การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู 1

Professional Experience 1

เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ตรงจาการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ จะทำให้นักศึกษาได้รับความรู้และมีประสบการณ์ที่พร้อมจะเข้าสู่ในสาขาวิชาชีพของตนเองได้
เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และเป็นการจัดให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมดและสามารถประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ และเป็นการเพิ่มพูนความรู้จากประสบการณ์ตรง และทำให้นิสิตสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อสำเร็จการศึกษา
          ปฏิบัติการสอนเพื่อรับประสบการณ์วิชาชีพครู โดยฝึกทักษะและความสามารถในรูปแบบของการ บูรณาการการสอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติการวางแผนการสอน การเลือกยุทธวิธีการสอน การเลือกใช้และผลิตวัสดุช่วยสอน ตลอดจนเทคนิคการแก้ไขปัญหาขณะทำการสอนและตรวจงานของผู้เรียน การวัดและประเมินผลและนำผลมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตลอดจนการบันทึกและการรายงานผลการจัดการเรียนรู้ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมฝึกสอนและสถานฝึกสอน การปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมของความเป็นครูฝึกสอนกับผู้เรียน และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถานฝึกสอน โดยอยู่ภายใต้การควบคุมและแนะนำจากอาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยง
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่คณาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการให้คำปรึกษาแก่นิสิตในช่วงเวลาที่นิเทศการสอน และอนุญาตนิสิตเข้าพบเพื่อให้คำปรึกษาได้ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา  ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้
                           2.1.1.1    มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
                           2.1.1.2    มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
                           2.1.1.3    มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
                           2.1.1.4    เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ ผู้สอนต้องสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่
                           2.1.3.1    ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
                           2.1.3.2    ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
                           2.1.3.3    ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
                           2.1.3.4    ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
                           2.1.3.5    ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้น           เป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
                         2.2.1.1    มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
                           2.2.1.2    สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา       
                           2.2.1.3    สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชา              นั้น ๆ
การทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลในรายวิชาที่เรียนทั้งการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดระยะเวลาของหลักสูตร โดยใช้การวัดผล ดังนี้
                    2.2.3.1   การทดสอบย่อย
                           2.2.3.2    การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
                           2.2.3.3    ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
                           2.2.3.4    ประเมินจากโครงงานที่นำเสนอ
                           2.2.3.5    ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
                           2.2.3.6    ประเมินจากรายวิชาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
 
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล  เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา  แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
                           2.3.3.1    มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
                               2.3.3.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning)  มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆโดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาของแต่ละสาขาวิชาชีพเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้องและเน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง
การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
                           2.3.3.1    บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
                           2.3.3.2    การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่างๆ
                           2.3.3.3    การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
                           2.3.3.4    การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องทำงานร่วมกับคนที่มาจากหลายที่ มีความแตกต่างกันทางแนวคิด วัฒนธรรม สถาบันการศึกษา และเชื้อชาติ ซึ่งอาจเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง นักศึกษาจึงต้องได้รับการฝึกประสบการณ์พื่อเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ  ดังนั้นผู้สอนต้องแนะนำการวางตัว  มารยาทในการเข้าสังคม และทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้
                           2.4.1.1    มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
                           2.4.1.2    มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                           2.4.1.3    สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
                           2.4.1.4    สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ดำเนินการสอนโดยการกำหนดกิจกรรมกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในงานอาชีพ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
                           2.4.2.1    สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
                           2.4.2.2    มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
                           2.4.2.3    สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
                           2.4.2.4    มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
                           2.4.2.5    มีภาวะผู้นำและผู้ตาม
                           2.4.2.6    มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย  และสามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน   และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น
                           2.4.3.1    พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
                           2.4.3.2    พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน  การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาชีพ ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้
                           2.5.1.1    สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
                           2.5.1.2    สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 
                           2.5.1.3    สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข        การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
                           2.5.2.1    ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
                           2.5.2.2    ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
                           2.5.2.3    ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
                           2.5.2.4    ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
                           2.5.3.1    ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
                           2.5.3.2    ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
                           2.5.3.3    ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
                           2.5.3.4    จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
                           2.6.1.1    มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                           2.6.1.2    สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนใด้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้เป็นอย่างเหมาะสม
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
                           2.6.2.1    สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
                           2.6.2.2    สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
                           2.6.2.3    สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
                           2.6.2.4    จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
                           2.6.2.5    สนับสนุนการทำโครงงาน
                           2.6.2.6    การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
2.6.3.1  มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
                           2.6.3.2    มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
                           2.6.3.3    มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
                           2.6.3.4    มีการประเมินโครงงานนักศึกษา
                           2.6.3.5    มีการประเมินนักศึกษาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขฯ ุ6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 30022506 การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครูจากอาจารย์ประจำวิชา / อาจารย์พี่เลี้ยง / ผู้บริหาร (แบบประเมินผลการสอน สำหรับอาจารย์พี่เลี้ยง/ผู้บริหาร) 40
2 ประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครูจากอาจารย์นิเทศ คะแนนจากการนิเทศ (คู่มือการนิเทศการสอน) 25
3 คะแนนจากผลงาน (โครงการสอน หนังสือเรียบเรียงทฤษฏี หนังสือเรียบเรียงปฏิบัติพร้อมคู่มือ วิจัยในชั้นเรียน การจัดสัมมนาปลายภาคเรียน) 25
4 ประเมินจากผู้เรียน (แบบประเมินผลการสอน สำหรับนักศึกษา) 10
      1. จำเนียร   ศิลปวานิช ;  หลักและวิธีการสอน    กรุงเทพฯ ;  เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์   พิมพ์ครั้งที่ 3
              2541 ,   303  หน้า
      2. ฉวีวรรณ   รมยานนท์ ;  เอกสารประกอบการสอนการพัฒนาวัสดุช่วยสอนทางวิศวกรรม   ภาควิชา
               ครุศาสตร์อุตสาหกรรม   สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  ม.ป.ป  ,  80  หน้า
      3 บุญเรือน   พึ่งผลพลู ผศ. ; เอกสารประกอบการสอน การวัดผลและการประเมินผลการศึกษา ตาก:
                สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  วิทยาเขตตาก   2540 ,   181  หน้า
     4. ประกันคุณภาพการศึกษา สนง. ; เอกสารประกันคุณภาพการศึกษา FM 06  สถาบันเทคโนโลยี              ราชมงคล
                 วิทยาเขตตาก  2545 ,  30  หน้า  
     5. ปิยศักดิ์   ตัณฑ์เจริญรัตน์ ; เอกสารประกอบการสอนหลักการอาชีวะและเทคนิคศึกษา  ตาก:   สถาบัน
                 เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตตาก  2546 ,  77  หน้า  
     6. วัฒนา   ผลทวี ;  เทคโนโลยีทางการศึกษา   โรงพิมพ์ประสิทธ์การพิมพ์  ตาก  2538 ,  450  หน้า
ไม่มี
เอกสารหลักสูตรของอาชีวศึกษา
อาจารย์พี่เลี้ยงต้องศึกษาวิธีการการประเมิน และปรึกษากับอาจารย์นิเทศก์เพื่อร่วมกันประเมินผลการสอนของผู้ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู และรวบรวมคะแนนส่งให้กับหัวหน้าสาขาวิชาของผู้ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อการประมวลผลเป็นค่าระดับคะแนนต่อไป
ปรึกษาหารือกับอาจารย์นิเทศ อาจารย์พี่เลี้ยง เพื่อประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู และประเมินผลปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครูของผู้ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครูในความดูแลตามที่ระบุไว้ในเอกสารการนิเทศ
 
       (1)  การสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู ของผู้ปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู จากคณะผู้บริหารสถานศึกษาแต่ละแห่ง
               (2)   รวบรวมผลการประเมินทั้งหมดเพื่อนำมาคิดค่าระดับคะแนน
การตอบแบบประเมินผล การประชุมสัมมนาหลังการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู อาจารย์พี่เลี้ยงหรือสถานศึกษา

  (1)  นิเทศ และประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู ทั้งการสอน และการปฏิบัติงานครูอื่นๆ ในแบบฟอร์มที่กำหนด
     (2)  การประชุมสัมมนาอาจารย์พี่เลี้ยงหลังการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อประเมินผลการปฏิบัติและการจัดการการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
1.3  อาจารย์นิเทศก์ 
   (1)  นิเทศ และประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู ทั้งการสอน และการปฏิบัติงานครูอื่นๆ ในแบบฟอร์มที่กำหนด
     (2)  การประชุมสัมมนาอาจารย์พี่เลี้ยงหลังการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อประเมินผลการปฏิบัติและการจัดการการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
นิเทศติดตามผลและสอบถามจากครูพี่เลี้ยง คะแนนรวมจากการฝึกประสบการณ์ในปีการศึกษานั้น
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ