โครงงานนวัตกรรมวิศวกรรมอาหาร 1

Food Innovation Engineering Practice 1

มุ่งเน้นการสร้างให้เกิดการรับรู้ปัญหาจริงจากผู้ใช้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ ชี้ปัญหา กำหนดปัญหา ในทางวิศวกรรมการผลิตอาหาร ผ่านการเก็บข้อมูลจากอุตสาหกรรมจริงได้ The phase of conceiving which the student should be able to identify and define real food industry problems with creative thinking (design thinking).
 
เพื่อให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ของหลักสูตรและปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยมีการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองควบคู่ไปกับการเรียนในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนตลอดจนให้นักศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์  ชี้ปัญหา และกำหนดปัญหา ในทางวิศวกรรมการผลิตอาหาร ผ่านการเก็บข้อมูลจากอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบการจริงได้ มุ่งเน้นการสร้างให้เกิดการรับรู้ปัญหาจริง ให้สอดคล้องกับทฤษฎีในเนื้อหาวิชา โครงงานนวัตกรรมวิศวกรรมอาหาร 1 (ENGFI113)
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการในทุกวันอังคาร 10.00-12.00 น.)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย ตรงต่อเวลา รู้จักหน้าที่และบทบาทของตน  มีความซื่อสัตย์ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเคารพต่อกฎระเบียบข้อปฏิบัติต่าง
1.2.1    ให้ความรู้โดยการสอดแทรกเนื้อหาในการปฏิบัติการต่างๆ 1.2.2    ให้ผู้เรียนทำปฏิบัติการเป็นกลุ่มๆละ 2-3 คน และมีการอภิปรายกลุ่มและนำเสนอผลงาน 1.2.3    การประพฤติตนที่เหมาะสมไม่เบียดเบียนผู้เรียนคนอื่นในขณะที่ทำปฏิบัติการ 1.2.4    การตรงเวลา การแต่งกาย การมีวินัยในห้องปฏิบัติการ การรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.1    พฤติกรรมในขณะทำปฏิบัติการและการส่งงานที่ตรงตามเวลาที่กำหนด 1.3.2    ประเมินผลจากงานของนักศึกษา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3    ประเมินผลการนำเสนองานที่มอบหมาย 1.3.4    การตรงต่อเวลาและการแต่งกายที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการ
กระบวนการ Design Thinking” หรือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ เป็นกระบวนการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ มี 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ (1) การเข้าใจปัญหาให้ถูกต้อง การใช้เวลาทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง (2) การคิดแบบไม่มีกรอบ (Brainstorm) ถึงแม้ว่าการเข้าใจปัญหาอย่างถูกต้อง อุปสรรคสำคัญที่ทำให้นวัตกรรมใหม่ๆ ไม่เกิด คือ กรอบความคิดของมนุษย์ และ (3) การเรียนรู้ผ่านการทดลองลงมือทำ (Prototype) ถึงแม้ว่าจะได้ไอเดียดีๆ จำนวนมาก ซึ่งบ่อยครั้ง “คิด” แต่ไม่ “ลงมือทำ” ซึ่งสิ่งสำคัญอีกข้อของกระบวนการ Design Thinking คือการเปลี่ยนไอเดียดีๆ ให้ “เป็นรูปธรรม” ด้วยการสร้างต้นแบบ หรือแบบจำลองง่ายๆ ที่สื่อสารแนวคิด การสร้างต้นแบบ
2.2.1    มีการบรรยายแนะนําขั้นตอนที่สำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาตามโจทย์ ที่ผู้สอนมอบให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ซักถามก่อนเข้าร่วมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำปฏิบัติงานด้วยความเข้าใจและมีความผิดพลาดน้อยที่สุด 2.2.1    หลังจากทำการวิเคราะห์ปัญหาและส่งงานแก่อาจารย์ผู้สอนแล้ว จะมีการนำเสนองานที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ที่ทำในวันนั้น เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจยิ่งขึ้นและสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวเองได้จากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่
2.3.1    มีการตรวจผลการทำงานของนักศึกษาที่มอบหมายในสัปดาห์ก่อนหน้า และการสอบถามปากเปล่าหลังเนื้อหาที่ผู้สอนได้ถ่ายทอดในคาบเรียนนั้นๆ เพื่อประเมินว่าผู้เรียนมีความเข้าใจในลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์งานนั้นๆ 2.3.2    รายงานในการนำเสนอผลงานของกลุ่ม 2.3.3    การนำเสนองาน และส่งงาน Mini Project (Prototype) ของการแก้ปัญหาจากโจทย์ที่นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ได้รับมอบหมาย 2.3.4    การสอบกลางภาคและปลายภาคด้วยข้อสอบ (Take Home) ที่เน้นการประเมินวิธีการคิดตามขั้นตอนของการวิเคราะห์งานที่จัดเรียงเป็นระบบ
พัฒนาความสามารถในการนำความรู้มาคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ หรือวิชาชีพและสามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.2.1    ทำการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นระเบียบ 3.2.2    การเขียนรายงาน นำเสนองานด้วยตนเองและงานกลุ่ม 3.2.3    เน้นให้ผู้เรียนคิดด้วยตนเองและรู้จักวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการวิเคราะห์ ปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหา จากโจทย์ที่ผู้สอนได้มอบหมายให้วิเคราะห์ 3.2.5    ให้ทำงานกลุ่มช่วยกันแก้ไขโจทย์ปัญหาตามกรณีที่กำหนด
3.3.1    เน้นการทดสอบแบบการปฏิบัติ โดยมีโจทย์ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และเลือกใช้วิธีการหรือแนวทางปฏิบัติต่างๆในการหาคำตอบอย่างเหมาะสม 3.3.2    การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาที่สะท้อนการดำเนินชีวิตของนักศึกษามากที่สุด อาทิเช่น ความต้องการของนักศึกษา และบุคลากร ที่สิ่งอำนวยการ (Facilitate) ต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย   3.3.3    วัดผลจากการนำเสนอผลการแก้ปัญหาโดยใช้ Prototype ชิ้นงานในการนำเสนอ หรือ รูปแบบการนำเสนอแบบอื่นๆ
4.1.1    พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนด้วยกัน  4.1.2    พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3    พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
4.2.1    การทำปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม การแบ่งงานกันภายในกลุ่ม 4.2.2    การใช้และรับผิดชอบอุปกรณ์ในการเรียน (Stationary) ร่วมกับผู้อื่น 4.2.3    ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลบางส่วน เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา 4.2.4    มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มในการวิเคราะห์ปัญหาตามโจทย์ที่ผู้สอนมอบหมาย เพื่อให้ทำงานกับบุคคลที่หลากหลายมากขึ้น
4.3.1    พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมในระหว่างการทำงานกลุ่ม 4.3.2    ประเมินจากการนำเสนอผลการวิเคราะห์และแก้ปัญหา ตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย
5.1.1    ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการแก้โจทย์ปัญหา 5.1.2    พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน โดยการทำรายงานนำเสนอ 5.1.3    ทักษะในการนำเสนอรายงาน โดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1    มีการวิเคราะห์และคำนวณที่ฝึกทักษะการวิเคราะห์เชิงสถิติอย่างง่าย 5.2.2    นำข้อมูลบางส่วนมาอภิปรายร่วมกันกับผู้เรียนและผู้สอน 5.2.3    มีการเลือกใช้รูปแบบสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการนำเสนอ
5.3.1    ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2    ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 20% 20%
2 1-5 การส่งงานตามที่มอบหมาย การทำงานกลุ่มและผลงาน Mini Project 1-18 1-18 15-17 15% 15% 20%
3 1-5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-18 10%
Behavioural Design Lab. (2016). Approach — Behavioural Design Lab. [online] Available at: http://www.behaviouraldesignlab.org/work/approach/ [Accessed 13 Mar. 2016]. Brown, T. (2009). Change by Design. New York, HarperCollins Publisher. d.school. (2016). Welcome to the Virtual Crash Course in Design Thinking. [online] Available at: http://dschool.stanford.edu/dgift/ [Accessed 13 Mar. 2016]. Designthinking.co.nz. (2016). Design Thinking » Design Thinking for Execs. [online] Available at: http://designthinking.co.nz/design-thinking-for-execs/ [Accessed 13 Mar. 2016]. Simon, H.A., (1969). The sciences of the artificial. Cambridge, MA. TCDC (2016). TCDC : Design Thinking for Creative Business [เก็บตกเวิร์คชอป]. [online] TCDC. Available at: http://www.tcdc.or.th/articles/design-creativity/20302/#Design-Thinking-for-Creative-Business-[เก็บตกเวิร์คชอป] [Accessed 13 Mar. 2016]. UCLA Extension. (2016). Design Thinking | UCLA Extension Visual Arts. [online] Visual.uclaextension.edu. Available at: http://visual.uclaextension.edu/category/design-thinking/ [Accessed 13 Mar. 2016].
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1      การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2      แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3      ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1      การสังเกตพฤติกรรมจากการทำปฏิบัติงานของนักศึกษา 2.2      การสรุปผลการปฏิบัติงาน 2.3      การนำเสนอผลงาน เพื่อตรวจสอบกระบวนการคิดที่เป็นระบบของนักศึกษา 2.4      ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1      ปรับรูปแบบของงานที่มอบหมายให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา 3.2      การเก็บข้อมูล เพื่อทำการวิจัยในชั้นเรียน 3.3      นำผลการประเมินการสอน เพื่อใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนในภาคเรียนต่อไป ให้ดียิ่งขึ้นไป
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจสอบรายงานผลปฏิบัติการ เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณางานที่มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ ต่อความเข้าใจของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1      ปรับปรุงรายวิชาทุกภาคเรียน หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2      ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอน ให้มีความหลากหลาย 5.3      แสวงหานิทรรศการ หรือการประชุมวิชาการ ที่เกี่ยวเนื่องกับรายวิชา เพื่อเปิดโลกทัศน์ และเพิ่มพูนความรู้ของผู้สอน รวมไปถึงจัดตารางให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการศึกษาดูงาน หรือทัศนศึกษาในอุตสาหกรรมอาหาร หรือนิทรรศการที่เกี่ยวข้อง 5.4      นำข้อคิดเห็นจากการประเมินโดยผู้เรียน เพื่อทบทวนการจัดการสอนของผู้สอน เพื่อจัดเนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม หรือสร้างกิจกรรมในการถ่ายทอดที่เหมาะสม ผลจากการวิเคราะห์ จะนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป