แคลคูลัส 2 สำหรับวิศวกร

Calculus 2 for Engineers

1. คำนวณฟังก์ชั่นค่าเวกเตอร์ของหนึ่งตัวแปร การหาอนุพันธ์และการหาปริพันธ์ 2. นำฟังก์ชัน ลิมิตและความต่อเนื่องและกราฟของฟังก์ชันสองตัวแปรไปใช้ 3. นำอนุพันธ์ย่อยและการประยุกต์ไปใช้ 4. นำการหาปริพันธ์หลายชั้น และการประยุกต์ไปใช้ 5. เป็นการส่งเสริมประสบการณ์ของผู้เรียนในด้านการฝึกสมองอันเป็นแนวทางทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และ แก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง 6. นำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพและเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน และสามารถใช้เหตุผลในการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นระบบชัดเจน รัดกุมและมั่นใจในการแก้ปัญหา ตลอดจนคิดคำนวณได้อย่างถูกต้อง
ศึกษาเกี่ยวกับฟังก์ชั่นค่าเวกเตอร์ของหนึ่งตัวแปร แคลคูลัสของฟังก์ชั่นค่าเวกเตอร์ของหนึ่งตัวแปร  การหาปริพันธ์เชิงตัวเลข ปริพันธ์ไม่ตรงแบบ อุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ ลำดับและอนุกรมของจำนวน การกระจายอนุกรมเทย์เลอร์ของฟังก์ชั่นมูลฐาน สมการเชิงอนุพันธ์เบื้องต้นและการประยุกต์ 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยนักศึกษารวมกลุ่มและนัดวันในการเรียนเสริม กรณีที่ไม่ข้าใจรายบุคคล สามารถมาสอบถามอาจารย์ได้หลังเลิกเรียน หรือหลัง16.00 น.
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานในเวลาที่กำหนด 2. กำหนดข้อตกลงร่วมกันในการวัดผลระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
1. การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานตรงเวลา 2. สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
1. บรรยายครอบคลุมเนื้อหาตามคำอธิบายรายวิชา เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ 2. มอบหมายให้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือศึกษาด้วยตนเอง 3. กำหนดหัวข้อทางวิชาการให้กับนักศึกษาในการค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ
1. ทดสอบย่อย 2. สอบกลางภาค สอบปลายภาค 3. ประเมินจากรายงาน หรืองานที่มอบหมาย
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. อธิบายความเชื่อมโยงของความรู้ในวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยระดมความคิดของนักศึกษาในชั้นเรียนเพื่อใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา 2. มอบหมายงานให้นักศึกษา ทำแบบฝึกหัด และนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์  2. แบบฝึกหัด และการนำเสนองาน
1. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
2. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 5. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. มอบหมายงานรายกลุ่ม หรือแบบฝึกหัดให้ทำเป็นกลุ่ม 2. ให้นำเสนองาน แบบฝึกหัด โดยกำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคน
1. ประเมินจากความรับผิดชอบงานกลุ่ม 2. ประเมินจากการนำเสนองาน
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มอบหมายงานกลุ่มและนำเสนอ
ประเมินจากผลงาน และการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 FUNMA106 แคลคูลัส 2 สำหรับวิศวกร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 2.1, 3.2 สอบก่อนกลางภาค สอบกลางภาค สอบก่อนปลายภาค สอบปลายภาค 9 ก่อนเรียนทุกสัปดาห์ จบบทเรียนแต่ละบท 17 25% 15% 25% 15%
2 1.3, 2.1, 3.2 การส่งงานตามที่มอบหมาย รายบุคคล จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 15% 5%
-รศ.ศรีบุตร แววเจริญ และ ผศ.ดร.ชนศักดิ์ บ่ายเที่ยง คณิตศาสตร์วิศวกรรมและวิทยาศาสตร์เล่ม 7 กรุงเทพฯ :พิมพ์ครั้งที่ 1 บริษัทวงตะวัน จำกัด. 2544. -คณะอาจารย์สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 1กรุงเทพฯ :สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2544. -John Thomas, Thomas’ Calculus, Pearson education Indochina ltd , 2005. -Monty J. Strauss, Gerald L. Bradley and Karl J.Smith., Calculus. 3rdEdition, Prentice-Hall Inc., 2002.
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ - การถาม ตอบระหว่างผู้สอนและผู้เรียน - การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน - แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา - แบ่งกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายชั่วโมง
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ - การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน - ผลการสอบ - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ - แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์ในสาขา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ - การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา - ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ - ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือ ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 - เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ