กิจกรรมดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

Activity for Holistic Health

เพื่อจัดกิจกรรม การเตรียมนักศึกษาให้พร้อมกับการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้มีความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ เสริมทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพ ให้มีสุขภาวะที่ดี และมีความสุข โดยใช้กลไกของกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
2.1  เพื่อให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ของหลักสูตรและปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยมีการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองควบคู่ไปกับการเรียนในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนตลอดจนให้นักศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
2.2 เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียน สร้างโอกาสการเรียนรู้นอกหลักสูตร โดยเสริมกิจกรรมทั้งนอกห้องเรียน และนอกมหาวิทยาลัย แนะแนวให้นักศึกษารู้จักและเข้าใจตนเองในทุกๆ ด้าน เช่น ความถนัด ความสามารถ ความสนใจ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการศึกษาต่อ และเลือกอาชีพได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับตนเอง
การบริโภคอาหารปลอดภัย  การออกกำลังการที่ถูกต้องเหมาะสม  ความรู้เรื่องโรคภัยวัยรุ่น  การใช้ชีวิตในสำนักงาน  งานอุตสาหกรรม  การดูแลสุขอานามัย  การระวังป้องกันอุบัติเหตุ  ภัยใกล้ตัว  การปฐมพยาบาลเบื้องต้น  การป้องกันอัคคีภัย  และความรู้เรื่องสมุนไพรพื้นบ้าน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการในทุกวันอังคาร 10.00-12.00 น.)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย ตรงต่อเวลา รู้จักหน้าที่และบทบาทของตน  มีความซื่อสัตย์ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเคารพต่อกฎระเบียบข้อปฏิบัติต่าง
1.2.1  ให้ความรู้โดยการสอดแทรกเนื้อหาในการปฏิบัติการต่างๆ
1.2.2  ให้ผู้เรียนทำปฏิบัติการเป็นกลุ่ม ทั้งแบบกลุ่มใหญ่ และกลุ่มเล็กๆ มีการอภิปรายกลุ่มและนำเสนอผลงาน
1.2.3  ให้ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายตามการวางแผนกิจกรรมในแต่ละคาบเรียนของสัปดาห์
1.2.3  การประพฤติตนที่เหมาะสมไม่เบียดเบียนผู้เรียนคนอื่นในขณะที่ทำปฏิบัติการ
1.2.4  การตรงเวลา การแต่งกาย การมีวินัยในห้องปฏิบัติการ การรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.1 พฤติกรรมในขณะทำปฏิบัติการและการส่งงานที่ตรงตามเวลาที่กำหนด
1.3.2 ประเมินผลจากงานของนักศึกษา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการนำเสนองานที่มอบหมาย
1.3.4 การตรงต่อเวลาและการแต่งกายที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการ
การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่ทุกคนต้องดูแลสุขภาพของตนเองในทุกวัย เพราะร่างกายมีแต่เสื่อมลง ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกประกาศว่า สุขภาพดีนั้น มิใช่เพียงการไม่มีโรคเท่านั้น แต่ต้องครอบคลุมการดูแลสุขภาพทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1)ร่างกาย  2) จิตใจ  3)สังคมสิ่งแวดล้อม  และ 4)จิตวิญญาณ  ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้น กล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติ และยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะ[1] ได้แก่
         1) การดูแลสุขภาพตนเองในสภาวะปกติ เป็นการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ได้แก่ 
              - การดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ สุข เช่น การออกกำลังกาย การสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งคนพิการทางจิตต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพราะการรับประทานยาทางจิตเวช จะมีข้อควรระวังเกี่ยวกับสุขภาพที่จะต้องปฏิบัติเช่น ยาที่รับประทานแล้วง่วง ซึม ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์  
              - การป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเป็นโรค เช่น การไปรับภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรคทั้งโรคตามฤดูกาล หรือโรคเรื้อรังที่อาจจะเกิดขึ้นตามวัย
          2)  การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วย ได้แก่ การขอคำแนะนำ แสวงหาวามรู้จากผู้รู้ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน บุคลากรสาธารณสุข แพทย์เฉพาะทาง ที่จำเป็นกับสภาพความพิการ เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการรักษาเบื้องต้นให้หาย จากความเจ็บป่วย ประเมินตนเองได้ว่า เมื่อไรควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย และมีสุขภาพดีดังเดิม
 
          การดูแลสุขภาพตนเองนั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง การดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ยังไม่เจ็บป่วย เพื่อบำรุงรักษาตนเอง ให้สมบูรณ์แข็งแรง รู้จักที่จะป้องกันตัวเอง มิให้เกิดโรค และเมื่อเจ็บป่วยก็รู้วิธีที่จะรักษาตัวเองเบื้องต้นจนหายเป็นปกติ หรือรู้ว่า เมื่อไรต้องไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
การดูแลสุขภาพในเรื่องต่างๆ ได้แก่
          1) เลือกอาหาร  โดยวัยนี้ร่างกายมีการใช้พลังงานน้อยลงจากกิจกรรมที่ลดลง จึงควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล  และไขมัน ให้เน้นอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะปลา  และเพิ่มแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุมักขาด  ได้แก่ แคลเซียม สังกะสี และเหล็ก  ซึ่งมีอยู่ในนม ถั่วเหลือง  ผัก ผลไม้  ธัญพืชต่างๆ  และควรกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนประเภทผัด ทอด จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้  นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด  เค็มจัด  และดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย  6 – 8 แก้วต่อวัน ที่สำคัญไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน
          2) ออกกำลังกาย หากไม่มีโรคประจำตัว แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิคสัก 30 นาทีต่อครั้ง ทำให้ได้สัปดาห์ละ 3 - 4 ครั้ง  จะเกิดประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดอย่างมาก โดยขั้นตอนการออกกำลังกายจะต้องค่อยๆ เริ่ม มีการยืดเส้นยืดสายก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มความหนักขึ้น จนถึงระดับที่ต้องการ ทำอย่างต่อเนื่องจนถึงระยะเวลาที่ต้องการ จากนั้นค่อย ๆ ลดลงช้า ๆ และค่อย ๆ หยุด เพื่อให้ร่างกายและหัวใจได้ปรับตัว
          3) สัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์  จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้ อาจเป็นสวนสาธารณะใกล้ๆสถานที่ท่องเที่ยว หรือการปรับภูมิทัศน์ภายในบ้านให้ปลอดโปร่ง สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก มีการปลูกต้นไม้ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้เหมาะสม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และสามารถช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดได้
          4) หลีกเลี่ยงอบายมุข  ได้แก่ บุหรี่และสุรา ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับยาจิตเวชที่ต้องกินประจำ  จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อน หรือลดความรุนแรงของโรคได้
          5) ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและโรคที่เป็นอยู่ ส่งเสริมสุขภาพให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการหกล้ม
          6) ควบคุมน้ำหนักตัวหรือลดความอ้วน  โดยควบคุมอาหารและออกกำลังกายจะช่วยทำให้เกิดความคล่องตัว  ลดปัญหาการหกล้ม  และความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ  เช่น  โรคข้อเข่าเสื่อม  และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น 
          7)  หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม  เช่น การซื้อยากินเอง  การใช้ยาเดิมที่เก็บไว้มาใช้รักษาอาการที่เกิดใหม่ หรือรับยาจากผู้อื่นมาใช้  เนื่องจากวัยนี้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตในการกำจัดยาลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดพิษจากยาหรือผลข้างเคียง  อาจมีแนวโน้มรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ฉะนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาจะดีที่สุด
          8) หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย   เช่น คลำได้ก้อน โดยเฉพาะก้อนโตเร็ว  แผลเรื้อรัง  มีปัญหาการกลืนอาหาร  กลืนติด  กลืนลำบาก  ท้องอืดเรื้อรัง  เบื่ออาหาร น้ำหนักลด  ไอเรื้อรัง  ไข้เรื้อรัง  เหนื่อยง่าย  แน่นหน้าอกหรือถ่ายอุจจาระผิดปกติ  มีอาการท้องเสียเรื้อรัง  ท้องผูกสลับท้องเสีย  ถ้าอย่างนี้ล่ะก็พามาพบแพทย์ดีที่สุด
          9) ตรวจสุขภาพประจำปี   แนะนำให้ตรวจสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี  หรืออย่างน้อยทุก 3 ปี โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ  ตรวจร่างกาย และอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ  เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง  ตรวจหาโรคมะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่  มะเร็งลำไส้  มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และยังมีตรวจการมองเห็น  การได้ยิน ตลอดจนประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย
          นอกจากการดูแลสุขภาพกายแล้ว สุขภาพใจก็เป็นสิ่งสำคัญ  การทำจิตใจให้แจ่มใส  มองโลกในแง่ดี  ไม่เครียดหรือวิตกกังวลกับเรื่องต่างๆ มากจนเกินไป รวมถึงการเข้าใจและยอมรับตนเองของท่านและผู้อื่น  จะช่วยให้เป็นผู้สูงอายุที่สุขภาพดีอย่างแท้จริง
2.2.1 มีการบรรยายแนะนำขั้นตอนที่สำคัญในการทำกิจกรรมที่ผู้สอนมอบให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ซักถามก่อนเข้าร่วมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำปฏิบัติงานด้วยความเข้าใจและมีความผิดพลาดน้อยที่สุด
2.2.1  หลังจากร่วมทำกิจกรรมและส่งงานแก่อาจารย์ผู้สอนแล้ว จะมีการนำเสนองานที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่ทำในวันนั้น เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจยิ่งขึ้นและสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวเองได้จากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่
2.3.1 การสังเกตการณ์มีส่วนร่วมของนักศึกษาในการทำกิจกรรม และสะท้อนคิดเพื่อให้ผู้เรียนสามารถประเมินตนเองได้ในด้านความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ เพื่อประเมินว่าผู้เรียนมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการร่วมทำกิจกรรมนั้นๆ
2.3.2 รายงานในการนำเสนอผลงานของกลุ่ม และรายบุคคล
2.3.3 การนำเสนองาน และส่งงาน ผ่านคลิปวีดิโอ Social Network และ Email ของการร่วมทำกิจกรรมจากโจทย์ที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มและรายบุคคลที่ได้รับมอบหมาย
พัฒนาความสามารถในการนำความรู้มาคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ หรือวิชาชีพและสามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นองค์ความรู้และความต้องการและแก้ไขปัญหาด้านการใช้ชีวิตได้อย่างมีระบบ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเหมาะสม ในการพัฒนากระบวนการคิดได้อย่างสร้างสรรค์
3.2.1 ทำการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นระเบียบ
3.2.2 การเขียนรายงาน นำเสนองานด้วยตนเองและงานกลุ่ม
3.2.3 เน้นให้ผู้เรียนคิดด้วยตนเองและรู้จักวางแผนการทำงาน ที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำกิจกรรมในหัวเรื่องต่างๆ จากโจทย์ที่ผู้สอนได้มอบหมายให้ดำเนินงาน
3.3.1  เน้นการประเมินการปฏิบัติกิจกรรม โดยมีโจทย์ให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ระบบการทำงานกลุ่ม และส่งผลงาน ในการเสนองานได้อย่างเหมาะสม
3.3.2  การประเมินผลงานนักศึกษา ในงานที่มอบหมายทั้งงานกลุ่มและรายบุคคล 
3.3.3  วัดผลจากการนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม และรูปแบบรายงานต่างๆ
4.1.1  พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนด้วยกัน 
4.1.2  พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
4.2.1  การทำปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม การแบ่งงานกันภายในกลุ่ม
4.2.2  การใช้และรับผิดชอบอุปกรณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.2.3  ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลบางส่วน เพื่อนำไปใช้ในการงานกลุ่ม
4.2.4  มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มในการทำกิจกรรมตามโจทย์ที่ผู้สอนมอบหมาย เพื่อให้ทำงานกับบุคคลที่หลากหลายมากขึ้น
4.3.1  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมในระหว่างการทำงานกลุ่ม
4.3.2  ประเมินจากการนำเสนอผลการวิเคราะห์และแก้ปัญหา ตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย
5.1.1  ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการแก้โจทย์ปัญหา
5.1.2  พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน โดยการทำรายงานนำเสนอ
5.1.3  ทักษะในการนำเสนอรายงาน โดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1  มีการวิเคราะห์และคำนวณที่ฝึกทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
5.2.2  นำข้อมูล/ผลการทดลองบางส่วนมาอภิปรายร่วมกันกับผู้เรียนและผู้สอน
5.2.3  มีการเลือกใช้รูปแบบสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการนำเสนอ
5.3.1  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล