิ์สาลี. 2550. คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ. พิมพ์คร้ังท่ี 5. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน กพ.
ณัฐพงศ์ เกศมาริษ. 2545. เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
นนทวัฒน์ สุขผล. 2543. เทคนิคการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
นิรันดร์ จุลทรัพย์. 2550. จิตวิทยา การประชุมอบรมสัมมนา. สงขลา: ศูนย์หนังสือม.ทักษิณฯ.
สมชาติ กิจจรรยา. 2544. สูตรสำเร็จการจัดฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สายสอางค์ แกล้วเกษตรกรณ์. 2543. สูตรสำเร็จการเป็นวิทยากร. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน กพ.
สิทธิเดช ลีมัคเดช. 2551. สัมมนาน่าสนุก : คู่มือสำหรับนักจัดสัมมนา. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
เอกสารประกอบการสอนวิชาสัมมนา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจาก
นักศึกษาไว้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้
ในวิชาได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลกาทดสอบ
ย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจ
สอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือหัวข้อสัมมนา ที่น่าสนใจ ตามยุคสมัย เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ได้