ศิลปะไทย 1

Thai Art 1

1. ศึกษาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของงานศิลปะไทย  มีทักษะในการร่างภาพจากรูปแบบงานศิลปกรรมไทยในยุคสมัยต่าง ๆ
2. ศึกษารูปแบบงานจิตรกรรมไทย  ตามแนวความคิด คตินิยม เทคนิคเฉพาะและมีทักษะในการร่างภาพตามแบบงานจิตรกรรมไทย
3. ศึกษารูปแบบงานประติมากรรมไทยในยุคสมัยต่างๆและมีทักษะในการร่างภาพตามแบบ
4. ศึกษารูปแบบงานสถาปัตยกรรมไทยและมีทักษะในการร่างภาพตามแบบ
5. ศึกษารูปแบบงานประณีตศิลป์ ลวดลายประดับในงานศิลปกรรมไทยและมีทักษะในการร่างภาพตามแบบ
เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้ เป็นเอกสารการเตรียมและวางแผนการสอนรายวิชา ศิลปะไทย 1 ใช้สำหรับสอนนักศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ กลุ่มวิชาศิลปะไทย ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศึกษาและฝึกปฏิบัติทักษะรูปแบบในงานศิลปะไทย
1.คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะในการร่างภาพในงานศิลปะไทยทั้งจิตรกรรม  ประติมากรรมสถาปัตยกรรม และประณีตศิลป์ ตามแนวความคิด คตินิยม และรูปแบบในห้องปฏิบัติงาน และนอกสถานที่วิจารณ์และแนะนำเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
 
          อาจารย์ผู้สอนจะให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียนจำนวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และสื่อสารให้นักศึกษาได้ทราบกำหนดเวลาล่วงหน้าด้วยระบบออนไลน์ โปรแกรม Microsoft Teams
(1) ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (ความรับผิดชอบหลัก)
(2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น (ไม่มีการประเมิน)
(3) มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ (ความรับผิดชอบรอง)
         
 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินผลจากความสนใจ การเข้าห้องเรียนในระบบออนไลน์ Microsoft Teams อย่างสม่ำเสมอวัดผลช่วง 2 เดือนแรก สัปดาห์ที่ประเมิน 1-8 และความสนใจ การเข้าชั้นเรียนในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ สัปดาห์ที่ประเมิน 10-16
(1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง (ความรับผิดชอบรอง)
(2) มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ (ไม่มีการประเมิน)
(3) มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม (ความรับผิดชอบรอง)
(4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา (ไม่มีการประเมิน)
         
         
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
 วิธีการประเมินผลโดยแบบทดสอบวัดผลด้านความรู้ครบทุกหน่วยเรียนในรายวิชา แบบทดสอบกลางภาคประเมินในสัปดาห์ที่ 9 แบบทดสอบปลายภาคประเมินในสัปดาห์ที่ 18 
(1) สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ (ความรับผิดชอบรอง)
(2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ (ไม่มีการประเมิน)
(3) สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ (ไม่มีการประเมิน)
(4) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน (ไม่มีการประเมิน)
 
 
         
การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล  พร้อมการนำเสนองาน 
ประเมินผลตามหัวข้อใบงานที่ใช้วัดผลด้านทักษะทางปัญญา สัปดาห์ที่ประเมิน 1-8 และ 10-16
(1) มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (ความรับผิดชอบรอง)
(2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ (ความรับผิดชอบหลัก)
(3) สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง (ไม่มีการประเมิน)
         
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม   การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น   การประสานงานกับบุคคลภายนอก   การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
 สังเกตการณ์และประเมินผลภาพรวม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ สัปดาห์ที่ประเมิน 10-16
(1) สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรมและนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไม่มีการประเมิน)
(2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ความรับผิดชอบรอง)
(3) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม (ไม่มีการประเมิน)
           จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ   การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร 
การเข้าสู่ระบบออนไลน์ Microsoft Teams และสามารถโต้ตอบและดำเนินตามกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้ การสืบค้นข้อมูลออนไลน์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ประเมินภาพรวมตลอดภาคการศึกษาที่ 1/2563
(1) มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ (ความรับผิดชอบหลัก)
(2) มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง (ไม่มีการประเมิน)
(3) มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน (ไม่มีการประเมิน)
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและสร้างผลงานตามแนวทางของการฝึกปฏิบัติได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
 ประเมินจากผลงานที่ฝึกปฏิบัติการร่างภาพ การเลือกใช้วัสดุ ผ่านรูปแบบและลักษณะของงานศิลปกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการสร้างสรรค์ สัปดาห์ที่ประเมิน 1-8 และ 10-16
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้คน 1.3 มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ 2.1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 2.2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ 2.3 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตราฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา 3.1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน 3.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ 3.4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภานไหวพริบในการสร้างผลงาน 4.1 มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 4.2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง 5.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และการนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม 6.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 6.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 6.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BFAVA135 ศิลปะไทย 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านทักษะพิสัย ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความรู้ ด้านทักษะพิสัย (การส่งผลงานครั้งที่ 1 - 8) ด้านทักษะทางปัญญา (การส่งผลงานครั้งที่ 1 - 8) ด้านความรู้ (แบบทดสอบกลางภาค) ด้านทักษะพิสัย 1 - 8 ด้านทักษะทางปัญญา 1 - 8 ด้านความรู้ 9 27% 2.7% 13.5%
2 ด้านทักษะพิสัย ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความรู้ การส่งผลงานครั้งที่ 10-16 การส่งผลงานครั้งที่ 10-16 สอบปลายภาค 10-16 10-16 18 23% 2.3% 11.5%
3 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบประเมินจากการสังเกตการณ์และประเมินผลภาพรวม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประเมินจากการเข้าสู่ระบบออนไลน์ Microsoft Teams และสามารถโต้ตอบและดำเนินตามกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้ การสืบค้นข้อมูลออนไลน์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สัปดาห์ที่ 10-16 ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตลอดภาคการศึกษา 5% 5%
4 ด้านคุณธรรมจริยธรรม ความสนใจ การเข้าห้องเรียนในระบบออนไลน์ Microsoft Teams อย่างสม่ำเสมอวัดผลช่วง 2 เดือนแรก และความสนใจ การเข้าชั้นเรียนในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ ความสนใจ การเข้าห้องเรียนในระบบออนไลน์ Microsoft Teams อย่างสม่ำเสมอ 1-8 ความสนใจ การเข้าชั้นเรียนในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ 10-16 5% 5%
สันติ เล็กสุขุม. (2554). ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย [ฉบับย่อ]: การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา.                 พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
          น. ณ ปากน้ำ[นามแฝง]. (2550). วิวัฒนาการลายไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
          สุรพล ดำริห์กุล. (2544). ลายคำล้านนา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
          ลิปิกร มาแก้ว. (2558). ลายคำ น้ำแต้ม . เชียงใหม่: โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา.
          วิทยา พลวิฑูรย์. (2555). แต้มเส้น เขียนสาย ลายคำจั๋งโก๋. เชียงใหม่:  โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา.
          __________. (2561). ลายคำจั๋งโก่ ลวดลายแห่งอัตลักษณ์ล้านนา. เชียงใหม่:  โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญา
                      ล้านนา.
แหล่งอ้างอิงที่สำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะไทย
- วารสาร ศิลปะทั้งในและต่างประเทศ เช่น Arts of asia
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะไทย
- บทความทางวิชาการ
- ประเมินในระบบของมหาวิทยาลัย
- การสังเกตการณ์ และทีมผู้สอน
- ผลการเรียนของนักศึกษา
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- การปรับปรุงแนวทางการสอนและวิธีการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น การสอนผ่านระบบออนไลน์
- การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
- การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
กระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา
- ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรืองานที่มอบหมาย จากการสุ่มตัวอย่างผลงานของนักศึกษาจากอาจารย์ต่าง
   หลักสูตร
- ตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินและกระบวนการการให้คะแนน
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
- สลับเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากมุมมองทัศนคติ ที่หลากหลาย