ความปลอดภัยในการขนส่งและสิ่งแวดล้อม

Green Transport Safety and Environment

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของระบบการขนส่งและระบบการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงความปลอดภัยของระบบการขนส่งและระบบการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัยของระบบการขนส่งและระบบการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้
 
มีการเพิ่มเนื้อหารายวิชา รวมถึงกรณีศึกษาเพื่อให้ทันสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ศึกษาบทบัญญัติและข้อบังคับทางความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการขนส่ง การดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไข การวิเคราะห์ปัญหาและการประเมินผล การควบคุมการผลิต การจัดเก็บ การลำเลียงและการขนส่งสินค้าอันตราย รวมถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบ โดยปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ ตระหนักในความมีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
ให้ความสำคัญในวินัย ตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด มอบหมายงาน สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
1.3.1 การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา 1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ - มีความรู้ความเข้าใจ และวิเคราะห์ เรื่องระบบการขนส่งสำหรับโลจิสติกส์ - นำความรู้ไปประยุกต์ในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ - นำหลักการด้านระบบการขนส่งแบบต่าง และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นพื้นฐานเพื่อการพิจารณาตัดสินใจในการเดินทางเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
- ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสมมุติเหตุการณ์การออกแบบระบบขนส่งสำหรับโลจิสติกส์ในลักษณะที่แตกต่างกัน - กำหนดงานออกแบบระบบขนส่งสำหรับโลจิสติกส์ - ยกตัวอย่างงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง - อภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับงานการออกแบบระบบขนส่งสำหรับโลจิสติกส์
 การสังเกต สอบกลางภาค และสอบปลายภาค - การทำแบบฝึกหัด และ การเข้าห้องเรียน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
- ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในสถานการณ์จริง - สามารถแก้ปัญหาทางโลจิสติกส์ได้โดยนำหลักการต่าง ๆ มาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม
- การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) เป็นปัญหาของการขนส่งและความต้องการของเจ้าของธุรกิจ - ฝึกแก้ปัญหาในงานออกแบบระบบ และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องเสนอแนวทางไปสู่การแก้ปัญหา
- ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม - แบบฝึกหัด - การสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
- มีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งรายบุคคลและงานกลุ่ม - สามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานภาพ - วางตัวและร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
- จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและบุคคลภายนอก - มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด - กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
- มีทักษะการใช้ภาษาไทยในการอธิบายหลักการและสถานการณ์ตลอดจนหารสื่อสารความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ - นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน - มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในอันที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ตลอดจนนำเสนอข้อมูลโดยใช้คณิตศาสตร์หรือสถิติ - สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
- ใช้PowerPoint และ VDO ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอนในชั้นเรียน - การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล - การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล - การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ - การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
- ประเมินทักษะการคำนวณจากเอกสาร และการสอบต่างๆ - ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน - ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สาธิตการปฏิบัติการ โดยผู้เชี่ยวชาญ
- สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
คำนาย อ๓ิปรัชญากุล.  ความปลอดภัย และ สิ่งแวดล้อมของการขนส่ง.สำนักพิมพ์, บริษัท โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง. กรุงเทพฯ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ