ไมโครคอนโทรลเลอร์และการประยุกต์ใช้

Microcontroller and Applications

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับชนิดของไมโครคอนโทรลเลอร์ สถาปัตยกรรมของไมโครคอนโทรลเลอร์ การบริหารจัดการหน่วยความจำ ชุดคำสั่ง การอินเตอร์รัพต์ การแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิทัล การแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นอนาลอก การสร้างสัญญาณมอดูเลตความกว้างพัลส์ การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เขียนโปรแกรมและจำ ลองการทำ งานด้วยคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุมทางวิศวกรรมไฟฟ้า
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในระบบดิจิทัล เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจ เป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วิชาสื่อสารดิจิทัล วิชาระบบควบคุม วิชาระบบสมองฝังตัวและการประยุกต์ใช้ วิชาโครงงานวิศวกรรม เป็นต้น
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับชนิดของไมโครคอนโทรลเลอร์ สถาปัตยกรรมของไมโครคอนโทรลเลอร์ การบริหารจัดการหน่วยความจำ ชุดคำสั่ง การอินเตอร์รัพต์ การแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิทัล การแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นอนาลอก การสร้างสัญญาณมอดูเลตความกว้างพัลส์ การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เขียนโปรแกรมและจำ ลองการทำ งานด้วยคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุมทางวิศวกรรมไฟฟ้า
- อาจารย์ผู้สอนประกาศช่วงเวลาให้คำปรึกษานอกเวลาคาบสอนปกติในคาบแรกของการสอน
- อาจารย์ผู้สอนประกาศช่องทางติดต่อสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ในคาบแรกของการสอน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายนักศึกษาที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การใช้ความรู้ทางด้านวงจรจรดิจิทัลไปอ่านข้อมูลบัตร ATM ของผู้อื่นเพื่อวัตถุประสงค์ไม่สุจริต
2. อภิปรายกลุ่ม
3. กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
4. กำหนดให้ส่งงานตรงต่อเวลา และตรวจใบงานเพื่อตรวจหาการคัดลอกผลการทดลอง
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
5. ประเมินผลการทดลองและตรวจสอบการคัดลอกใบงาน
ระบบตัวเลขและรหัส การแปลงฐานเลข หน่วยคำนวณด้านคณิตศาสตร์ในระบบดิจิทัล การลดทอนฟังก์ชั่นลอจิก การออกแบบวงจรลอจิกคอมไบเนชั่น การออกแบบวงจรซีเควนเชียล การประยุกต์ใช้วงจรดิจิทัลในงานอุตสาหกรรม
- บรรยายหลักการพร้อมยกตัวอย่างโดยการฉายสไลด์ขึ้นจอขนาดใหญ่หน้าชั้นเรียน
- ใช้วิธีการสื่อสารสองทางโดยเปิดโอกาสให้ตั้งคำถาม ตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็น
- ให้ทำแบบฝึกหัดตามหัวข้อที่บรรยาย
- ทำรายงานตามหัวข้อที่กำหนด
- ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต
- ลงมือปฏิบัติใบงานการทดลอง ตอลคำถามและสรุปผลการทดลอง
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฏีและปฏิบัติ
2. ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลกรณีศึกษา
ให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ โดยสามารถที่จะนาเอาความรู้และวิธีคิดที่ได้รับไป ประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ในการดำเนินชีวิตหรอประกอบวิชาชีพได้
1. การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
2. อภิปรายกลุ่ม
3. วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 5 1 2 3 4 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGEE132 ไมโครคอนโทรลเลอร์และการประยุกต์ใช้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ภาคทฤษฎี สอบกลางภาค, สอบปลายภาค (คะแนนภาควิชาการ) 8, 18 20%, 20%
2 ภาคปฏิบัติ ความถูกต้องของการปฏิบัติใบงาน ผลการวิเคราะห์โจทย์และการทดลอง และการสอบปฏิบัติ (คะแนนภาคปฏิบัติ) ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 ภาคทฤษฎี วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย (คะแนนภาคผลงาน) ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 ภาคทฤษฎี การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน (คะแนนภาคจิตพิสัย) ตลอดภาคการศึกษา 10%
PIC18F Programming กับ MPLAB C18 คอมไพเลอร์
18F4520 Datasheet
-
E-learning ของสถาบันการศึกษาต่างๆ
Website ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา วิธีการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การตอบคำถาม และการให้ข้อเสนอแนะของนักศึกษา โดยนักศึกษาประเมินผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย
การสังเกตการตอนคำถามของนักศึกษาระหว่างคาบเรียน ผลการสอบกลางภาคและปลายภาคเรียนของนักศึกษา และการทดสอบย่อยระหว่างคาบเรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการคำนวนทางสถิติจากข้อสอบกลางภาคและปลายภาคเรียนเพื่อพิจารณาประสิทธิภาพการสอนว่าต้องปรับปรุงการสอนบทไหนหรือหัวข้อใด
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษาและการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ