ประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ

History of Art and Design

                        1.  เพื่อให้เข้าใจประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ เอกลักษณ์ของศิลปะ
แต่ละยุคสมัยรวมถึงอิทธิพลทางศิลปะ ประวัติศาสตร์การออกแบบยุคต้น การออกแบบยุคกลาง งานออกแบบยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม งานออกแบบยุคปฏิรูปงานศิลปะและงานฝีมือ และงานออกแบบสมัยใหม่
                        2.  เพื่อให้รู้ประวัติของกลุ่มหรือสมาคมนักออกแบบ ชีวประวัตินักออกแบบ และบุคคลที่สำคัญและเกี่ยวข้องต่อวงการออกแบบอุตสาหกรรม
                       3.   เพื่อให้เข้าใจความจำเป็นในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการเกิดขึ้นของรูปแบบ รูปแบบ (Style) เรื่องราวของงานออกแบบที่เป็นที่นิยม และมีชื่อเสียงแต่ละยุคสมัย    ปรัชญา รวมทั้งแนวคิดในการออกแบบของผลงานของนักออกแบบที่มีชื่อเสียง
                       4.   เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีในการศึกษาประวัติศาสตร์ของงานออกแบบอุตสาหกรรม
เป็นการปรับรวมวิชาในหลักสูตรเดิม จากวิชา ประวัติออกแบบอุตสาหกรรม วิชาประวัติศาสตร์เครื่องเรือน และวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ มาเป็นรายวิชาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง พื้นฐานความเข้าใจในการออกแบบ การนำ Story หรือเรื่องราวของประวัติศาสตร์แต่ละยุคสมัยไปใช้ในการสร้างแนวคิดหรือเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบในวิชาต่างๆ ของชั้นปีที่สูงขึ้นไปที่เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การออกแบบเฟอร์นิเจอร์หรือ การออกแบบงานหัตถอุตสาหกรรม
                      ศึกษา ประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ เอกลักษณ์ของศิลปะแต่ละยุคสมัยรวมถึงอิทธิพลทางศิลปะ ประวัติศาสตร์การออกแบบยุคต้น การออกแบบยุคกลาง งานออกแบบยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม งานออกแบบยุคปฏิรูปงานศิลปะและงานฝีมือ และงานออกแบบสมัยใหม่ สไตล์ในงานออกแบบ นักออกแบบ และงานออกแบบข้ามวัฒนธรรม                      Study of the history of arts and design, the uniqueness of each period, including the influence of pre historic middle age, the industrial revolution, the art and crafts movement, new design styles, designers and cross cultural design.
 
 
 
-   อาจารย์ผู้สอน  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Line,  Facebook หรือ ทาง email ของผู้สอน
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ผ่านทาง Zoom หรือ Facebook live หรือ Line กลุ่ม
2.1.1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม =
2.1.1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น ™
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม  ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน
รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง = มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ™
   ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ เช่น Active learning  Flipped Classroom โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ ผ่านระบบการสอนออนไลน์ RMUTL Education  ระบบ Moodle และ Microsoft teams โดยจัดทำสื่อ Digital   ในรูปแบบใบความรู้ไฟล์ pdf  ppt. ออนไลน์ ในระบบ LMS  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลาตามความต้องการของผู้เรียน
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้าน
ต่าง ๆ คือ
                    2.2.3.1  การทดสอบย่อย  แบบทดสอบหลังเรียน  ในระบบ LMS
                    2.2.3.2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน  ในระบบ LMS
                    2.2.3.3  ประเมินจากงานที่นักศึกษาจัดทำ และ upload ส่งในระบบ
                    2.2.3.4  ประเมินจากการนำเสนอรายงานในห้องเรียน Microsoft Teams    
สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ=

2.3.1.2 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน™
                   ใช้การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล   การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น ในห้องเรียน MS Teams
ประเมินตามสภาพจริงจากงานที่มอบหมาย และการนำเสนองาน
มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ=

 
              กิจกรรม active learning เน้นความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม   การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น   การประสานงานกับบุคคลภายนอก   การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น 
            ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ  
              2.5.1.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ™
   2.5.1.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ™
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้ เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ    ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล  โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล   การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร 
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข  การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม   ประเมินจากการอธิบาย  การนำเสนอ
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BAAID101 ประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2.1.1 2.2.1.1, 2.2.1.2 2.2.1.1, 2.2.1.2 , 2.2.1.3. 2.2.1.3, 2.3.1.1,.2.3.1.2 2.3.1.1, 2.3.1.2 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน สอบย่อยครั้งที่ 1-2 สอบกลางภาค สอบย่อยครั้งที่ 3-5 สอบปลายภาค 1 1-7 9 9-15 18 10% 15% 15% 15%
2 2.4.1.1, 2.5.1.1, 2.5.1.2 การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย และ ผลงานในห้องเรียน MS Teams การเข้าเรียนสื่อออนไลน์ การ scan และ upload ส่งงานทันเวลา ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 2.1.1.1 2.1.1.2 2.4.1.2, 2.5.1.1, 2.5.1.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม และการเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 15%
นวลน้อย  บุญวงษ์.  2539.  การออกแบบ .  กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาโนช  กงกะนันทน์.  2538.  ศิลปะการออกแบบ.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
วิรุณ  ตั้งเจริญ.  2545.  ประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สันติศิริ.
สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ.  2550. ผลของเทคโนโลยีที่มีต่อการออกแบบ.  กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Bramston, David.  2009.  Basics Production : Idea Searching.  London: Thames &Hudson.
Edward, Lucie – Smith.  1983.   A History of Industrial Design . New York: Ven Nostrand       Reinhold Company Inc.
Fiell, Chaelotter & Perter.  2000.  Industrial Design A-Z.  Germany: Marianne Band
          Bauhaus-Archive GMbH.
Mel Byars. 1999. 100 Design 100 Year . Switzerland : Rotovision.
Steinen, Robert.  1977.  Introduction to Design.  New Jersey: Prentice Hall.
The Definitive Visual History.  2015. London: A Penguin House Company. 
Thomas Hauffe. 1988. Design A Concise History .London: Laurence King Publishing.
Vickers, Graham.  ©1991.  Style in Product Design.  London:  The design councils
เอกสาร pdf. วิชาประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ
ELearning วิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ  https://education.rmutl.ac.th/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในห้องเรียน Microsoft Teams แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านการอภิปราย และแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน Microsoft Teams ที่มีต่อการพัฒนาการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป ปีถัดไป
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนและบันทึก
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.4   การส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นในการเรียนการสอน ทั้งด้านบวกและลบ
       เชิงเหตุและผล จากการสัมภาษณ์ในลักษณะรายบุคคล รายกลุ่ม  
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรง
3.2   ศึกษารูปแบบวิธีการสอน จากสื่อต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางการวางแผนปรับปรุง
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหลักสูตร  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 ปรับวิธีการสอน teaching approach กับเนื้อหามากที่สุด ที่จะส่งผลให้นักศึกษาสนุก มีความสุขในการเรียนรู้