การเตรียมโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์

Pre-Product Design Project

1.  เข้าใจกรอบแนวคิด การเขียนโครงร่างโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์  และกระบวนการทำโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์      
2.  เข้าใจการค้นคว้าข้อมูลเพื่อการออกแบบ  การบูรณาการความรู้ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้การนำเสนอหัวข้อโครงร่างงานออกแบบผลิตภัณฑ์      
3.  เข้าใจวิธีการเขียนโครงร่าง วิธีการนำเสนอหัวข้อโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์  การดำเนินงานตามขั้นตอน   
4.  ตระหนักและเห็นคุณค่าในความสำคัญของการทำโครงร่างออกแบบผลิตภัณฑ์      
         เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในกระบวนการทำโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์    กรอบแนวคิด  วิธีการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ  การบูรณาการความรู้ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ การเขียนโครงร่างโครงงาน  การนำเสนอโครงร่างโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์      เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในวิชาโครงงานออกแบบอุตสาหกรรม  รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานหลังจากจบการศึกษา
               ศึกษาและฝึกปฏิบัติ การเตรียมโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์  กำหนดจุดประสงค์ กำหนดเป้าหมาย ขอบเขต  การวางแผนการดำเนินโครงการ หลักการเขียนโครงงาน และ การนำเสนอโครงงาน         
-   อาจารย์ผู้สอน  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Line,  Facebook หรือ ทาง email ของผู้สอน
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ผ่านทาง Zoom หรือ Facebook live หรือ Line กลุ่ม
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต ™ มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ™

1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ =
เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ™
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนในห้องเรียนเสมือนจริง รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
      ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน  การส่งงาน การตรงต่อเวลา
               ประเมินผลตนเองและเพื่อนในชั้นเรียน  กรณีศึกษา
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา l
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาl
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  ¡
ใช้วิธีการสอน Case study กิจกรรมการสอนแบบ Active learning จัดทำสื่อ Digital   ในรูปแบบใบความรู้ไฟล์ pdf  ppt. ออนไลน์ ในระบบ LMS เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลาตามความต้องการของผู้เรียน และ ผู้สอนใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ delivery mode - Team Learning  ผู้เรียนสามารถวางแผนในการเรียน Mind mapping เชื่อมโยงความรู้ ทฤษฎี ที่ได้จากการนำเสนอโดยสื่อการสอน เอกสารอ่านประกอบ  ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียน Microsoft Teams   การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ใช้การสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง มีปฏิสัมพันธ์ช่วยกันแสวงหาความรู้ นอกจากนี้ผู้สอนจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการ link youtube การบรรยายของผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรง เฉพาะเรื่องไว้ในระบบเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาเมื่อต้องการความรู้เพิ่มเติม    
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
                          2.3.1    การทดสอบย่อย
                          2.3.2    การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
                          2.3.3    ประเมินจากงานโครงร่างที่นักศึกษาจัดทำ
                          2.3.4    ประเมินจากการนำเสนอรายงานในห้องเรียน Microsoft Teams   
               2.3.5    ผู้เรียนประเมินตนเองและประเมินผลงานของเพื่อน   
           3.1.1มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการและวิชาชีพ l
           3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้ความคิดมาใช้อย่างเป็นระบบ l
3.2.1   ใช้กรณีศึกษา, Flip classroom, Think pair share และให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยี สืบค้นความรู้จากฐานข้อมูลต่างๆ  เรียนรู้ด้วยตนเอง วางแผนการเรียนและการประเมินผลการเรียน การตรวจสอบผลการเรียนด้วยตนเอง  ผู้สอนทำหน้าที่สรุปองค์ความรู้เพื่อความถูกต้อง
        3.2.2   การมอบหมายให้ผู้เรียนวิเคราะห์และสังเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการจัดทำโครงงานออกแบบอุตสาหกรรม
       3.2.3   มอบหมายให้ผู้เรียนฝึกสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ สำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหากรอบแนวคิด  การศึกษาโจทย์จริงจากองค์กรหรือจากสถานการณ์ที่เป็นปัญหา แล้วนำมาเขียนเป็นโครงร่าง  ฝึกสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการทำโครงงาน  การลงภาคสนามเพื่อหาหัวข้อ แรงบันดาลใจในการทำงาน การนำเสนอผลงานในห้องเรียน Microsoft Teams   
      3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากพฤติกรรมการเรียน การทำงานตามความถนัด และตามความสนใจของผู้เรียน
    3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค 
    3.3.2   สอบย่อย  วัดผลจากการคะแนนงานกิจกรรมและ การนำเสนองาน
    3.3.3   ประเมินจากการปฏิบัติงานของนักศึกษาในระบบ LMS
4.1.1    มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมดี  ¡
4.1.2    มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ¡
4.1.3   สามารถทำงานเป็นทีม และสามาถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม  ¡
4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม  l
4.2.1   ให้ผู้เรียนปฏิบัติงานตามใบงาน
4.2.2   มอบหมายงานรายบุคคลและกลุ่ม    จัดทำเป็นไฟล์และส่งให้ผู้สอนทางระบบ LMS   
4.2.3   นำเสนอผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์บูรณาการความรู้  นำเสนอโครงร่างออกแบบผลิตภัณฑ์ ในห้องเรียน MS Teams   
        
 4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน (กิจกรรมรายบุคคลและกิจกรรมกลุ่ม)
 4.3.2  ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย และมีการ upload ส่งในระบบ LMS
 4.3.3   ประเมินจากนำเสนอในห้องเรียน MS Teams      
5.1.1   สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสม  l
5.1.2  สามารถสืบค้นศึกษาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา  l
5.1.3  สามาถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ¡
5.2.1   กิจกรรม Active learning มอบหมายงานให้เรียนหาความรู้ด้วยตนเอง  จากสื่อ digital ซึ่งมีครบทุกบทเรียน ในระบบ ประกอบด้วย เอกสารอ่านประกอบ  วิดีโอ Power point  ใบงาน  และ Web link ที่เกี่ยวข้อง แบบทดสอบหลังเรียน
5.2.2   นักศึกษาทำงานตามใบงานที่มอบหมายในระบบแต่ละสัปดาห์
5.2.3   นักศึกษานำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายในห้องเรียน Microsoft Teams     
5.2.4   มอบหมายให้ส่งผลงานเป็นอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ในระบบ LMS ของมหาวิทยาลัย
          
5.3.1   ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติตามใบงานที่มอบหมายในระบบ LMS ของมหาวิทยาลัย
         5.3.2    ประเมินจากการนำเสนอผลงานในห้องเรียน Microsoft Teams         
         5.3.3   ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข 
6.1.1   สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสม  l
6.1.2  สามารถสืบค้นศึกษาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา  l
6.1.3  สามาถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ¡
     6.2.1   นักศึกษาทำงานตามใบงานที่มอบหมาย
   6.2.2   นักศึกษานำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
   6.2.3   มอบหมายให้ส่งผลงานเป็นอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์เข้าระบบ LMS
  6.2.4   มอบหมายงานให้ผู้เรียนเขียนโครงร่าง และนำเสนอหัวข้อ สร้าเงครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สื่อการสอนที่อยู่ในระบบ LMS หรือ ช่องทางสื่อสารอื่นที่น.ศ.สะดวกและได้นัดแนะกับผู้สอน  
     6.3.1   ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานที่นักศึกษาปฏิบัติและ upload งานตรงตามเวลาที่ผู้สอนกำหนดในระบบ LMS 
     6.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลงานในห้องเรียน Microsoft Teams     
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย ความรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 43023457 การเตรียมโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.2, 2.4 3.1,3.2, 3.3 2.1,2.2, 2.4 3.1,3.2, 3.3 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน สอบกลางภาค สอบย่อย สอบปลายภาค ในระบบ LMS 1, 5 6 11 9 13 17 10% 15% 10% 15%
2 3.1,3.2 4.1 4.2, 4.3 4.4 5.1,5.2, 5.3 6.1 6.2 6.3 การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายในระบบ LMS และ การนำเสนอผลงานในห้องเรียน MS Teams การเข้าเรียนสื่อออนไลน์ การ scan และ upload ส่งงานทันเวลา ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1, 1.2, 1.3 1.4 5.1, 5.2, การเข้าชั้นเรียน ในห้องเรียน MS teams การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเดี่ยว กลุ่ม การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น การเก็บรวบรวมข้อมูล และการเสนอความคิดเห็นในห้องเรียน MS teams และ ในระบบ LMS ตลอดภาคการศึกษา 20%
   คณะศิลปกรรมและสถาปัตย์กรรมศาสตร์.  2560. คู่มือการเขียนโครงงานและศิลปนิพนธ์.
           เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
   นิรัช  สุดสังข์. 2559.  ระเบียบวิธีวิจัยทางการออกแบบ.  กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
   ปานฉัตร  อินทร์คง.  2559.  การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม แนวคิด รูปแบบและการวิเคราะห์.         
           กรุงเทพมหานคร:  อันลิมิตพริ้นติ้ง.
   วัชรินทร์  จรุงจิตสุนทร. 2548.  i.d. Story Theory & Concept of Design :  หลักการและแนวคิด
           การออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : ไอดีไซน์ พลับลิชชิ่ง.
    สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ.  2550. ผลของเทคโนโลยีที่มีต่อการออกแบบ.  กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
    สิทธิ์  ธีรสรณ์.  2558.  เคล็ดลับการเขียนรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ:
           สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    Crouch, Christopher; Pearce, Jane. 2012.  Doing Research in Design. London: Berg
          Publishers.
    Vickers, Graham.  ©1991.  Style in Product Design.  London:  The design councils
   Visocky, O’Grady, Jennifer.  2006.  A Designer’s Research Manual: Succeed in Design by
 Knowing Your Client and What They Really Need.  China: Rockport.
 
       ใบความรู้ วิชา Pre Product Project
E learning วิชา  Pre Product Project   https://education.rmutl.ac.th/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในห้องเรียน Microsoft Teams    แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเมล์และเว็บบอร์ด ในระบบ LMS ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตผู้เรียนขณะทำกิจกรรม
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา การส่งงาน
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสัมภาษณ์นักศึกษา หรือการตอบแบบสอบถามของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงแผนการสอน และเนื้อหาให้ทันสมัย
5.2   ปรับปรุงรูปแบบการสอน ให้สอดคล้องกับผู้เรียนศตวรรษที่ 21