การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ

Statistical Analysis in Business

จุดมุ่งหมายของรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสถิติมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจและจัดเตรียมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ สามารถวิเคราะห์หลักสถิติที่สำคัญได้แก่การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณา ทฤษฎีสุ่มตัวอย่างและการทดสอบสมมุติฐานทางการวิจัยและทางสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าไคสแคว์ การหาค่าสหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณ รวมทั้งการฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ทำให้ผู้เรียนรู้ทันกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเข้าใจปัญหาธุรกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจด้วยการใช้สถิติได้ นำข้อมูลสถิติที่ได้ไปใช้ตัดสินใจในทางธุรกิจได้ และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
การใช้หลักสถิติมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจและจัดเตรียมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ หลักสถิติที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณา ทฤษฎีสุ่มตัวอย่างและการทดสอบสมมุติฐานทางการวิจัยและทางสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าไคสแคว์ การหาค่าสหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณ รวมทั้งการฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม) หรือสามารถโทรศัพท์ หรือใช้สื่อทาง line ได้ มีการสร้าง line กลุ่มของวิชา ปรึกษาทางไลน์ส่วนตัวได้
มาตรฐานผลการเรียนรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) š 1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น ˜ 2. มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมต่อสิ่งแวดล้อม š 3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม š 4. มีภาวะความเป็นผู้นำ ผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ š 5. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ š 6.สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม
  รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ ü 1. การสอนแบบบรรยายและยกตัวอย่าง เช่น บุคคลต้นแบบที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรม จริยธรรมทางธุรกิจ   ü 2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การเคารพกฎจราจร การลดการใช้ถุงพลาสติก   ü 3.อธิบายระเบียบกฎ ระเบียบในการเข้าห้องสอบ การลงโทษผู้ทุจริตในการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน   ü 4. มอบหมายงานกลุ่ม เพื่อฝึกความเป็นผู้นำ ผู้ตาม และการทำงานร่วมกัน เปิดโอกาสให้ซักถาม อภิปรายประเด็นปัญหา และแสดงความคิดเห็น     5. เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน  
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ   1 การสังเกต การซักถาม   ü 2 การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัยการ
เข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม 1.1.2 ü 3 จำนวนครั้งของการกระทำทุจริตในการสอบ การคัดลอกงาน 1.1.1 ü 4 การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน     5 ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์  
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ด้านความรู้ 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน   3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์   4. มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน   5. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบ องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด   6. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์   7. รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง   8. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง   9. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานได้จริง
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ ü 1. การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ และใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติ ทำกิจกรรมกลุ่ม 2.1.1 ü 2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อน ร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป 2.1.2
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ ü 1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2.1.1   2. รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ     3. ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง     4. ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ     5. ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา     6. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน   ü 7. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน 2.1.2
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ทักษะทางปัญญา 1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ   3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป   4. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ   5. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ   1. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน     2. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากกรณีศึกษา     3. กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัยและกำหนดให้นักศึกษาวางแผน การทำงานเป็นทีม   ü 4. การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน 3.1.1 ü 5. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 3.1.2 ü 6. การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 3.1.1 ü 7. จัดให้ในรายวิชา มีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา 3.1.2
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ ü 1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา 3.1.2   2. การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบริบทต่าง ๆ     3. การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง     4. ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา   ü 5. ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา 3.1.1   6. ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน     7. ประเมินจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง   ü 8. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา 3.1.2
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ   1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้   2. มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็น ใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม   3. มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน   4. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง   5. สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม   7. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ   1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง   ü 2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม 4.1.2   จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและ
การอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป     4. มอบหมายให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง     5. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา   ü 6. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ 4.1.1
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ ü 1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค 4.1.1 ü พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา 4.1.1   พฤติกรรมและผลการประเมินการให้บริการวิชาการของนักศึกษา     การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา     พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี     สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)   ü สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน 4.1.2   ใช้ผลการประเมินจากการฝึกงานและการสหกิจศึกษา  
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน   2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์   3. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ   4. มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 5. สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์   6. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ ü 1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง 5.1.1   2. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา     3. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย     4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม   ü 5. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ในสถานการณ์ต่างๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้ 5.1.1 ü 6. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1.3
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ ü 1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค 5.1.1   2. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม   ü 3. พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร 5.1.3   4. ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ   ü 5. ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน 5.1.3
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)   1. สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม   2. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง   3. สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต 4. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล 5. สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
รายละเอียดกระบวนการ วิธีการสอน ข้อ   1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม     2. จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม   ü จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผล การดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ 6.1.1   จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน     จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคม ร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง     จัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร ในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย  
รายละเอียด วิธีการประเมินผล ข้อ   ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม     พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษา มีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม     พฤติกรรมที่แสดงออกจากการเข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ ตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน   ü การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม 6.1.1 ü นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้ 6.1.1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 .4.3 และ 5.1 5.2 6.1 6.2 การทดสอบ - การสอบกลางภาค - การสอบปลายภาค 8 และ 17 30% และ 30%
หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
สุภาพร ทินประภา. 2551. การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ. กรุงเทพฯ. ก.พล(1996),
ปรีชา อัศวเดชานุกร. 2550. สถิติเพื่อธุรกิจ. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2554. การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สรชัย พิศาลยบุตร. 2547. สถิติธุรกิจ. กรุงเทพฯ. วิทยพัฒน์
เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
แหล่งข้อมูลออนไลน์
https://sites.google.com/site/mystatistics01/regression-correlation-analysis
www.stvc.ac.th/elearning/stat/csu4.html
กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา โดยให้นักศึกษามีส่วยร่วมในการให้คะแนนเพื่อนในการนำเสนองานกลุ่ม การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ

การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ
2.2 การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.2 พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอน โดยการนำความรู้จากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management : KM) เรื่องการเรียนการสอนที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ มาปรับปรุงพัฒนา
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้
4.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
4.2 การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4 การประเมินข้อสอบ การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
5.2 นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน
5.3 นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร