กลยุทธ์การตลาด

Marketing Strategies

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความหมาย บทบาท และความสำคัญของกลยุทธ์การตลาด การเลือกกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตลาดในภาวะต่างๆ โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกธุรกิจ และพัฒนากลยุทธ์ ส่วนประสมการตลาดที่บูรณาการหน้าที่งานการตลาดและหน้าที่อื่นๆ ของธุรกิจได้
เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความหมาย บทบาท และความสำคัญของกลยุทธ์การตลาด การเลือกกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตลาดในภาวะต่างๆ โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกธุรกิจ และพัฒนากลยุทธ์ ส่วนประสมการตลาดที่บูรณาการหน้าที่งานการตลาดและหน้าที่อื่นๆ ของธุรกิจ และการสร้างประสบการณ์จริงในการวิจัยให้แก่ผู้เรียน และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจทางการตลาดเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรได้
ศึกษาความหมาย บทบาท และความสำคัญของกลยุทธ์การตลาด การเลือกกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตลาดในภาวะต่างๆ โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกธุรกิจ และพัฒนากลยุทธ์ ส่วนประสมการตลาดที่บูรณาการหน้าที่งานการตลาดและหน้าที่อื่นๆ ของธุรกิจได้
 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สอนเสริมเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม)
มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข ได้
พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผล                          การดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 5.1.1 การทดสอบ - การสอบกลางภาค - การสอบปลายภาค 8 17 30% 40%
2 2.1.2 , 3.1.1 3.1.2 , 4.1.1 4.1.2 , 5.1.3 6.1.1 วิเคราะห์กรณีศึกษา รายงาน และการนำเสนอ - งานที่มอบหมาย / รายงาน (กลุ่ม) - แบบฝึกหัด / กรณีศึกษา (เดี่ยว, กลุ่ม) - การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน (กลุ่ม) ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1.1 , 1.1.2 การเข้าชั้นเรียน - การเข้าชั้นเรียน / การมีส่วนร่วม / การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
คณาจารย์สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 2550. หลักการตลาด.
พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธนาเพรส.
คณาจารย์สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 2555. หลักการตลาด.
พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. 2551. หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ปัญญาชน.
จินตนา บุญบงการ. 2558. จริยธรรมทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง-
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉัตยาพร เสมอใจ และ ฐิตินันท์ วารีวนิช. 2551. หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรง
พิมพ์ วี.พริ้น (1991).
ดํารงศักดิ์ ชัยสนิท. 2537. พฤติกรรมผูบริโภค. พิมพครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร.
นภวรรณ คณานุรักษ์. 2559. กลยุทธ์การตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.
ณัฐยา สินตระการผล และ วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. 2557. หลักคิดเรื่องกลยุทธ์และการแข่งขัน.
พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ส. เอเซียเพรส.
พิบูล ทีปะปาล. 2534. หลักการตลาดยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตร
สัมพันธ์กราฟฟิค.
ภาวิณี กาญจนาภา. 2554. หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ท้อป.
วารุณี ตันติวงศ์วาณิช นิภา นิรุติกุล สุนทรี เหล่าพัดจัน พรพรหม พรหมเพศ นิตยา งามแดน และ
จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. 2554. หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
วิทวัส รุ่งเรืองผล. 2556. หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์
ศิริ ภู่พงษ์วัฒนา. 2550. การจัดการช่องทางการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
โสภณการพิมพ์
สุดาพร กุณฑลบุตร. 2552. หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ
มหาวิทยาลัย.
สุชิน นะตาปา. 2541. หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
สุดาดวง เรืองรุจิระ. 2543. หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ประกายพรึก.
สุพรรณี อินทร์แก้ว และ วาสนา เจริญสุข. 2555. หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ   การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ   การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ
2.2  การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
  ** 2.3  การสังเกตการณ์สอนตามกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดโดยผู้ร่วมสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1  การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.2  พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอน โดยการอบรมสัมมนา
** 3.3  การทำวิจัยในชั้นเรียน
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้
4.1  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
4.2  การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4  การประเมินข้อสอบ  การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
5.2  นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน
5.3  นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร