วัสดุวิศวกรรม

Engineering Materials

ผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ความสามารถในการเลือกใช้วัสดุสำหรับงานทางวิศวกรรมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการในสภาพปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านดังนี้

ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม ทางด้านความรู้ สามารถบูรณาการความรู้ในวิชาวัสดุวิศวกรรมกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร ทางด้านทักษะทางปัญญา มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี ทางด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
เพื่อให้เนื้อหาทันสมัยสอดคล้องตามมาตรฐานข้อสอบความรู้ระดับภาคีวิศวกรของสภาวิศวกร เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้ความคุ้นเคยกับสมบัติของวัสดุ เมื่อต้องการเลือกใช้หรือนำไปประยุกต์ เพื่อต้องการให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงองค์ประกอบ โครงสร้าง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุกับการใช้งาน เพื่อต้องการให้ผู้เรียนได้ทราบถึงข้อมูลต่างๆ ของสมบัติของวัสดุ เพื่อนำมาใช้งาน เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงกระบวนการผลิต, กระบวนการทดสอบให้วัสดุที่ผลิตออกมามีความสมบูรณ์และมีคุณภาพ เป็นต้น
ศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง คุณสมบัติ กระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้วัสดุวิศวกรรม เช่น โลหะ โพลิเมอร์ พลาสติก ยางมะตอย ไม้ คอนกรีต เซรามิคและวัสดุเชิงประกอบ แผนภาพสมดุลเฟสและการแปลความหมาย การทดสอบสมบัติต่างๆ ของวัสดุวิศวกรรมและการแปลความหมาย คุณสมบัติทางกลและการเสียหายของวัสดุ
เวลาให้คำปรึกษานักศึกษา หลักเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 16.00-17.00 น
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

คุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยในชีวิต ความสำเร็จทางธุรกิจ ผู้พัฒนา หรือผู้ประยุกต์โปรแกรมจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่ เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ  ได้แก่
1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบสูงต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
1.1.5  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1 วิธีการสอน 
1.2.2 ให้ความสำคัญกำหนดให้นักศึกษาเข้าห้องเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.5 ให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มในการเรียนแต่ละครั้ง
วิธีการประเมินผล
1.3.2  การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงต่อเวลา
1.3.5  ประเมินการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและงานที่มอบหมาย
ความรู้

นักศึกษาด้องพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับวัสดุวิศวกรรมที่ศึกษานั้นเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคมดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
2.1.1 พัฒนาความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐานวิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.3 พัฒนาความสามารถการบูรณาการความรู้ในหลักวิชาวัสดุวิศวกรรมที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
2.1.4 พัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวัสดุ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.5  พัฒนาความรู้และทักษะในวิชาวัสดุวิศวกรรม ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 บรรยาย อภิปราย หลักการทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐานวิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ รวมถึงหลักการออกแบบสร้างนวัตกรรม
2.2.3 มอบหมายงานศึกษาและค้นคว้าปัญหาทางวิศวกรรมวัสดุและโครงงานที่เกี่ยวข้องกับ               การใช้งานวัสดุในทางวิศวกรรมเช่น การเลือกวัสดุสำหรับงานโครงสร้างสำหรับวิศวกรรมโยธา การปรับปรุงสมบัติวัสดุสำหรับการสร้างสิ่งประดิษฐ์ด้านวิศวกรรมเครื่องกล เป็นต้น
2.2.4 ฝึกวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและเลือกใช้วัสดุด้านวิศวกรรมด้วยหลักการทางวัสดุและการออกแบบชิ้นส่วนและการวิเคราะห์โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เช่น วิเคราะห์ไฟล์ไนอิลิเมนต์
2.2.5  มอบหมายรายงานกลุ่มและบุคคล และกรณีศึกษาการใช้งานวัสดุจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1  ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.3  ประเมินจากรายงานและการนำเสนอ ผลการค้นคว้าข้อมูล ปัญหาทางวิศวกรรมหรือโจทย์จาก Problem – Based Learning
2.3.4  ประเมินผลงานที่มอบหมายและนำเสนอจากการวิเคราะห์ข้อมูลกรณีศึกษา
2.3.5  ประเมินจากการรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
3.1.1   พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2   พัฒนาความสามารถในการรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและ            ความต้องการด้านวัสดุ
3.1.3   พัฒนาสามารถในการคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาการใช้วัสดุด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.5   พัฒนาความสามารถการสืบค้นข้อมูลด้านวัสดุและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2 วิธีการสอน
3.2.1  การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้ฝึกคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้านวัสดุและการนำเสนอผลงาน
3.2.2  มอบหมายรายงานกลุ่มรวมถึงอภิปรายและวิเคราะห์กรณีศึกษา ด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัสดุ
3.2.3  ฝึกวิเคราะห์กรณีศึกษาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผลการศึกษา
3.2.5  มอบหมายงานสืบค้นด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1  วัดผลจากการประเมินโครงงานและการนำเสนอผลงาน
3.3.2  ประเมินจากรายงานการอภิปรายผลและการนำเสนอ
3.3.3  ประเมินจากการนำเสนองานที่เมอบหมายจากกรณีศึกษา
3.3.5 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาและวิธีการรวมถึงปริมาณแหล่งสืบค้นข้อมูล
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.4  พัฒนาบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5  พัฒนาจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.4  มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยีวัสดุสำหรับงานวิศวกรรมหรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาหรือการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัสดุทางวิศวกรรม
4.2.5  จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อรณรงค์การใช้วัสดุที่ความปลอดภัยต่อการทำงานและสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำเสนอการจัดบอร์ด
4.3.4  ประเมินตนเองและเพื่อนร่วมกลุ่ม ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนดและการสอบถามหน้าชั้นเรียนรายบุคคล
4.3.5  ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.2  พัฒนาทักษะมีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.4  พัฒนาทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.2 วิธีการสอน
5.2.2  มอบหมายงานด้านการคำนวณเชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับงานที่เกี่ยวข้องเช่นหลักกลศาสตร์ของวัสดุสำหรับการประยุกต์ใช้วัสดุในงานวิศวกรรม หลักการคำนวณหาคุณสมบัติทางกลของวัสดุ เป็นต้น
5.2.4  มอบหมายรายงานและการนำเสนอจากหลักการของวัสดุ งานวิจัยหรือกรณีศึกษา
วิธีการประเมินผล
5.3.2  ประเมินจากการนำเสนอ ผลการทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.4  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
-
-
-
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3, 2.5 2.1, 2.4 3.1, 3.2, 3.3, 3.5 4.4, 4.5 5.2, 5.4 1.2,1.5 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาควิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมายการเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 4 9 12 18 ตลอดภาคการศึกษา 10% 25% 10% 25% 20% 10%
ผศ.ณรงค์ศักดิ์ ธรรมโชติ.(2552). วัสดุวิศวกรรม:(พิมพ์ครั้งที่2) กรุงเทพฯ:บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด
มานพ  ตันตระบัณฑิตย์.วัสดุวิศวกรรม. กรุงเทพ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย – ญี่ปุ่น).2545
-
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น วัสดุเชิงประกอบ คำอธิบายศัพท์
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
         การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
         ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3. การปรับปรุงการสอน
         หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
         ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
         จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ