เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มปศุสัตว์

Livestock Management Technology

1. เข้าใจสถานการณ์และแนวโน้มการผลิตปศุสัตว์ในยุคปัจจุบัน
2. เข้าใจการจัดการข้อมูลสารสนเทศในฟาร์ม การบริหารงบประมาณ และต้นทุนการผลิต
3. สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตผลิตปศุสัตว์ได้
4. รู้จักการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่ม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญา ประสบการณ์ ในการนำความรู้ ความเข้าใจในใช้เทคโนโลยีในการจัดการฟาร์มปศุสัตว์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้สอนได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและหรือยกตัวอย่างประกอบที่ทันสมัย หลากหลายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันในทุกภาคเรียน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ สถานการณ์และแนวโน้มการผลิตปศุสัตว์ในยุคปัจจุบัน การจัดการข้อมูลสารสนเทศในฟาร์ม การบริหารงบประมาณและต้นทุนการผลิต การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตปศุสัตว์ เทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่ม
3 ชั่วโมง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2
1 BSCAG206 เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มปศุสัตว์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฎิบัติในทางส่งเสริมความดี และคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์ สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสันติ มีระเบียบวินัยและเคารพกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ สังเกตพฤติกรรม พิจารณาจากความรับผิดชอบส่งผลงานได้ตรงเวลา คุณภาพผลงานเป็นไปตามที่กำหนด และไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น โดยไม่มีการอ้างอิง ทุกสัปดาห์ ๑๐
2 มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพ (พืชศาสตร์/สัตวศาสตร์/ประมง) ที่เรียนอย่างถ่องแท้ และเป็นระบบทั้งหลักการ ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ในหลายสาขาวิชา และสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม การทดสอบความรู้ - การตอบคำถามในชั้นเรียน - การสอบย่อย - การสอบกลางภาค - การสอบปลายภาค ๙ และ ๑๘ ๕๐
3 มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม ความสามารในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือนำมาสร้างองค์ความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิค วิธีและกระบวนการในการเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนในการใช้ทักษะทางปัญญาในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ องค์ความรู้ต่างๆ ของผู้เรียน การแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ ทุกสัปดาห์ ๑๐
4 กล้าแสดงออก กล้าหาญ หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับ และสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคมสิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสาไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ บทบาทการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การให้ความร่วมมือกับกลุ่ม และการเรียนรู้ทุกรูปแบบ ทุกสัปดาห์ ๑๐
5 ความสามารถในการสื่อสารภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการ อ่าน พูด ฟัง และเขียน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสื่อสาร และค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิจารณาจากผลงานการค้นคว้า และการนำเสนอผลงาน ด้วยการใช้สื่อ และ เทคโนโลยีในการจัดเตรียมและนำเสนออย่างเหมาะสม การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ การนำข้อมูลและสานสนเทศ มาประกอบการวิเคราะห์ สัเคราะห์ และตัดสินใจ ในกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม ทุกสัปดาห์ ๒๐
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรม ทั้งในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการ เรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้ง โดยสาขาวิชา/หลักสูตร จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา หรือวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสม
อาจารย์ผู้สอนนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะ ทั้งจากนักศึกษาและกรรมการประเมิน มาพิจารณาทำการปรับปรุง/แก้ไข และใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาถัดไป
มีการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน เพื่อหารือปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน การเรียนรู้ของ นักศึกษา และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบ และระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบ ของสาขาวิชา ภายในกรอบเวลาหลักสูตร
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมิน การสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขาวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอน รับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการ ปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนา ปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป