การบริหารงานวิศวกรรม

Engineering Management

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการจัดการ มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน การเพิ่มผลผลิตทางวิศวกรรม กฎหมายการค้า กฎหมายแรงงาน ความปลอดภัยเบื้องต้น การตัดสินใจสาหรับการผลิต การพยากรณ์ในงานการผลิต การเงิน การตลาดกับงานทางอุตสาหกรรม เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมเบื้องต้น การบริหารโครงการ การบริหารควบคมคุณภาพทั้งระบบการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น
เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ในสภาพปัจจุบันเพื่อผลิตวิศวกรอุตสาหการที่มีความสามารถปฏิบัติงานเฉพาะด้าน มีความรู้ความเข้าใจในงานวิศวกรรม ตั้งแต่การจัดการ การวางแผน การพยากรณ์การผลิต การบริหารโครงการ การเพิ่มผลผลิต การควบคุมคุณภาพ กฎหมายแรงงาน ความปลอดภัย และการศึกษาความเป็นไปได้
ศึกษาเกี่ยวกับ ศึกษาหลักการจัดการ มนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน การเพิ่มผลผลิตทางวิศวกรรม กฎหมายการค้า กฎหมายแรงงาน ความปลอดภัยเบื้องต้น การตัดสินใจสำหรับ การผลิต การพยากรณ์ในงานการผลิต การเงิน–การตลาด กับงานทางอุตสาหกรรม เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมเบื้องต้น การบริหารโครงการ การบริหารควบคุมคุณภาพทั้งระบบการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น
 -    เวลาให้คำปรึกษานักศึกษา หลักเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 16.00-17.00 น
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

คุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยในชีวิต ความสำเร็จทางธุรกิจ ผู้พัฒนา หรือผู้ประยุกต์โปรแกรมจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่ เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ  ได้แก่

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริตเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับ ความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ให้ความสำคัญกำหนดให้นักศึกษาเข้าห้องเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มในการเรียนแต่ละครั้ง

1.2.3 ให้ความสำคัญของคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต ต่อการปฏิบัติงานทางด้านการบริหารงานวิศวกรรม
1.3.1  การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงต่อเวลา
1.3.2  ประเมินการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและงานที่มอบหมาย
1.3.3  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และการกระทำทุจริตใน การสอบ
1.3.4  ประเมินผลจากผลงานของการบริหารงานวิศวกรรม
1.3.5  ประเมินผลจากชิ้นงานที่ได้ปฏิบัติตามที่ได้ทำการออกแบบ
1.3.6  ประเมินจากการแต่งกายให้ตรงตามระเบียบ และ ปฏิบัติตามข้อบังคับของการใช้พื้นที่ปฏิบัติงาน
 
นักศึกษาด้องพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานวิศวกรรมที่ศึกษานั้นเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคมดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
 
2.1.1    พัฒนาความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2    พัฒนาความสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาการบริหารงานวิศวกรรมกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.3    พัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านการบริหารงานวิศวกรรม ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น การเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.2.1     บรรยาย อภิปราย หลักการทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐานวิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ รวมถึงหลักการออกแบบสร้างนวัตกรรม
2.2.2     มอบหมายงานศึกษาและค้นคว้าปัญหาทางด้านการบริหารงานวิศวกรรม และ การผลิตชิ้นงานที่จำเป็นต้องอาศัยหลักการของการบริหารงานวิศวกรรม
2.2.3     ฝึกวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและเลือกใช้วัสดุในการสร้างผลงานด้วยหลักการทางด้านการบริหารงานวิศวกรรม
2.2.4     มอบหมายให้แบ่งกลุ่มหรือเฉพาะบุคคล โดยให้กรณีศึกษาการบริหารงานวิศวกรรม จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.3.1  สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  ประเมินผลจากการออกแบบ ผลจากการค้นคว้าข้อมูล ปัญหาทางด้านการออกแบบ
2.3.3  ประเมินผลจากงานที่มอบหมายและนำเสนอจากการวิเคราะห์ข้อมูลกรณีศึกษา
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในขณะที่สอนนักศึกษา   
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
3.1.1   พัฒนาความสามารถในความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2   พัฒนาความสามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3   พัฒนาความสามารถในด้านของจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.4   พัฒนาความสามารถในด้านของการสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1  ฝึกวิเคราะห์จากกรณีศึกษา ชิ้นงานตัวอย่าง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.2.2  มอบหมายงานสืบค้นด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.2.3  ฝึกการบริหารงานอยู่เป็นประจำ
3.2.4  ฝึกปฏิบัติการบริหารงาน
3.3.1  ประเมินผลจากการวิเคราะห์ด้วยหลักการ พร้อมอธิบายวิธีการใช้งาน ปัญหา แนวทางในการออกแบบ จากกรณีศึกษา ชิ้นงานตัวอย่าง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาและวิธีการรวมถึงปริมาณแหล่งสืบค้นข้อมูล
3.3.3  ประเมินผลจากการออกแบบและงานที่มอบหมายสามารถใช้งานได้จริง
 
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนคนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
4.1.1  พัฒนาบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.2   พัฒนาจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1   ฝึกให้นักศึกษาสามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.2   ฝึกให้นักศึกษาสามารถทำงานได้ตรงตามเวลา มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3   มอบหมายงานการปฏิบัติงานกลุ่มและปฏิบัติงานรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยีทางด้านการบริหารงานวิศวกรรมหรืออ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาหรือการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านการบริหารงานวิศวกรรม
4.2.4   จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อรณรงค์การปฏิบัติงานด้านการบริหารงานวิศวกรรมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการทำงานและสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำเสนอการจัดบอร์ดหรือการที่ให้นักศึกษาปฏิบัติให้ถูกต้อง
4.3.1   นักศึกษาสามารถช่วยเหลือกันในการแก้ไขปัญหาต่างๆและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พยายามช่วยเหลือกันโดยตลอด
4.3.2   ประเมินผลจากการส่งงานได้ตรงตามกำหนด
4.3.3   ประเมินตนเองและเพื่อนร่วมกลุ่ม ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนดและการสอบสัมภาษณ์          การปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล
4.3.4   ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม
 
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายของการบริหารงานวิศวกรรม
5.1.3 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพทางด้านการบริหารงานวิศวกรรม
5.2.1  ฝึกให้นักศึกษาได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาการบริหารงานวิศวกรรม
5.2.2  มอบหมายรายงานและการนำเสนอจากหลักการของการบริหารงานวิศวกรรมหรือกรณีศึกษา
5.2.3  มอบหมายงานด้านการคำนวณเชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับงานที่ เช่น การบริหารงานทางด้านวิศวกรรม
5.3.1  ประเมินผลจากการนำเสนอ การสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.2 ประเมินผลจากงานที่ใช้การบริหารงานวิศวกรรม
5.3.2  ประเมินผลจากการคำนวณตามที่ได้ให้แบบฝึกหัด
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาและกำหนดระยะเวลาในการส่งงาน
6.2.2 การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างถูกวิธีและการบำรุงรักษา
6.3.1 นักศึกษาส่งงานตามระยะเวลาที่กาหนด
6.3.2 มีการกำหนดคะแนนในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 3.1, 3.2, 3.3, 3.4, 3.5, 4.1, 4.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.4, 5.5 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 40%
2 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 3.1, 3.2, 3.3, 3.4, 3.5, 4.1, 4.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.4, 5.5 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดเทอม 15%
3 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 3.1, 3.2, 3.3, 3.4, 3.5, 4.1, 4.3, 4.4, 4.5, 5.1, 5.2, 5.4, 5.5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
1. การบริหารการผลิต, ยุทธ ไกยวรรณ์
2. องค์กรและการจัดการ, นิรมล กิติกุล
3. การจัดการและพฤติกรรมองค์กร, วิรัช สงวนวงศ์วาน
    เอกสารประกอบการสอน PowerPoint
    เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาการบริหารงานวิศวกรรม