จิตรกรรม 5

Painting 5

1.1 รู้กระบวนการและเข้าใจ จิตรกรรม 4 ทั้งภาคทฤษฏีและปฎิบัติมาแล้ว ศึกษาต่อและปฏิบัติให้สูงขึ้น  1.2 รู้ระบบการวางแผนการสร้างผลงาน ตามที่ผู้สอนได้กำหนดโครงการให้  1.3 เข้าใจถึงการค้นคว้า การวิเคราะห์ ในเนื้อหาเรื่องราว ของตอนเองได้อย่างถูกต้อง  1.4 แก้ปัญหากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง ได้ และแสดงออกมาในผลงานอย่างมีคุณค่า และมีเอกลักษณ์พาะตน  1.5 ผลงานที่สร้างสรรค์ ออกมามีรูปแบบและเอกลักษณ์ ทั้งเนื้อหาและคุณค่าในด้านเทคนิคและความประณีต 
2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม  2.2 มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำความคิดมาแปลเป็นผลงานทางจิตรกรรม  2.3 ฝึกทักษะการเขียนภาพจิตรกรรม รู้จักแก้ปัญหาในผลงานของตนเองได้ สามารถวิจารณ์ผลงานของตนเองและผู้อื่น   2.4 มีความสามารถด้านเทคนิคการเขียนภาพจิตรกรรม และนำส่วนดีของเทคนิคที่หาได้มาสร้างสรรค์ในผลงานของตัวเองได้อย่างเหมาะสมและสมบรูณ์  2.5 เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับจิตรกรรมที่สูงขึ้นกว่าจิตรกรรม  4  ตามโครงการที่กำหนดให้และโครงการที่นักศึกษากำหนดเอง  เน้นการศึกษา  ค้นคว้า วิเคราะห์  เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์กันในรูปแบบ  เนื้อหา  เทคนิค  และการแสดงออกของการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมที่มีคุณค่าทางศิลปะและมีเอกลักษณ์เฉพาะตน
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้  1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม  2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ  3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม  4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ มอบหมายและการร่วมกิจกรรม  2. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร  3. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  4. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้  1. มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา  2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา  3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฎิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ การทดสอบย่อย
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้  1. มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ  2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1. ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา ( Problem Based Instruction)  2. ให้นักศึกษาปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง  3. มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา ประเมินผลการปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง และประเมินจากการทดสอบ เป็นต้น
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่น ๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชา  1. มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี  2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม  4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้  1. กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป้นผู้นำและผู้รายงาน  2. ให้คำแนะนำในการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสร กิจกรรมของมหาวิทยาลัย  3. ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ  4. มอบหมายงานให้สัมภาษณ์บุคลต่างๆ
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม  2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม  3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวัดมาตรฐานนี้อาจทำได้ในระหว่างการสอน โดยอาจให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพขอวิธีแก้ปัญหา และให้นำเสนอแนวคิดของการแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ต่อนักศึกษาในชั้นเรียน อาจมีการวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์และกลุ่มนักศึกษา
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกตต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลาย สถานการณ์
ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละคนถนัด สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน มีทักษะในการสร้างสรรค์ที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
สร้างเจตคติที่ดีต่อการฝึกปฏิบัติ จัดนิทรรศการแสดงผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในที่สาธารณะเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์และฝึกปฏิบัติงานด้วยใจ
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์เป็นต้น
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละบุคคลถนัดได้ สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน มีทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1 41011406 จิตรกรรม 5
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้จากการศึกษาการปฏิบัติงาน และการวิเคราะห์จากการทำงานในชั้นเรียน/การศึกษานอกเวลา นำเสนองาน สัปดาห์ที่ 5-17 50%
2 วัดผลความรู้/ความเข้าใจ ของนักศึกษา การสอบกลางภาค และสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 และ 17 30%
3 ความรับผิดชอบ การเข้าชั้นเรียน และส่งผลงานตรงตามเวลาที่กำหนดให้ ทุกสัปดาห์ 10%
4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ การสังเกต/การทำงานในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
- Eleanor Heartney. 2009. Art & Today. NY : Phaidon.  - Edward Lucie-Smith ( 2009) Lives of the Great Modern Artists (Revised Edition).NY:Thame & Hudson.  - Sister Wendy Beckett. 2009.1๐๐๐ Masterpieces. NY:DK Publishing.  - Tony Godfrey.(2010). Painting Today. NY:Thame & Hudson.  - William Furlong .(2010). Speaking of Art. NY:Phaidon.
- วารสาร Art in America ปี ๒๕๔๑ -๒๕๕๓
- สูจิบัตรงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑-ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร
- www.artgalleryartist.com/Body-Painting/
- www.linkism.com › Visual Artists › Painters
- วารสาร FineArt ไทยแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร  - สูจิบัตรงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร
- สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาหลังจากทำการสอน  - ให้นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นการสอนสัปดาห์สุดท้าย  - ประเมินการสอนโดยผู้บริหารของภาค/สาขาวิชา
จัดประชุมคณาจารย์ระดมความคิดเห็นเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน
-สรุปผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา  -ประชุมคณาจารย์แจ้งผลการประเมินและแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาเรียนการสอน  -จัดประชุมสัมมนาคณาจารย์เพื่อพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ เกี่ยวกับการสอน
-มีคณะกรรมการวิชาการประจำสาขาวิชา  -มีคณะกรรมการพิจารณาข้อสอบและผลสอบ  -ให้นักศึกษาทราบผลจากการส่งงานที่มอบหมาย  -นักศึกษาสามารถตรวจสอบคะแนน ผลคะแนน จากฝ่ายทะเบียนได้
นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา การประชุมสัมมนา นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคเรียนต่อไป