ชีวเคมีสำหรับวิศวกร

Biochemistry for Engineering

1. อธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้
2. อธิบายโครงสร้างและคุณสมบัติเกี่ยวกับ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน กรดนิวคลีอิก วิตามินและเกลือแร่ ได้
3. อธิบายความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของสารชีวโมเลกุลได้
4. อธิบายเกี่ยวกับการทำงานและการเปลี่ยนสภาพของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรได้
5. อธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและการเกษตรได้
6. อธิบายกระบวนการเมทาบอลิซึมในเซลล์ และพลังงานระดับเซลล์ได้
7. อธิบายความรู้พื้นฐานของการควบคุมการแสดงออกของจีนได้
8. อธิบายความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมที่ประยุกต์ใช้ในการเกษตรและอุตสาหกรรมได้
9. วิเคราะห์และแก้ไขโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับพันธุวิศวกรรมที่ประยุกต์ใช้ในเกษตรและอุตสาหกรรมได้
10. ลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการผลิตสารชีวโมเลกุลเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมได้
รายวิชานี้จะเน้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ชีวเคมีพื้นฐานที่นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร โดยนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ หาความรู้จากนอกสถานศึกษา และทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้เกิดการคิด วิเคราะห์ แก้ไขโจทย์ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล นอกจากนี้จะนำการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
ศึกษาพื้นฐานและหลักการทางชีวเคมีที่จำเป็นสำหรับวิศวกร ศึกษาเรื่องโครงสร้างของเซลล์ คุณสมบัติและเคมีอินทรีย์ของสารชีวโมเลกุล หน้าที่และบทบาทของความเป็นกรด-ด่างในสารละลาย บทบาทและหน้าที่ของโปรตีนและเอนไซม์ พื้นฐานของการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ การผลิตสารชีวโมเลกุลไปใช้ในอุตสาหกรรม ความรู้เบื้องต้นของกระบวนการเมทาบอลิซึมในเซลล์และ พลังงานระดับเซลล์ การควบคุมการแสดงออกของจีน  พันธุวิศวกรรมและการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม
-   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าห้องพักอาจารย์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์       (เฉพาะรายที่ต้องการ)
สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา และโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางชีวเคมีในอุตสาหกรรม
2. อภิปรายกลุ่ม
1.ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในรายวิชา
1. บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และโจทย์ปัญหา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ
2. การเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และเปิดชั่วโมงอภิปราย ให้แสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการเกี่ยวกับปัญหาที่กำหนดให้
3. ลงมือปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2. สอบการลงมือปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
3. การประเมินจากการทำงานกลุ่ม อภิปราย และนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา และโจทย์ปัญหา
1. มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
2. สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
1. มอบให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติในการแก้ไขโจทย์ปัญหาที่กำหนดให้ และนำเสนอผลการแก้ไขหน้าชั้นเรียน
2. อภิปรายกลุ่ม
3. วิเคราะห์กรณีศึกษา หรือโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการ
1. สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการ หรือข่าวต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. วัดผลจากการประเมินการคิด วิเคราะห์โจทย์  การนำเสนอผลงาน
3. สังเกตพฤติกรรมการวางแผนในการคิดและตัดสินใจในโจทย์ปัญหาต่างๆ
สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อม ทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการแก้โจทย์ปัญหา
2. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
1. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
2. ประเมินจากรายงานบุคคลที่ต้องใช้ข้อมูลจากเพื่อนร่วมชั้น    
มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ จากการเก็บข้อมูลในการทดลองและในชีวิตประจำวัน และทำรายงานโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. การนำเสนอโดยรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ไม่มี
(1) มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการแก้โจทย์ปัญหา
2. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
1. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
2. ประเมินจากรายงานบุคคลที่ต้องใช้ข้อมูลจากเพื่อนร่วมชั้น    
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 5 1 2 3 4 1 2
1 ENGAG105 ชีวเคมีสำหรับวิศวกร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 2.3, 3.3, สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 1 สอบกลางภาค สอบเก็บคะแนนครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 5 9 13 18 5 20 5 30
2 1.3, 2.3, 3.3, 4,3 การปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ การนำเสนอ โครงงาน ตลอดภาคการศึกษา 10 5 15
3 1.3, 3.3, 4,3 การตรงต่อเวลา และการให้ความร่วมมือในการอภิปรายกรณีศึกษาในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
คณาจารย์ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2521. ปฏิบัติการและหลักเบื้องต้นในวิชาชีวเคมี. พิมพ์ครั้งที่ 1. โครงการตำราศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ. 358 หน้า.
ดาวัลย์ ฉิมภู่. 2551. ชีวเคมี. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ : 572 หน้า.
พัชรา วีระกะลัส. 2544. พลังงานและเมแทบอลิซึม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ. 438 หน้า.
นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ และปรีชา สุวรรณพินิจ. 2552. จุลชีววิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 7. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ. 735 หน้า.
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2547. จุลชีววิทยาปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. บริษัทเจ้าพระยาระบบการพิมพ์ จำกัด กรุงเทพฯ. 330 หน้า.
บุญส่ง แสงอ่อน. 2547. จุลชีววิทยาทางอาหาร ภาคปฏิบัติการ. ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร                   คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร. 79 หน้า.
หนึ่ง เตียอำรุง. 2554. แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ. 252 หน้า.
ปิยะดา ตันตสวัสดิ์ และอารีย์ วรัญญูวัฒก์. 2551. บทปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. บริษัท เอเจนเทค จำกัด กรุงเทพฯ. 109 หน้า.
สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. 2550. จุลินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช. โรงพิมพ์ศิลปการพิมพ์. 25 หน้า
David L. Nelson and Michael M. Cox. 2005. Principles of Biochemistry. 4th edition. W.H. Freeman and Company. 1-1119.
ไม่มี
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมได้จาก e-learning ในรายวิชาชีวเคมีสำหรับวิศวกร
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3.  แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน
1. สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
2. การวิจัยในชั้นเรียน
3. ประเมินผลการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ 
1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2.  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ