การวิจัยทางศิลปะ

Principle of Arts Research

1.1 ศึกษาความหมายและประเภทของงานสร้างสรรค์งานศิลปะโดยใช้หลักการวิจัย และระเบียบ วิธีการวิจัย 1.2 ศึกษาการเขียนโครงร่างการวิจัย 1.3 ศึกษาการดาเนินการวิจัย 1.4 ศึกษาการเขียนการนาเสนอโครงการศิลปะ 1.5 ศึกษาวิธีการสร้างสรรค์ผลงาน หรือการค้นคว้า ทดลอง รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล 1.6 ศึกษาการเขียนโครงการเพื่อเป็นแนวทางในการทาศิลปนิพนธ์
เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้ เป็นเอกสารการเตรียมและวางแผนการสอนรายวิชา การวิจัยทางศิลปะ ใช้สาหรับสอนนักศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการศึกษาระเบียบ วิธีการวิจัยทางศิลปะ การเขียนโครงการศิลปะประกอบการค้นคว้า ทดลอง รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง เป็นระบบ
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและประเภทของการสร้างสรรค์งานศิลปะโดยใช้หลักการและระเบียบวิธีการ วิจัย การดาเนินงานวิจัยและการเขียนการนาเสนอโครงการศิลปะ วิธีการสร้างสรรค์ผลงานหรือการค้นคว้า ทดลอง รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนโครงการเพื่อเป็นแนวทางในการทาศิลปนิพนธ์
- มีจิตสานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม - มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม - เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดย เน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษา ต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทางานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นากลุ่มและการเป็น สมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทาการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทาดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวมเสียสละ
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 2. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 3. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 4. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
- มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา - สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา - สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฎิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของ รายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ 1. การทดสอบย่อย 2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 3. ประเมินจากการปฏิบัติงานของนักศึกษาและประเมินจากผลงานที่ปฎิบัติ 4. ประเมินจากการนาเสนอรายงานที่มอบหมาย
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรม อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหา รวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
- มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ - มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1. ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา 2. ให้นักศึกษาปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง 3. มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงาน ผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา ประเมินผลการปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง และประเมินจาก การทดสอบ เป็นต้น
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มา จากสถาบันอื่น ๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่ จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจาเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่ เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชา - มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี - มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ - สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับ ผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมี ความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการ รับผิดชอบ ดังนี้ 1. กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำและผู้รายงาน 2. ให้คำแนะนำในการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสร กิจกรรมของมหาวิทยาลัย 3. ให้ความสาคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ 4. มอบหมายงานให้สัมภาษณ์บุคลต่างๆ
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่ม ในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และความครบถ้วนชัดเจน ตรงประเด็นของข้อมูล
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การวัดมาตรฐานนี้อาจทำได้ในระหว่างการสอน โดยอาจให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ ประสิทธิภาพขอวิธีแก้ปัญหา และให้นำเสนอแนวคิดของการแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ต่อนักศึกษาในชั้นเรียน อาจมีการวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์และกลุ่มนักศึกษา
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และ สิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1 มีจิตสานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 41000304 การวิจัยทางศิลปะ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - ความหมายและประเภทของการวิจัยสร้างสรรค์ทางศิลปะ Arts Research Methodology - รูปแบบโครงร่างการวิจัย Research proposal - หลักการเขียนข้อมูลเชิงอรรถ - วิธีการนำข้อมูลมาอ้างอิง - การเขียนอ้างอิงตามหลักการ - วิธีการเขียนโครงร่างการวิจัย - การนำเสนอโครงร่างการวิจัย - ศึกษารูปแบบการดาเนินการวิจัยการเลือกใช้รูปแบบการวิจัย (research design) ที่เหมาะสม - การเขียนบทที่ 1 บทนำ - การเขียนบทที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์/การวิจัย สอบกลางภาคเรียน สัปดาห์ที่ 9 10%
2 - การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์/การวิจัย - การเขียนบทที่ 3 กระบวนการและขั้นตอนการสร้างสรรค์/การวิจัย - การนำเสนอกระบวนการและขั้นตอนการสร้างสรรค์/การวิจัย - การนำเสนอกระบวนการและขั้นตอนการสร้างสรรค์/การวิจัย - การเขียนบทที่ 4 การวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์/การวิจัย - การนำเสนอผลการวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์/การวิจัย - การเขียนบทที่ 5 บทสรุป สอบปลายภาคเรียน สัปดาห์ที่ 17 20%
3 นักศึกษาสามารถวิเคราะห์หัวข้อที่ใช้ในกรณีศึกษา และนำเสนอผลการวิจัย วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ ประเมินจากผลการศึกษาวิจัย การให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 60%
4 นักศึกษามีความสนใจในการเรียน และเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ มีส่วนร่วมในการอภิปรายและเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน จิตพิสัย ความสนใจ การเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2548). การวิจัยทางศิลปะ. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ไพทูรย์ เวทการ. (2540). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. ลาปาง : โรงพิมพ์ช่างแดง,
ข้อมูลดาวน์โหลดไฟล์ : การเขียนเนื้อหาสาระทางวิชาการจาก การสร้างสรรค์ศิลปะวิชาการสร้างสรรค์ศิลปะ-วิจัย การวิจัยศิลปะโดย ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง
โครงการสร้างสรรค์เชิงวิชาการ พิมพ์จากป่าสงวน (Print from Paa Sa-nguan)ผู้สร้างสรรค์ วิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร  โครงการวิจัยการสร้างสรรค์ศิลปกรรมกระจก เพื่อนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกชุมชนท้องถิ่น (The Creation of a Gkass Mosaic Mural for Preserving LocalCommunity Culture.) ผู้สร้างสรรค์วิชาการ : รองศาสตราจารย์อัศวิณีย์ หวานจริง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของทีมอาจารย์ผู้สอน 2.2 อภิปรายของผู้เรียนต่อเนื้อหาที่เรียนท้ายชั่วโมง 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้