เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม

Engineering Economics

เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมประกอบการตัดสินใจ ด้วยการใช้ปัจจัยเชิงปริมาณและปัจจัยเชิงคุณภาพ
ศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม สูตรการคำนวณมูลค่าเทียบเท่าและดอกเบี้ย อัตราผลตอบแทน การประเมินผลโครงการและกระแสเงินสด ค่าเสื่อมราคา ภาษี และ กรณีศึกษาจากโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ 1.1.1  มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตามลําดับความสําคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความ เป็นมนุษย์ 1.1.3  สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.2.1  กําหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้น เรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 1.2.2  สอดแทรกและส่งเสริมให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทํางานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นํากลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม 1.2.3  สอดแทรกและส่งเสริมให้นักศึกษามีความซื่อสัตย์โดยต้อง ไม่กระทําการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น 1.2.4  สอดแทรก เรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน 1.2.5  ยกย่องนักศึกษาที่ทําดี ทําประโยชน์แก่ส่วนรวมมีความเสียสละ
1.3.1  ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกําหนด ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 1.3.2  ประเมินจากปริมาณการกระทําทุจริตในการสอบและความซื่อสัตย์สุจริตในการทํางานที่ได้รับมอบหมาย 1.3.3  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 1.3.5  ประเมินจากการอภิปรายในห้องเรียนเกี่ยวกับประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
2.1.1    มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมอาหาร
2.1.2    มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สําคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
2.1.3    สามารถบูรณาการความรู้ด้านการวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4    สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้ เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5    สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบทั้งการบรรยาย อภิปราย การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรียนรู้และฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน เพื่อประมวลผลความรู้จากการรับฟังในภาคบรรยาย การแก้ปัญหาโจทย์การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าโจทย์ปัญหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี โดยการนำมาสรุปและนำเสนอด้วยการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1  การทดสอบย่อย ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีด้านการวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร 2.3.2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีด้านการวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร 2.3.3  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทํา โดยเนื้อหาในรายงานเกี่ยวกับการใช้ความรู้ด้านการวางแผนและควบคุมการผลิตที่นำไปการประยุกต์ใช้ในการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงการบูรณาการความรู้กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.3.4  ประเมินจากการนําเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1.1  คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ 3.1.2  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  3.1.3  สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านการวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาได้ อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายในรูปแบบ Active learning และ Problem Based Learning และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) โดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษาการวิเคราะห์ ทักษะการคิด มีการทบทวนบทเรียน และการทำแบบฝึกหัด มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่างๆโดยใช้กรณีศึกษา เพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง และใช้การยกตัวอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงประกอบการสอน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดด้วยตนเอง และแสดงความคิดในการเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา มอบหมายแบบฝึกหัดให้นักศึกษาทำประจำสัปดาห์ตามหัวข้อต่างๆ
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการทำรายงานและนำเสนอรายงานในชั้นเรียนที่เกี่ยวกับความรู้ที่ศึกษา การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่างๆ ทั้งในสถานการณ์จริงในสถานประกอบการ ประเมินจากการตอบปัญหาและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม รวมถึงประเมินจากการสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค โดยเป็นการสอบแบบข้อเขียนที่มีการแสดงถึงทักษะกระบวนการทางความคิด การวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ศึกษานั้นมาตอบคำถามที่แปรผันได้
4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่ เหมาะสม 4.1.2  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและ ส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งใน บทบาทผู้นําและผู้ร่วมทีมทํางาน 4.1.3  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับ ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.4  รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคล และงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถ วางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
ใช้การสอนที่มีการกําหนดกิจกรรมให้มีการทํางานเป็นกลุ่ม การทํางานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น ข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังใน ผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้ 4.2.1  สามารถทํางานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.2.2  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย 4.2.3  สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้อย่างดี 4.2.4  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป 4.2.5  มีภาวะผู้นําและผู้ตาม
4.3.1  ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนําเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน 4.3.2  ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกของนักศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมกลุ่ม 4.3.2  ประเมินจากความรับผิดชอบจากการรายงานส่วนบุคคลและรายงานกลุ่ม ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 4.3.3  ให้นักศึกษาประเมินความสัมพันธ์สมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
5.1.1  สามารถใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สําหรับการทํางานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี  5.1.2  มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์  5.1.3  มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้ สัญลักษณ์ 5.1.4  สามารถนําเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็น ทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
5.2.1  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จําลอง และ สถานการณ์เสมือนจริง โดยมีการใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ สถิติประยุกต์ และการใช้คอมพิวเตอร์ มาช่วยในการเรียนรู้ และนําเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม 5.2.2  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหา เช่น ข้อมูลจากเว็บไซต์หรือสื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 5.2.3  มอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยมุ่งเน้นให้มีการนำเทคนิคการสืบค้น เพื่อทำรายงานและหาแหล่งข้อมูลในทางที่แม่นยำและถูกต้อง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน เช่น การใช้ power point และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2  ประเมินจากเทคนิคการนําเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี สารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง 5.3.3  ประเมินจากการสุ่มหาเอกสารอ้างอิงจากการที่ผู้เรียนทำรายงานมาส่งได้ 5.3.4  ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจํากัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนําเสนอต่อชั้นเรียน
6.1.1  มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ  6.1.2  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอด ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 6.1.3  มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้ที่เรียนมาทำการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย โดยให้ความสําคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
6.3.1  สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก 6.3.2  พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย 6.3.3  พิจารณาจากแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในโครงงานที่ได้รับมอบหมาย ใน รูปแบบของรายงาน ชิ้นงาน และสื่อต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 3 1 2 3 4 5 1 2 2 3 1 2 3 1
1 ENGFI212 เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 9 และ 17 60%
2 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย งานที่มอบหมายระหว่างเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม 8 และ 16 35%
3 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 4. ทักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-17 5%
Brigham & Ehrhardt / Financial Management
 
Finance for Executives: Managing for Value Creation / Hawawini and Viallet
Management / Richard L. Daft
Operation Management / Nickel Slack et al
เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม / วันชัย ริจิรวนิช และ ชอุ่ม พลอยมีค่า
Project Management: A Managerial Approch/ Jack R. Meredith and Samuel J. Mantel
Management and Organisational behaviour / Laurie J. Mullins.
Logistic and Supply Chain Management: Creating Value-Adding Networks / Martin Christopher
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
ากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 มีการปรับปรุงการสอน โดยทำการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน โดยการสัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ