วิศวกรรมโรงงานผลิตกำลัง

Power Plant Engineering

1.1 เข้าใจแนวคิดและหลักการการเปลี่ยนรูปพลังงาน
1.2 เข้าใจวิธีการวิเคราะห์เชื้อเพลิงและการเผาไหม้แบบต่าง ๆ
1.3 รู้และเข้าใจหลักการทำงานและโครงสร้างส่วนประกอบของโรงงานผลิตกำลังจากกังหันไอน้ำ กังหันแก๊ส และเครื่องยนต์สันดาปภายใน พลังงานน้ำ พลังงานนิวเคลียร์
1.4 รู้และเข้าใจวัฏจักรร่วมและการผลิตพลังงานร่วม
1.5 รู้และเข้าใจหลักการวัดและการควบคุมโรงงานผลิตกำลัง
1.6 รู้และเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ของโรงงานผลิตกำลัง
1.7 ศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโรงงานผลิตกำลัง
เพื่อปรับปรุงรายวิชาให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการการเปลี่ยนรูปพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์เชื้อเพลิงและการเผาไหม้ องค์ประกอบของโรงงานผลิตกำลัง กังหันไอน้า กังหันแก๊ส และเครื่องยนต์สันดาปภายใน วัฏจักรร่วมและการผลิตพลังงานร่วม โรงงานผลิตกำลังจากพลังงานน้ำ พลังงานนิวเคลียร์ การวัดและการควบคุม เศรษฐศาสตร์โรงงานผลิตกำลัง และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ อย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา  รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ ขององค์กรและสังคม 
1.1.2 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม 
1.1.3 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ   และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบ
              1.2.1 การตรวจสอบเวลาการเข้าเรียน กำหนดให้เข้าเรียนตรงต่อเวลา
              1.2.2 ให้งานทำเป็นกลุ่มเพื่อฝึกความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ
              1.2.3 แจ้งผลการการสอบ และยกย่องผู้ที่มีคะแนนสูง และแนะนำผู้ที่มีคะแนนต่ำ เพื่อแก้ไขให้ได้คะแนนเพิ่มมากขึ้น
              1.2.4 ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1 ประเมินจากการเวลาการเข้าเรียน การส่งงานตามกำหนดเวลาที่มอบหมาย
1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.3 ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
1.3.4 พฤติกรรมการเรียนและการสอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน  วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการ สร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม 
2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีที่เหมาะสม  รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 
2.1.4 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 บรรยายหลักการและทฤษฎี พร้อมทั้งยกตัวอย่างการคำนวณและการประยุกต์ใช้จริง
2.2.2 มอบหมายงานที่มีลักษณะคล้ายงานที่เกิดขึ้นจริง โดยนำหลักการที่เรียนไปประยุกต์กับงานวิจัย
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการบ้าน และงานที่ได้รับมอบหมาย
2.3.3 การสอบย่อย
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 
3.1.2 สามารถรวบรวม  ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
3.1.4 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ 
3.2.1 บรรยายหลักการและทฤษฎี พร้อมทั้งยกตัวอย่างการคำนวณและการประยุกต์ใช้จริง
3.2.2 มอบหมายงาน ให้มีการศึกษานอกห้องเรียน ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร เพื่อตรวจสอบกระบวนการคิด-วิเคราะห์
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้งาน
3.3.2 การบ้าน และงานที่มอบหมาย
4.1.1 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 
4.1.2 รู้จักบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม   สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ    สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 
4.2.1 ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงออก โดยมีการซัก-ถาม อภิปรายโจทก์ปัญหาที่ยกตัวอย่าง
4.2.2 การถาม-ตอบในระหว่างเรียน เพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
4.2.3 มอบหมายงาน ให้มีการศึกษานอกห้องเรียน ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร เป็นงานที่ทำเป็นหมู่คณะ
4.3.1 ประเมินพฤติกรรมภาวะผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2 ติดตามการทำงานร่วมกับผู้อื่น พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
4.3.3 ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้ อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 
5.1.2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 
5.1.3 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ 
5.2.1 ให้การบ้านหรือรายงานที่มีการค้นคว้า โดยระบุแหล่งที่มาของข้อมูลดังกล่าว
5.2.2 มอบหมายงาน เพื่อฝึกหัดคำนวณด้วยเครื่องมือทางวิศวกรรม ได้แก่ เครื่องคิดเลข และตารางต่าง ๆ
5.3.1 ประเมินจากความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ
5.3.2 ความถูกต้องของข้อมูลจากการบ้านและรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
1 ENGME165 วิศวกรรมโรงงานผลิตกำลัง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. เข้าใจเศรษฐศาสตร์ของการผลิตไฟฟ้า 2. รู้จักเชื้อเพลิง 3. เข้าใจพื้นฐานการเผาไหม้ สอบกลางภาค 8 30%
2 1. รู้และเข้าใจเครื่องกังหันไอน้ำ 2. เข้าใจระบบน้ำป้อนและน้ำหล่อเย็น สอบปลายภาค 17 30
3 เข้าใจเทอร์โมไดนามิกส์ของโรงไฟฟ้าพลังความร้อน สอบย่อย 10 20 %
4 เข้าใจเกี่ยวกับโรงไฟฟ้า การส่งการบ้านและรายงานตามที่มอบหมาย ทุกสัปดาห์ 20
5 เข้าเรียนตรงต่อเวลา ทุกสัปดาห์ การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10 %
วิศวกรรมโรงไฟฟ้า, ศ.ดร.สมชาติ ฉันทศิริวรรณ, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554, 316 หน้า
ไม่มี
3.1 Power plant engineering, Black and Veatch, 1996, Springer Science and Business Media, 879 หน้า
3.2 Power plant engineering, A.K. Raja, Amit P. Srivastava , และ Manish Dwivedi 468 หน้า , New Age International (P) Ltd., 2006
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ประเมินจากแบบประเมินรายวิชา และแบบประเมินผู้ สอน
2.2 ประเมินจากผลการสอบและการเรียนรู้ของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ