พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว

Tourist Behavior

เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในองค์ประกอบพื้นฐานของงานบริการมีความรู้ความเข้าใจตระหนัก และสำนึกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในงานบริการและธุรกิจท่องเที่ยว
เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ
พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวโดยจำแนกภูมิภาคของโลก แรงจูงใจในการเดินทาง วัตถุประสงค์การเดินทางการท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยวที่จำแนกตามกลุ่ม ประเภทและความต้องการของนักท่องเที่ยว  องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อพฤติกรรมที่แตกต่างกันทางสังคม วัฒนธรรมและศาสนา
ตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1 มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.2 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ 1.3 มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดีและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการพัฒนามีภาวะผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น 1.4 มีวินัยในการทำงาน และปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.2.1 ปฏิบัติกิจกรรมตามสถานการณ์ และบทบาทสมมุติแล้วอภิปรายถึงแนวคิด ข้อคิดที่สร้างความเข้าใจชีวิต เข้าใจคน และเข้าใจธรรมชาติ และการปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสมและสันติ 1.2.2 อภิปรายกลุ่มทั้งกลุ่มเฉพาะ และกลุ่มใหญ่ 1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาหากรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์ตามศาสตร์และทฤษฎีที่เรียนพร้อมกับแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
1.3.1 พิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา 1.3.2 พิจารณาจากการร่วมอภิปรายที่มีเหตุผลถูกต้อง เหมาะสม และสร้างสรรค์ 1.3.3 ประเมินผลการนำเสนอกรณีศึกษาที่มอบหมาย
2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการโรงแรมทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก 2.2 มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.3 มีความรู้ในกระบวนการ และเทคนิคการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ในงานอาชีพ
2.2.1 บรรยายประกอบการยกตัวอย่าง 2.2.2 อภิปรายหลังการทำกิจกรรม เกม หรือสถานการณ์จำลอง 2.2.3 การทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการค้นคว้า 2.2.4 การวิเคราะห์กรณีศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีต่างๆ ที่เรียน 2.2.5 การศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – based Learning)
2.3.1  ทดสอบกลางภาคและปลายภาค 2.3.2  ประเมินผลจากการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
3.1 มีความสามารถประมวลและศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และความขัดแย้ง รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก 3.2 มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ในการฝึก ประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม 3.3 มีความสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ และจากศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานให้เกิดประสิทธิผล
3.2.1 ร่วมกิจกรรม เกม บทบาทสมมุติแล้วอภิปรายกลุ่ม พร้อมกับรายงานทั้งด้านวาจาและการเขียน และมีการทัศนศึกษานอกสถานที่ 3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค 3.3.2 พิจารณาจากการนำเสนอรายบุคคลและรายกลุ่ม
4.1 มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และ บทบาทของตนในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ ผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม 4.2 มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง และตรงตามมาตรฐานสากล
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.2 มอบหมายงานทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล 4.2.3 วิเคราะห์เหตุการณ์ บ้านเมือง สังคม ข่าว ในงานการมีปฏิสัมพันธ์
4.3.1 นักศึกษาประเมินผลตนเองและเพื่อนด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด เกี่ยวกับการวิเคราะห์กรณีศึกษา ข่าว เหตุการณ์ 4.3.2 ประเมินผลการรายงานที่นักศึกษานำเสนอ 4.3.3 ประเมินผลจากการอภิปรายกลุ่ม
5.1 มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2 มีความสามารถในการสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม 5.3 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่อง และผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.4 มีความสามารถในการใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในการประมวลการแปลความหมาย และการวิเคราะห์ข้อมูล
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทางเว็บไซต์ แล้ววิเคราะห์พร้อมกับนำเสนอ ทั้งแบบบรรยาย พร้อมกับบอกแหล่งอ้างอิง และทัศนศึกษานอกสถานที่ 5.2.2 นำเสนอผลการศึกษาข้อมูล พร้อมการวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย หลังจากฟังการนำเสนอผลการศึกษาของเพื่อน 5.3.2 ประเมินจากรายงานการเขียน และการนำเสนอผลงานในรูปของเทคโนโลยี
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 3.2 1.1,1.2 การมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 20%
2 5.1,5.2 การค้นคว้าด้วยตนเอง 6,15 10%
3 1.3,1.4 4.1,4.2 การอภิปรายกลุ่ม ทุกสัปดาห์ 40%
4 2.1,2.2 การสอบ 8,17 30%
พฤติกรรมนักท่องเที่ยว ผู้แต่ง ดร. รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์ พฤติกรรมนักท่องเที่ยว ผู้แต่ง เลิศพร ภาระสกุล พฤติกรรมนักท่องเที่ยว ผู้แต่ง วชิราภรณ์ โลหะชาละ
พฤติกรรมนักท่องเที่ยว ผู้แต่ง รองศาสตราจารย์บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา
1.ในวันแรกของการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจถึงการปรับปรุงรายวิชานี้จากการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ผ่านมา และประโยชน์จากข้อคิดเห็นของนักศึกษาต่อการพัฒนารายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนารายวิชาในช่วงปลายของภาคการศึกษา 2.ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล-คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้ 3.ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการเรียนการสอน และการพัฒนารายวิชาผ่านระบบการประเมิน online ของมหาวิทยาลัย
 
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนด้วยตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษา ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
1.การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป 2.การวิเคราะห์ในชั้นเรียน เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และวิธีการฝึกปฏิบัตินอกสถานที่ 3.การปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัยและเหมาะสมกับรุ่นต่อไป
 
1.ให้อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ   2.เปรียบเทียบการให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อในรายวิชา ตามเกณฑ์ที่กำหนด   3.สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามในข้อสอบจากผู้ใช้บัณฑิต เพื่อปรับมาตรฐานข้อสอบ
 
1.นำข้อคิดเห็นของนักศึกษาจากข้อ 1 มาประมวล เพื่อจัดกลุ่มเนื้อหาความรู้ที่ต้องปรับปรุง วิธีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และรูปแบบของการศึกษาการปฏิบัติงานนอกสถานที่ ผลจากการประมวลจะนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป 2.นำผลการประเมินการสอนของตนเองจากข้อ 2 มาจัดกลุ่มเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังสอบมาตรฐาน