ทักษะวิชาชีพสัตวศาสตร์ 3

Practical Skills in Animal Science 3

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว
- เข้าใจหลักและวิธีปฏิบัติงานด้านสัตวศาสตร์
- มีทักษะในการให้อาหารและการจัดการสุขาภิบาลสุกร สัตว์ปีก และโคนม
- สามารถบำรุงรักษาโรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์แต่ละประเภทได้
- วิเคราะห์และวางแผนการเก็บข้อมูลภายในฟาร์มได้
- ดำเนินงานและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานภายในฟาร์มได้
- มีความอดทน มีวินัย และความซื่อสัตย์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพการ
เพื่อเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ให้นักศึกษาได้มีโอกาสบูรณาการความรู้ภาคทฤษฏีไปประยุกต์กับการปฏิบัติจริงในฟาร์มเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงภาคปฏิบัติอย่างถูกต้องแม่นยำ
ฝึกงานด้านสัตวศาสตร์เฉพาะทางที่เน้นให้เกิดความรู้  ความชำนาญ และทักษะจนกระทั่งเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ในการวางแผนงาน การสั่งการ ดำเนินงานฟาร์ม ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานฟาร์มได้
          จัดให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแกนักศึกษาสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง
    3.1 วันพุธ และวันศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. โดมหน้าสาขาวิชาสัตวศาสตร์ โทร 089-9062313
    3.2 e-mail: juhntra@hotmail.com  เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
                    1.1.1. มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
                    1.1.2. แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
                    1.1.3. มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด และมีความรับผิดชอบ ต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
                   1.1.4. เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
                    1.1.5. เคารพสิทธิและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้น เรียน ทั้ง ในกลุ่มและนอกกลุ่ม
                    1.2.1 กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห้องเรียนตรงต่อเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย
                    1.2.2 บรรยายและยกตัวอย่างประกอบในเนื้อหา โดยสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
                    1.2.3 ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
                    1.2.4 การอ้างอิงบทความวิชาการหรือแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ มาใช้ต้องให้เกียรติแก่เจ้าของงานนั้น
                    1.3.1 ประเมินการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา ส่งงานตามกำหนด และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด
                    1.3.2 ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม ตรงต่อเวลา มีวินัยและความสามัคคีในการทำกิจกรรม
                    1.3.3 ประเมินผลรายงาน หรืองานที่นำเสนอมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทางวิชาการถูกต้อง
                    1.3.4 มีการฝึกทักษะและการปฏิบัติต่างๆให้ถูกตามหลักการเลี้ยงสัตว์เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
                    2.1.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
                    2.2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
                    มอบหมายให้ทำข้อมูลพื้นฐานในฟาร์ม
                    2.3.1 ประเมินผลจากรายงาน และการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
                    2.3.2 สอบภาคปฏิบัติเพื่อประเมินทักษะของนักศึกษา         
                    3.1.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
                    3.1.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
                    3.1.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
                    กำหนดหัวข้อและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปศุสัตว์ ให้นักศึกษาไปศึกษา ค้นคว้าข้อมูล และนำมาอภิปรายร่วมกัน
                   3.3.1 ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน
                    3.3.2 ประเมินจากความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ค้นคว้ามา
                    4.1.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
                    4.1.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
                    ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเสริมเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ
                    การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
                    5.1.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
                    5.1.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   5.2.1 แนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและ ระบบสารสนเทศอื่นๆ
                    5.2.2 มอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นองค์ความรู้จากเอกสาร หรือข้อมูลผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                    5.2.3 การประมวลผลประสิทธิภาพของงานฟาร์มสัตว์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
                    5.3.1 ประเมินจากรายงาน ภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานและการนำเสนอในชั้นเรียนที่ได้รับมอบหมาย
                    5.3.2 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผล ไหวพริบในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
                    5.3.3 ประเมินจากความสำเร็จของงานที่มอบหมาย
                    มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ

 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 3.3, 4.2, 5.2 การค้นคว้า นำเสนอผลการปฏิบัติงาน สรุปและวิเคราะห์ผลงาน การส่งงานตามมอบหมาย การสอบภาคปฏิบัติ ตลอดภาคการศึกษา 90%
2 1.1, 4.2, 5.2 -การเข้าชั้นเรียน -การฝึกปฏิบัติในฟาร์ม -การมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน -การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ มทร.ล้านนา ตลอดภาคการศึกษา 10%
คู่มือการปฏิบัติงานแต่ละหมวดงาน
ทรัพยากรงานฟาร์ม
- เจ้าหน้าที่ประจำแผนกงานฟาร์ม เพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติงาน และการแก้ปัญหาของนักศึกษา
- วัสดุอุปกรณ์ประกอบการปฏิบัติงาน
- สถานที่นั่งพักและห้องรับประทานอาหาร
- ตู้ยาและวัสดุอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาล
จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา  โดยทำการสัมภาษณ์(สอบถาม,พูดคุยเปิดใจ)กับนักศึกษา ให้นักศึกษาทุกคนประเมิน
     1.1 วิธีการสอนของอาจารย์ประจำแผนก  พี่เลี้ยง คนงานประจำฟาร์ม
    1.2 การจัดแบ่งงานในฟาร์มสัตว์ และกิจกรรมที่ได้ทำในแต่ละฟาร์ม
    1.3 สิ่งสนับสนุนการปฏิบัติงานในฟาร์มที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้
    1.4 ผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
          1.5 สิ่งที่นักศึกษาต้องการและ/หรือข้อเสนอแนะต่างๆเพื่อปรับปรุงรายการปฏิบัติงานในแต่ละฟาร์ม
ประเมินจากการสัมภาษณ์นักศึกษา
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาทั้งรายบุคคลและทั้งกลุ่ม
ประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
ประเมินจากบันทึกการปฏิบัติงานในแต่ละครั้งที่ได้รับมอบหมาย
- อาจารย์ประจำรายวิชาประมวลผลการฝึกงานของนักศึกษาทั้งหมด พร้อมทั้งผลการประเมินและข้อเสนอแนะต่างๆ ของนักศึกษาทั้งการการสัมภาษณ์นักศึกษาและทำการวิจัยในชั้นเรียนเชิญประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างอาจารย์  คนงานประจำแผนกงานฟาร์มทุกฟาร์มพร้อมทั้งกรรมการหลักสูตร เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและกำหนดกลไก,วิธีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาไว้  หลังจากนั้นจัดทำรายงานผลการดำเนินการของการฝึกงาน รายงานต่อหัวหน้าสาขาวิชาเพื่อทราบและดำเนินงานตามขั้นตอนต่อไป
-ให้นักศึกษาได้ฝึกการวางแผนการทดลอง และการคำนวณโดยอาศัยงานทดลอง
-การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจาหลักสูตร
-มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยการตรวจสอบรายงานวิธีการให้คะแนนและการให้คะแนนพฤติกรรม
- ทดสอบทักษะปฏิบัติในแต่ละฟาร์ม โดยเน้นเทคนิคปฏิบัติเฉพาะตัว รวมทั้งการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในฟาร์ม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
-ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี
-เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ที่กว้างขึ้น