คอมพิวเตอร์สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์

Computer for Product Design

เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบเขียนแบบและสร้างโมเดล
ผลิตภัณฑ์ แล้วนำเสนอผลงานในลักษณะ 2 มิติและ 3 มิติได้อย่างถูกต้องตามหลักการและทฤษฎีเบื้องต้น  โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ ในเรียนการสอนดังนี้

โปรแกรม Sketch up ในการร่างแบบโมเดลต่าง ๆ โปรแกรม Sketch up + V-ray ในการสร้างโมเดลเสมือนจริงต่าง ๆ และนำเสนอผลงาน 3 มิติ ในลักษณะภาพเคลื่อนไหว นำเสนอผลงาน 3 มิติ ในลักษณะภาพเคลื่อนไหว ด้วยโปรแกรมสำเร็จ เช่น 5D Render, Enscape, Twin Motion เป็นต้น
นักศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะฝีมือในการสร้างโมเดลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพ 3 มิติ สามารถนำไปประยุกต์ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือประกอบการงานออกแบบในสาขาต่างๆได้
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปนำเสนอผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ในลักษณะสื่อมัลติมีเดีย และสื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ และปฏิบัติเกี่ยวกับ หลักการทำงานและการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ประกอบการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิกแต่ละประเภท กระบวนการออกแบบสร้างสรรค์และ การนำเสนองาน กระบวนการคิดวิเคราะห์ การวางแผนงาน
อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานของนักศึกษาผ่านทางเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการและนัดหมายล่วงหน้า)
- มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- เคารพและให้เกียรติความคิดและความรู้ของบุคคลอื่น ๆ และมีความซื่อสัตย์สุจริต ต่อตนเองและผู้อื่น
- มีความอดทนอดกลั้น สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไม่มีอคติในการทำงาน โดยสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้
- มีการตกลงกับนักศึกษาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษาถึงระเบียบการเข้าเรียนในระบบ Online การค้นคว้าและการส่งงานและมีการตรวจสอบการเข้าเรียนของนักศึกษาทุกสัปดาห์
- มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเกี่ยวกับการสร้างงานโมเดลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเทคนิควิธีการต่างๆเพิ่มเติม โดยระบุให้มีการอ้างอิงในรายงานดังกล่าว และมีการประเมินผลโดยผู้สอนเป็นระยะ
- อาจารย์ผู้สอนมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของความซื่อสัตย์ ให้เกียรติความคิดและความรู้รวมถึงผลงานของผู้อื่น และมองเห็นว่าการเคารพตัวเองที่มีคุณค่ามากกว่าแค่ผลคะแนนที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติ และมีการมอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม
ปฏิบัติและดำเนินการตามกฎข้อบังคับที่ได้ตกลงร่วมกัน
- ตรวจสอบพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
- มีการตรวจสอบและแนะนำในการศึกษา ที่เน้นการสร้างสรรค์งานและการประเมินผลการทำงานระบบทีม โดยให้นิสิตมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานระบบทีม
- ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างภาพ 3 มิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพ 3 มิติด้วยคอมพิวเตอร์
- ทักษะในการประยุกต์ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติต่างๆในการสร้างสรรค์งานออกแบบต่างๆ
- การบรรยาย Online จากวีดีทัศน์ เว็บไซต์  การสาธิต สื่อการสอน การทำรายงานเป็นกลุ่ม  การทำงานประจำสัปดาห์ และนำเสนอโครงการสรุปปลายเทอม
- ทดสอบย่อยภาคทฤษฏีและปฏิบัติกลางภาคเรียน การตรวจงานประจำสัปดาห์  การตรวจรายงาน และการนำเสนองานโครงการปลายภาคเรียน
- การคิดวิเคราะห์ในการประยุกต์ใช้เครื่องมือในโปรแกรมและวิธีการขึ้นรูปโมเดลมาสร้างสรรค์งานขึ้นรูปด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
-  การนำเสนอผลงานในลักษณะสามมิติ ที่มีความคิดสร้างสรรค์เหมาะสมกับชิ้นงานที่ผลิต
- การบรรยาย Online จากวีดีทัศน์ เว็บไซต์  การสาธิต สื่อการสอน การทำรายงานเป็นกลุ่ม  การทำงานประจำสัปดาห์ และนำเสนอโครงการสรุปปลายเทอม
- ทดสอบย่อยกลางภาคเรียน การตรวจงานประจำสัปดาห์  การตรวจรายงาน และการนำเสนองาน  โครงการปลายภาคเรียน
- ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
- ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และการแก้ปัญหาในการทำงานเป็นกลุ่ม 
- ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
- บรรยายพร้อมสาธิตตัวอย่างประกอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่ละสัปดาห์
- มอบหมายโครงการปลายภาคเรียนโดยให้ทำงานเป็นกลุ่ม
- การตรวจสอบพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานได้ตรงตามขอบเขต และเวลาที่กำหนดไว้ในระบบ Online
- การประเมินผลการงานทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมิน
- ทักษะในการนำเสนอผลงาน  ทั้งในด้านชาร์ตนำเสนอ  และเอนิเมชั่น
- มอบหมายให้มีการทำงานในชั้นเรียนแต่ละสัปดาห์ การเขียนรายงาน และศึกษาค้นคว้านอกเวลาเรียน  การปรึกษากันภายในกลุ่มในเรื่องของโครงการ
- ประเมินผลด้วยการนำเสนอด้วยการพูด  การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ในระบบ Online
- ฝึกปฏิบัติการสร้างโมเดลประเภทต่างๆ ด้วยเครื่องมือในโปรแกรมสำเร็จรูป
- การประยุกต์ใช้เครื่องมือประเภทต่างๆเพื่อขึ้นรูปโมเดลที่ได้ออกแบบไว้
- การการประยุกต์ใช้เครื่องมือประเภทต่างๆเพื่อกำหนดวัสดุให้โมเดลที่ได้ออกแบบไว้
- การการประยุกต์ใช้เครื่องมือประเภทต่างๆเพื่อกำหนดสภาพแวดล้อมให้โมเดลที่ได้ออกแบบไว้
- การการประยุกต์ใช้เครื่องมือประเภทต่างๆเพื่อกำหนดแสง-เงาให้โมเดลที่ได้ออกแบบไว้
- การการประยุกต์ใช้เครื่องมือประเภทต่างๆเพื่อแสดงภาพเคลื่อนไหวในการนำเสนอโมเดลที่ได้ออกแบบไว้
- สาธิตหน้าชั้นเรียน Online ศึกษาจากเว็บไซต์ สื่อการสอน และการศึกษาด้วยตนเอง
- มอบหมายงานประจำรายสัปดาห์
- มอบหมายโครงการสรุปปลายภาคการศึกษา
- ประเมินด้วยการนำเสนอของนักศึกษาตามแบบประเมินที่กำหนดไว้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทาง ปัญญา 4.ทักษะความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคล. และความรับผิดชอบระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะการพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 43023352 คอมพิวเตอร์สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1(1), 1(2) การเข้าเรียนและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การสังเกตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ความซื่อสัตย์ในการทำงานและการอ้างอิง 2-16 10
2 2(2), 2(4) 4(2), 4(3) ผลงานรายบุคคล / ผลงานกลุ่ม (แบบฝึกหัด / เอกสาร / รายงาน/ โครงงาน) 2-16 50
3 5(1), 5(2) 6(1), 6(2) การนำเสนอ (วาจาและสื่อ) 2-16 20
4 2(2), 2(4) 3(3), 3(4) การสอบข้อเขียน (สอบกลางภาค สอบปลายภาค) 9,17 20
-
          เทียนชัย ตั้งพรประเสริฐ. องค์ประกอบศิลป์ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง จำกัด, 2542.
          บัณฑิต จุลาสัย. จุด เส้น ระนาบ ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
          เลอสม สถาปิตานนท์. What is design? การออกแบบคืออะไร?. กรุงเทพมหานคร :
          ณัฐพงศ์ วณิชชัยกิจ.After Effects CS6 Essential.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ไอดีซี พรีเมียร์, 2556
          จุฑามาศ จิวะสังข์.สร้างสรรค์เอฟเฟ็กต์และตกแต่งงานวิดีโอ After Effects CS6 .กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ซิมพลิฟาย , 2556
          จุฑามาศ จิวะสังข์.Premiere Pro CS6 สำหรับผู้เริ่มต้น.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ซิมพลิฟาย , 2556
          ธันยพัฒน์ วงค์รัตน์.คู่มือการใช้งาน Premiere Pro CS6.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ สวัสดีไอที จำกัด, 2556
          Jun Sakurada (ซากุระดะ จุน).Basic InfoGraphic.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ พรีเมียร์, 2558
          มนัสสินี ล่าสันเทียะ. Workshop Illustrator CS6 Graphic Design.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ซิมพลิฟาย , 2556
          ปิยะบุตร  สุทธิดารา.3ds Max 6 basic.นนทบุรี:ไอดีซี,2547
          ปิยะบุตร  สุทธิดารา.3ds Max 4.กรุงเทพฯ:อินโฟเฟรส,2544
          จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง.Computer Aided for Industrial Design.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2541
          พูนศักดิ์ ธนพันธ์.เจาะลึก 3D Studio Max Animation Workshop.กรุงเทพฯ:เอส พี ซี พริ้นติ้ง,2544
-
ให้นักศึกษาประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในประเด็นต่อไปนี้
1.1    ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้

ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน

1.2    ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้

ความรู้ความสามารถโดยรวม และประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรายวิชานี้ ความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชานี้ ข้อเสนอแนะอื่นๆ
ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหรืออาจารย์ที่ได้รับมอบหมาย ดำเนินการดังต่อไปนี้
2.1    ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ 1
2.2    สุ่มสังเกตการสอนและประเมินการจัดการเรียนการสอน(โดยเพื่อนอาจารย์) ในประเด็นต่อไปนี้

ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความรู้ความสามารถทางวิชาการในหัวข้อที่สอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน

2.3    ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเองในประเด็นต่อไปนี้

ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
สาขาวิชออกแบบอุตสาหกรรม มีกลไกและวิธีการปรับปรุงการเรียนการสอนดังนี้
3.1    ให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละหัวข้อบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการสอนที่สมควรนำเสนอให้พิจารณารวมทั้งสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในแต่ละคาบการสอน
3.2    ประชุม / สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนสำหรับปีการศึกษาต่อไปโดยอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้

ผลการศึกษาของนักศึกษา ผลการประเมินประสิทธผลของรายวิชาโดยนักศึกษา ผลการประเมินการสอน บันทึกของกลุ่มอาจารย์ผู้สอน
สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ดังนี้

การสุ่มสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการทวนสอบระดับหลักสูตร การประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายใน/ภายนอก
เมื่อสิ้นสุดทุกปีการศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะจัดประชุม / ติดต่อขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ร่วมสอน รวมทั้งพิจารณาสรุปผลการประเมินการสอน ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา  เพื่อกำหนดประเด็นที่เห็นสมควรจัดให้มีการปรับปรุงในการศึกษาต่อไป ทั้งเนื้อหา ลำดับการสอน วิธีการสอนและการประเมินผล