การวิเคราะห์เปรียบเทียบภาษาอังกฤษและภาษาไทย

Contrastive Analysis of English and Thai

เพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจในหลักการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาษา และมีทักษะในการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาษาอังกฤษและภาษาไทย เพื่อประยุกต์ใช้ความรู้ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับบริบททางสังคม
เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจความแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาไทย ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อการใช้ภาษาและการสื่อสาร เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ในสังคม
การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างด้านระบบเสียง คำ โครงสร้าง และความหมาย ระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาไทย นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนและการสื่อสาร
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
         1.2.1    ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
         1.2.2    กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.1   การเข้าเรียนตรงเวลา
1.3.2    การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3    การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาของรายวิชา
         2.1.1    ด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา เน้นความรู้ความเข้าใจในหลักการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์ ความแตกต่างระหว่างระบบต่าง ๆ ของภาษาอังกฤษและภาษาไทย ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อการใช้ภาษาในบริบทต่าง ๆ
         2.1.2    ด้านการนำความรู้ทางการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาษา ไปบูรณาการกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับบริบท
          ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
          2.2.1    ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
         2.2.2    ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชั้นเรียน
         2.2.3    ให้นักศึกษาได้ศึกษาจากกรณีศึกษา บทความวิชาการ งานวิจัย ตัวอย่างต่าง ๆ ทางด้านการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาษา
2.3.1   การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
2.3.2    การวิเคราะห์กรณีศึกษา บทความวิชาการ ตัวอย่างต่าง ๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.3.3    ผลงานจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในการปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นที่ทักษะด้าน
         3.1.1    การประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาษาอังกฤษและภาษาไทย
         3.1.2    ทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และบริบท
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1    ให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์และเปรียบเทียบองค์ประกอบต่าง ๆ ของภาษาอังกฤษและภาษาไทย ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย
3.2.2    ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อแสดงความคิดเห็นตามสถานการณ์เฉพาะที่กำหนด จากนั้นอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะให้แก่กัน
3.3.1   การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
3.3.2    การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
3.3.3    การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มี
         4.1.1    มนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียน
         4.1.2    ความสามารถในการทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และช่วยกันระดมสมองในการฝึกวิเคราะห์เปรียบเทียบภาษา
4.3.1   ให้นักศึกษาประเมินกันเองในกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2    ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม
4.3.3    สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาษา
กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-5 สอบกลางภาค 9 25%
2 หน่วยที่ 6-8 สอบปลายภาค 17 25%
3 หน่วยที่ 1-8 ทดสอบย่อย / แบบฝึกหัด / กิจกรรม / งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
4 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
ไม่มี
เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาษาอังกฤษและภาษาไทย
นววรรณ พันธุเมธา.2525. ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: [ม.ป.พ.] Crystal, David. 2004. Discover Grammar. 9th ed. London: Longman. Gramly, Stephen. 2002. A Survey of Modern English. 2nd ed. New York: Routledge. Higbie, James. 2003. Thai Reference Grammar: The Structure of Spoken Thai. Bangkok: Orchid Press. Iwasaki, Shoichi and Preeya Ingkaphirom. 2005. A Reference Grammar of Thai. UK: Cambridge University Press. Kuiper, Koenraad and W. Scott Allan. 2004. An Introduction to English Language: Word, Sound and Sentence. 2nd ed.  New York: Palgrave. Lado, Robert. 1983. Procedures in Comparing Two Grammatical Structures. Second Language Learning, Ann Arbor: The University of Michigan Press. p.15-19. Leech, Geoffrey and Jan Svartvik. 2007. A Communicative Grammar of English. New Delhi: Pearson Education. Natong, Vidhaya. 1986. Contrastive Analysis of English and Thai. Bangkok: Ramkamhaeng University Press. Wardhaugh, R. 1983. The Contrastive Analysis Hypothesis. In B.W. Robinett & J. Schachter (Eds.), Contrastive Analysis, Error Analysis, and Related Aspects (pp. 8-14). Ann Arbor: The University of Michigan Press. Young, D. J. 1980. The Structure of English Clauses. London: Hutchinson.Introduction to Tutoring ESL Students. Retrieved April 26, 2005 from www. wooster.edu/writing-center/tutores.html เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาศาสตร์
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
          1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
          2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
          2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
          2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
          3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
          4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
          4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
          5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
          5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์