การเขียนความเรียง

Essay Writing

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนความเรียงชนิดต่างๆ โดยเขียนโครงร่าง จัดลำดับเนื้อหา คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป พัฒนางานเขียนโดยใช้ทักษะในการ ถอดความ สรุปความ เรียบเรียง และการอ้างอิงแหล่งข้อมูล
2.1 นำผลการประเมินรายวิชาจากครั้งก่อน (ภาค 1/2562) มาปรับปรุงในแต่ละด้าน ดังนี้
      ด้านการสอน

เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น ซักถามและมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน (4.0)

ปรับปรุง โดยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และกำหนดหัวข้อตามความสนใจของตนเอง
                ด้านการประเมิน

มีการประเมินผลงานนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ แจ้งผลสอบให้ทราบและได้ชี้แจงปรับปรุง (3.8)

ปรับปรุง โดยชี้แจงเกณฑ์ในการประเมินผลงานล่วงหน้า และนำผลการทะแบบฝึกหัดและ
งานมอบหมายมาแจ้งให้ทราบในชั้นเรียน พร้อมทั้งแนวทางปรับปรุงผลงานให้นักศึกษาทราบอย่างสม่ำเสมอ
2.2  นำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงชนิดต่างๆ โดยเขียนโครงร่าง จัดลำดับเนื้อหา คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป พัฒนางานเขียนโดยใช้ทักษะในการ ถอดความ สรุปความ เรียบเรียง และการอ้างอิงแหล่งข้อมูล
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- สร้างชั้นเรียนใน Microsoft Teams เพื่อเป็นช่องทางการสอนออนไลน์ ทบทวน และติดต่อกับนักศึกษา และเป็นพื้นที่สำหรับให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงงานมอบหมายต่าง ๆ
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่
1. มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบ ต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม (ความรับผิดชอบรอง 1.1)
2. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล องค์กร และสังคมจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร (ความรับผิดชอบรอง 1.6)
1.2.1    เสริมสร้างความมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม และความตรงต่อเวลา โดยกำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาและสม่ำเสมอ รวมถึงการส่งงานตรงตามกำหนดเวลา
1.2.2    เสริมสร้างความตระหนักในผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม รวมถึงความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคมส่วนรวมให้กับนักศึกษา โดยให้นักศึกษาใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า โดยไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
1.3.1 ความมีวินัยและความขยัน วัดจากความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน ความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด
1.3.2 ความตระหนักในผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อบุคคล องค์กร และสังคม วัดจากการทำงานมอบหมายและการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ โดยเน้นให้นักศึกษา
2.1.1    มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่ สำคัญในเนื้อหาของรายวิชา สามารถบูรณาการความรู้ในรายวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตาม ความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง (ความรับผิดชอบหลัก 2.1)
2.1.2    มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา และการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน (ความรับผิดชอบหลัก 2.2)
ยึดหลักการเรียนการสอนแบบ active learning โดย
2.2.1    ให้ความรู้แก่นักศึกษา แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2    มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอและถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียน
2.2.3    ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.1    ความรู้ด้านทฤษฎี วัดจากกิจกรรม / การสอบกลางภาค / การสอบปลายภาค
2.3.2    ความรู้ด้านการปฏิบัติ วัดจากผลงานการเขียนความเรียงที่มอบหมาย
 
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้จากสิ่งที่เรียน โดยมุ่งเน้นที่ทักษะด้าน
3.1.1    การสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์อย่างเหมาะสมด้วยตนเอง (ความรับผิดชอบหลัก 3.1)
3.1.2    การคิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากรายวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์ เพื่อใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคม (ความรับผิดชอบหลัก 3.3)
ยึดหลักการเน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยใช้งานเป็นฐาน (Task-based learning)
3.2.1    ให้นักศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในความเรียง
3.2.2    ให้นักศึกษาฝึกทักษะการสรุปความ และนำมาประยุกต์ใช้ในความเรียง
3.2.3    ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียง
3.3.1 แบบฝึกปฏิบัติ / การสอบกลางภาค / การสอบปลายภาค
3.3.2 ผลงานการเขียนความเรียงที่มอบหมาย
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (ความรับผิดชอบรอง 4.4)
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่องานเขียนที่นำมาเป็นตัวอย่าง และงานเขียนของตนเองและของเพื่อนร่วมชั้น เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน
สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจ และการมีส่วนรวมของนักศึกษาในกิจกรรมกลุ่ม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบัน ต่อการทำงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ความรับผิดชอบรอง 5.4)
แนะนำเทคนิควิธีการ และกำหนดให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าข้อมูล เพื่อนำมาเขียนความเรียง
ประเมินจากผลงานการเขียนความเรียงและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในรายวิชาที่ศึกษา มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง  (ความรับผิดชอบหลัก 6.2)
สอดแทรกการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน เช่น การคิดวิเคราะห์ การรู้เท่าทันสารสนเทศ การค้นคว้าวิจัย การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
ประเมินจากผลงานการเขียนความเรียง และการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 3 4 5 6 1 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC117 การเขียนความเรียง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 การเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1, 3.1 การสอบกลางภาค 8 15%
3 2.1, 3.1 การสอบปลายภาค 17 15%
4 2.1, 3.1 แบบฝึกปฏิบัติ 2-6, 9-15 20%
5 1.6, 2.2, 3.3,4.4,5.4,6.2 ผลงานการเขียนความเรียง 4-16 40%
ไม่มี
เอกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนความเรียง
Anker, S. 2010. Real Writing: Paragraphs and Essays for College, Work an Everyday Life. Fifth edition. New York: Bedford/St. Martin’s. Blanchard, K. and Root, C. 1994. Ready to Write: A First Composition Text. New York: Addison-Wesley Publishing Company. Blanchard, K. and Root, C. 1997. Ready to Write More: From Paragraph to Essay. New York: Addison-Wesley Publishing Company. Connelly, R. 2013. Get Writing: Paragraphs and Essays. 3rd ed. Boston: Wadsworth, Cengage Learning. Davis, Jason & Lies, Rhonda. 2006. Effective Writing 3. New York: Oxford University Press. Folse, K. S. and Pugh, T. 2007. Greater Essays. USA: Thomson Heinle. Greetham, B. 2001. How to Write Better Essays. New York: Palgrave. Ingram, B and King, C. 2004. From Writing to Composing. Cambridge: CUP. Robitaille, J & Connelly, R. 2007. Writer’s Resources: From Paragraph to Essay. 2nd ed. Boston: Thomson Higher Education. Savage, A. and Mayer, P. 2005. Effective Writing 2. New York: Oxford University Press. Taylor, G. 2009. A Student’s Writing Guide: How to Plan and Write Successful Essays. Cambridge: Cambridge University Press. Veit, R., Gould, C. and Clifford, J. 2001. Writing, Reading and Research. 5th ed. USA: Allyn & Bacon (Longman). Wyrick, J. 2005. Steps to Writing Well. 9th ed. USA: Thomson Wadsworth. Zemach, D. E. and Rumisek, L. A. 2003. College Writing: From Paragraph to Essay. Oxford. Macmillan Publishers Limited. เว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนความเรียง และข้อมูลที่นักศึกษาสนใจ

 
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
๒.1 ข้อเสนอแนะจากกรรมการผู้ตรวจประเมินรายวิชา
2.2 ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
3.1 นำผลการประเมินจากภาคเรียนที่ผ่านมา และข้อเสนอแนะจากการทวนสอบรายวิชา มาดำเนินการปรับปรุงเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน ลักษณะของงานมอบหมาย สื่อประกอบการเรียนการสอน แบบฝึกปฏิบัติ และข้อสอบกลางภาค-ปลายภาค
3.2 รวมถึงการนำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
4.1 ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
4.2 ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา และข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
4.3 หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4