แคลคูลัส 1

Calculus 1

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
1.1  นำฟังก์ชัน ลิมิตและความต่อเนื่องไปใช้
              1.2. นำอนุพันธ์และการประยุกต์ไปใช้
              1.3.  นำการหาปริพันธ์  เทคนิคการหาปริพันธ์  ปริพันธ์จำกัดเขตและการประยุกต์ไปใช้
              1.4.   เป็นวิชาพื้นฐานในการศึกษาวิชาแคลคูลัสชั้นสูงและวิชาชีพทางด้านวิศวกรรม
              1.5. เป็นการส่งเสริมประสบการณ์ของผู้เรียนในด้านการฝึกสมองอันเป็นแนวทางทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และ แก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้คณิตศาสตร์เพียงพอที่จะไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ และฝึกให้เป็นคนมีเหตุผลและรอบคอบ  มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
           ศึกษาเกี่ยวกับ ฟังก์ชัน ลิมิตและความต่อเนื่อง การหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิตและฟังก์ชันอดิสัย   การประยุกต์ของอนุพันธ์   ปริพันธ์  และเทคนิคการหาปริพันธ์   ปริพันธ์จำกัดเขตและการประยุกต์
ทุกวันพุธ บ่าย 15.00- 16.30 น.   
š1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
    2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
˜3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
   4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
   5. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. ชี้แจง ตกลงเกณฑ์ต่างๆ และวิธีการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก
2. การตั้งประเด็นคำถามให้ผู้เรียนเกิดแนวความคิด เกิดการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมในชั้นเรียน มีแรงจูงใจในการเรียน
3. การอภิปรายรายบุคคลและรายกลุ่มเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคล ฝึกความเป็นผู้นำและสามารถนำไปบูรณาการได้
4. กระตุ้นให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
5. ปลูกฝังความมีระเบียบวินัยในตัวเอง โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ไม่มีการทุจริตในการสอบ
4. ประเมินผลกิจกรรมที่มอบหมายรายกลุ่มและรายบุคคล
5. สังเกตจากพฤติกรรมจากการตอบคำถาม
˜1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
    2. มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
   3. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
1. บรรยายและการใช้สื่อการสอนชนิดต่างๆ อย่างเหมาะสม
2. การซักถามในบทเรียนรวมทั้งร่วมกันอภิปราย เพื่อแสดงคิดเห็นและความสัมพันธ์เหล่านั้นตามความเข้าใจ
3. ทำการสอนโดยอาศัยวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว (animation) เพื่อให้นักศึกษาเกิดการจินตนาการตามเนื้อหาและเกิดความเข้าใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น
4. นำงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมาทำการบูรณาการกับการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการอภิปราย เกิดคำถาม และเกิดการแก้ปัญหา
5. สร้างคำถาม มอบหมายงานเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้และสืบค้นด้วยตนเองแล้วนำเสนอรายงานหน้าชั้น (Presentation) หรือทำรายงาน (Report)
1. การทำแบบทดสอบหลังเรียน
2. ผลการทำข้อสอบกลางภาคและปลายภาค
3. ประเมินผลการเรียนรู้จากผลงานที่มอบหมายในระหว่างเรียน เช่น จากการนำเสนอรายงานหน้าชั้น หรือจากการทำรายงาน
˜1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
š2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
 
ฝึกทำแบบฝึกหัดในห้องเรียนหลังการสอน และแบบฝึกที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล
ทวนสอบ  สอบย่อย  สอบกลางภาค  และสอบปลายภาค
    1.  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
    2.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
    4.  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
มีการถามตอบในระหว่างเรียน  ให้นักศึกษาทำความเข้าใจและหาวิธีคิด    นำวิธีการคิดมาเสนอให้เพื่อนๆ ในกลุ่ม
ประเมินจากความสนใจและการมีส่วนร่วม
      1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
˜2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
š3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างที่นักศึกษาต้องเจอในเหตุการณ์ต่าง ๆ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ ในระบบสารสนเทศได้
ประเมินจากความสนใจและการมีส่วนร่วม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 BSCCC201 แคลคูลัส 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 3.1 การเข้าชั้นเรียน 1-17 5%
2 3.1, 3.2, 3.3, 3.4 และ 3.5 การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 5%
3 3.1, 3.2, 3.3 และ 3.5 การทดสอบย่อย 4 ครั้ง 4,6,11,15 40%
4 3.1, 3.2, 3.3 และ 3.5 การสอบกลางภาค 9 20%
5 3.1, 3.2, 3.3, 3.4 และ 3.5 แบบฝึกหัด 17 10%
6 3.1, 3.2, 3.3 และ 3.5 การสอบปลายภาค 17 20%
นันทวรรณ์  ไชยเรียน(2561).  แคลคูลัส 1   สาขาวิทยาศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์และ       เทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง.
แคลคูลัส 1, Calculus I  
สมพงษ์ แจ่มยวง และคณะ (2552). แคลคูลัส 1 (ปรับพื้นฐาน). พิมพ์ครั้งที่ 1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น.
บุปผา ไกรสัย, แคลคูลัสสำหรับวิศวกรรม 1, ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พฤษภาคม, 2548.
ศรีบุตร แววเจริญ และ ชนศักดิ์ บ่ายเที่ยง, คณิตศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์, ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะ คณิตศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2545
      ภาควิชาคณิตศาสตร์ แคลคูลัสสำหรับวิศวกรรมศาสตร์1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาลัยเชียงใหม่ ,เชียงใหม่ : พิมพ์ครั้งที่ 2 ,2542
       ปราโมทย์ ประเสริฐ คณิตศาสตร์2 มหาวิทยาลัยนเรศวร , พิษณุโลก : พิมพ์ครั้งที่ 2 , 2542
   ANTON HOWARD Calculus with Analytic Geometry , Fourth Edition , JOHN WILEY & SONG, INC ,19922.  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์ในการสอน
2.2   ผลการสอบตามจุดประสงค์ของแต่ละหัวข้อ
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   แก้ไขข้อบกพร่อง จากแบบประเมินที่นักศึกษาประเมินผู้สอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ  วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ
5.3  นำผลการเรียนของนักศึกษามาปรับปรุงประสิทธิภาพของรายวิชา