อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม

Engineering Electronics

เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาและมีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ คุณลักษณะกระแส-แรงดันและความถี่ของอุปกรณ์ การวิเคราะห์และออกแบบวงจรไดโอด การวิเคราะห์และออกแบบวงจรทรานซิสเตอร์ชนิดสองรอยต่อและแบบมอสออปแอมป์และการประยุกต์ ใช้งาน 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ          อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน เพื่อเป็นรากฐานของการเรียนในวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น วิชาอิเล็กทรอนิกส์กำลัง วิชาวงจรไฟฟ้า และวิชาโครงงานวิศวกรรม เป็นต้น
ศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ คุณลักษณะกระแส-แรงดันและความถี่ของอุปกรณ์ การวิเคราะห์และออกแบบวงจรไดโอด การวิเคราะห์และออกแบบวงจรทรานซิสเตอร์ชนิดสองรอยต่อและแบบมอสออปแอมป์และการประยุกต์ ใช้งาน
- อาจารย์ผู้สอนประกาศช่วงเวลาให้คำปรึกษานอกเวลาคาบสอนปกติในคาบแรกของการสอน - อาจารย์ผู้สอนประกาศช่องทางติดต่อสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ในคาบแรกของการสอน - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายนักศึกษาที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การใช้ความรู้ทางด้านวงจรจรดิจิตอลไปอ่านข้อมูลบัตร ATM ของผู้อื่นเพื่อวัตถุประสงค์ไม่สุจริต  1.2.2 อภิปรายกลุ่ม  1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา  1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม  1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา  1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ 
คุณลักษณะกระแส แรงดัน และความถี่ของอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ การวิเคราะห์และออกแบบวงจรไดโอด การวิเคราะห์และออกแบบวงจรทรานซิสเตอร์ชนิดสองรอยต่อและแบบมอสออปแอมป์และการประยุกต์ ใช้งาน
- บรรยายหลักการพร้อมยกตัวอย่างโดยการฉายสไลด์ขึ้นจอขนาดใหญ่หน้าชั้นเรียน  - ใช้วิธีการสื่อสารสองทางโดยเปิดโอกาสให้ตั้งคำถาม ตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็น  - ให้ทำแบบฝึกหัดตามหัวข้อที่บรรยาย  - ทำรายงานตามหัวข้อที่กำหนด  - ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี  2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลกรณีศึกษา
ให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ โดยสามารถที่จะนาเอาความรู้และวิธีคิดที่ได้รับไป ประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ในการดำเนินชีวิตหรอประกอบวิชาชีพได้
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน 3.2.2   อภิปรายกลุ่ม 3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน 3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆเกี่ยวกับดิจิตอล หรือผู้สอนตั้งโจทย์ปัญหาให้นักศึกษาร่วมมือกันหาทางแก้ไขด้วยความรู้ของวิชาดิจิตอล 4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง 
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 
5.1.1 ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ในการค้นคว้าและติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี 5.1.2 ทักษะการนำเสนอ การอธิบาย การใช้ศัพท์เทคนิคเฉพาะให้บุคคลอื่นเข้าใจได้เป็นอย่างดี 5.1.3  ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการค้นคว้าและติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี
5.2.1 แนะนำหนังสือ เอกสาร และ ข้อมูลอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติมที่เป็น ภาษาอังกฤษพร้อมทั้งมอบหมายงานที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม 5.2.2 มอบหมายงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1-5 สอบกลางภาค ข้อเขียน ใบงานและปฏิบัติ 8 35%
2 บทที่ 6-11 สอบปลายภาค สอบข้อเขียน ใบงานและสอบอปฏิบัติ 18 35%
3 บทที่ 1- 11 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 บทที่ 1-11 จิตพิสับ ได้แก่ การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
Electronic devices / Thomas L. Floyd, Prentice Hall, 2012.
หนังสือทางด้านพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
- E-learning ของสถาบันการศึกษาต่างๆ - Website ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา วิธีการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การตอบคำถาม และการให้ข้อเสนอแนะของนักศึกษา โดยนักศึกษาประเมินผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ดังนี้คือ  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา และการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้คือ สัมมนาการจัดการเรียนการสอน และการวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ