การโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่

Mobile Devices Programming

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการ ในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
1.1  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนภาษาที่ใช้พัฒนาโปรแกรมสําหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้
1.2  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบริหารหน่วยความจําและส่วนบันทึกข้อมูลสำหรับโปรแกรมอุปกรณเคลื่อนที่ได้
1.3  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือและออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ได้เหมาะสมกับงาน
1.4  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมสําหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อติดต่อสื่อสารกับระบบภายนอก และเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
-
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการเขียนภาษาที่ใช้พัฒนาโปรแกรมสําหรับ อุปกรณ์เคลื่อนที่ การบริหารหน่วยความจําและส่วนบันทึกข้อมูล เครื่องมือและการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ การสื่อสารกับระบบภายนอก การเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
อาจารย์ประจำรายวิชาให้ e-mail เป็นช่องทางในการให้คำปรึกษา อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. ตระหนักในคุณค่าและ คุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และ ความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นําและ ผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีมและ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและ ลําดับความสําคัญ
4. เคารพสิทธิและรับฟังความ คิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพใน คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์
5. เคารพกฎระเบียบและ ข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและ สังคม
6. สามารถวิเคราะห์ ผลกระทบจากการใช้ คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและ สังคม
7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ
การสอนแบบบรรยายพร้อมยกตัวอย่างและฝึกปฏิบัติงาน เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม มอบหมายงานกลุ่มที่เสริมสร้างการวางแผนการทำงาน การทำงานเป็นทีม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย เน้นการเข้าห้องเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายให้ถูกระเบียบของมหาวิทยาลัย มีความซื่อสัตย์โดยไม่ทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านหรือผลงานของผู้อื่น สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการสอนในรายวิชา
พิจารณาจากการส่งงานของนักศึกษาทั้งงานกลุ่มและเป็นรายบุคคลที่เป็นแบบฝึกหัดและงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา การนำเสนองาน การสังเกตพฤติกรรม การเข้าห้องเรียน การแต่งกายถูกระเบียบของมหาวิทยาลัยและการทำงานเป็นกลุ่ม
1. มีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการเเละทฤษฎีที่ สําคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการ ทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ ความรู้ทักษะ และการใช้ เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไข ปัญหา
3. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/ หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยี สารสนเทศให้ตรงตามข้อกําหนด
4. สามารถติดตาม ความก้าวหน้าและวิวัฒนาการ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนําไปประยุกต์
5. รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนา ความรู้ ความชํานาญทาง คอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
6. มีความรู้ในแนวกว้างของ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และ เข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยี ใหม่ๆ
7. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
8. สามารถบูรณาการความรู้ ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง
การสอนแบบบรรยายและฝึกปฏิบัติ ที่ครอบคลุมเนื้อหาทางทฤษฎีและปฏิบัติทั้งหมดในรายวิชาโดยใช้สื่อประกอบการสอน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาพร้อมให้นักศึกษา วิเคราะห์ปัญหา ร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็น ให้นักศึกษาสืบค้นหาข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชาในชั่วโมงเรียน
ประเมินผลจากแบบทดสอบ การสอบลางภาคและปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นทฤษฎีและปฏิบัติ ประเมินผลจากแบบฝึกหัดและงานที่ได้รับมอบหมาย ประเมินจากการทำรายงานและการนำเสนอ
1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
2. สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อให้ ในการแก้ไขปัญหาอย่าง
3. สามารถรวบรวมศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
4. สามารถประยุกต์ความรู้ และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
การสอนแบบบรรยายและฝึกปฏิบัติ ที่ครอบคลุมเนื้อหาทางทฤษฎีและปฏิบัติ การมอบหมายให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม นำเสนอผลการศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามเพื่อแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษากับนักศึกษา
ประเมินผลจากแบบทดสอบ การสอบกลางภาคและปลายภาคด้วยข้อสอบที่เป็นทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ประเมินจากการทำรายงานและการนำเสนอ สังเกตพฤติกรรมในการแก้ไขปัญหา
1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกเเก่การ แก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นํา หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทํางาน
3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นําสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4. มีความรับผิดชอบในการกระทําของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
5. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
6. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
มอบหมายงานกลุ่มงานรายบุคคล และการนำเสนอรายงาน
ประเมินการเข้าชั้นเรียนและการตรงต่อเวลาของนักศึกษา ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือ ที่จําเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทํางานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2. สามารถแนะนําประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
3. สามารถสื่อสารอย่างมี ประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนําเสนออย่างเหมาะสม
4. สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่ออย่างเหมาะสม
-   การนำเสนองาน
-   การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินจากรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อทางเทคโนโลยี
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านทักษะคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BSCCT504 การโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1-2.8 สอบกลางภาค 9 25%
2 2.1-2.8 สอบปลายภาค 17 25%
3 1.2, 1.6, 4.1-4.6, 5.1-5.4 ค้นคว้า การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 2.1-2.8, 3.1-3.4 สอบปฏิบัติการเขียนโปรแกรม 14 15%
5 3.1-3.4, 4.1-4.6, 5.1-5.4 การนำเสนอรายงานเดี่ยวและงานกลุ่ม การทำงานกลุ่ม 16 15%
6 1.1-1.7 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
-   พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร, คู่มือเขียนแอพ Android ด้วย Android Studio, กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2558.
-   พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร, คู่มือเขียนแอพ Android ฉบับรวมโค้ด (ปรับปรุงใหม่), กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2557.
-   สุพจน์ สง่ากอง. พัฒนา mobile app ด้วย Android Studio. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : รีไวว่า, 2562.
-   ไทยครีเอท. Android Tutorials, สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 25, 2561, เว็บไซต์ :  http://www.thaicreate.com/mobile/android.html
-   ธันยพัฒน์ วงศ์รัตน์, คู่มือพัฒนาแอปพลิเคชัน Android ผู้เริ่มต้น. กรุงเทพฯ : บริษัท สวัสดี ไอที จำกัด, 2557.
-   พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร, คู่มือเขียนแอพ Android ฉบับรวมโค้ด (ปรับปรุงใหม่), กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2557.
-   ศุภชัย สมพานิช. คู่มือการเขียนโปรแกรม JAVA สำหับ Android Apps. กรุงเทพฯ : บริษัท สวัสดี ไอที จำกัด, 2559.
-   J. F. DiMarzio. (2017). Beginning Android Programming with Android Studio, ed. 4th, John Wiley & Sons, Inc.
-   เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ด้านวิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการโดย
1.1  แบบประเมินความพึงพอใจการเรียนการสอน โดยฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย 
1.2  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา
2.2   การพิจารณาผลงานที่มอบหมาย
2.3   การขอรับคำปรึกษาและสังเกตการณ์ของผู้สอน
 หลังจากทราบผลการประเมินการสอน จึงมีการปรับปรุงการเรียนการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   รวบรวมปัญหาการเรียนของนักศึกษาและแนวทางแก้ไข โดยพิจารณาจากประเด็นในการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา
3.2   การจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบ และหลังการออกผลการเรียน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1   มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง
4.2   ให้นักศึกษามีโอกาสตรวจสอบคะแนนก่อนรายงานผลการเรียน
ผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  โดยมีการปรับปรุงเนื้อหา ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอนให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป