การฝึกงานเครื่องมือกล

Machine Tools Practice

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานเครื่องมือกลงานลับเครื่องมือตัดงานกลึงปาดหน้ากลึงปอกผิวกลึงตกร่องกลึงเรียวกลึงโดยใช้หัวจับแบบสี่จับงานเจาะบนเครื่องกลึงงานกลึงเกลียวสามเหลี่ยมงานกัดราบกัดร่องกัดมุมกัดเฟืองตรงงานไสราบไสร่องไสมุมไสร่องลิ่มงานเจาะรูงานผายปากรูทรงกรวยงานผายปากรูทรงกระบอกงานเจียระไนผิวราบงานเจียระไนกลมงานเลื่อย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฏีที่สำคัญในเนื้อหาทางด้านการฝึกงานเครื่องมือกล สามารถนำความรู้และทักษะการปฏิบัติการไปใช้ในการแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้กับวิชาชีพ และเทคโนโลยีใหม่ๆ
ปฏิบัติงานเครื่องมือกลงานลับเครื่องมือตัดงานกลึงปาดหน้ากลึงปอกผิวกลึงตกร่องกลึงเรียวกลึงโดยใช้หัวจับแบบสี่จับงานเจาะบนเครื่องกลึงงานกลึงเกลียวสามเหลี่ยมงานกัดราบกัดร่องกัดมุมกัดเฟืองตรงงานไสราบไสร่องไสมุมไสร่องลิ่มงานเจาะรูงานผายปากรูทรงกรวยงานผายปากรูทรงกระบอกงานเจียระไนผิวราบงานเจียระไนกลมงานเลื่อย
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรมจริยธรรม เสียสละและซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.2.1 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.2.2 ให้ความสำคัญในวินัยในการตรงต่อเวลาการมาเรียนและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
1.2.3 สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตทั้งตนเองและผู้อื่น
1.2.4 มอบหมายหน้าที่ผ่านทางหัวหน้าชั้นที่ต้องปฏิบัติเป็นทีมหลังจากเสร็จสิ้นการเรียนในวิชา
1.3.1 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง
1.3.2 การขานชื่อก่อนเริ่มเรียน การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน
1.3.3 ประเมินปริมาณการทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากพฤติกรรมการลงมือฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษาด้วยตนเอง และสังเกตพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางวิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีในเนื้อหาสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสมรวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 มุ่งเน้นการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบแนวคิดและหลักการนำเอาวิศวกรรมพื้นฐานไปใช้งานและการประยุกต์ใช้กับวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
2.2.2 ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและตัวอย่างลักษณะการนำไปใช้งาน มาประกอบในการเรียน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.3 มอบหมายให้ทำรายงานในเชิงบูรณาการโดยจำลองสถานการณ์และรูปแบบความต้องการที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
2.2.4 มอบหมายให้ทำรายงานการวิเคราะห์และการแก้ไขโดยการจำลองสถานการณ์ขึ้นมา
2.2.5 เน้นการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการนำเอาความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้
2.3.1 พิจารณาจากการตอบคำถามในขณะฝึกปฎิบัติงาน
2.3.2 ประเมินจากผลจากชิ้นงานที่นักศึกษาสร้างขึ้น
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4 ประเมินจากการนำเสนอรายงาน
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวมศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง
3.2.1 มอบหมายงานที่ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการค้นคว้ามอบหมายให้ทำรายงานที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดอย่างมีระบบและรายงานก่อนลงปฎิบัติงาน
3.2.2 ให้นักศึกษาลงฝึกการปฏิบัติงานพร้อมสรุปผลการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดหลังเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติงานและจัดทำเป็นรายงานโดยกำหนดความต้องการให้กับนักศึกษา
3.2.3 แบ่งกลุ่มและมอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา
3.3.1 ประเมินผลจากรายงานทางเอกสารและนำเสนอรายงาน
3.3.2 ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนมนาทั้งภาษาไทยและต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย
4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน
4.2.1 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.2.2 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเองและที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3 มอบหมายให้ทำรายงานเป็นกลุ่มและนำเสนอในเรื่องที่เกี่ยวกับการนำเอาความรู้ที่ได้จากการศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกันกับงานวิศวกรรมด้านที่เกี่ยวอื่นๆ
4.2.4 เน้นให้เห็นความสำคัญแนวทางการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กร
4.2.5 ปลูกฝังจิตสำนึกในการช่วยกันสอดส่องดูแลพื้นที่ปฏิบัติงานหรือการดำเนินกิจกรรมที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายในการทำงาน
4.3.1 ประเมินผลจากแบบประเมินตนเอง
4.3.2 ประเมินจากผลงาน
4.3.3 ประเมินจากรายงานและการนำเสนอ
4.3.4 ประเมินจากพฤติกรรมในการร่วมกันทำงานที่ได้รับมอบหมายหรือกิจกรรมร่วมกัน
4.3.5 ประเมินปริมาณจุดเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในการปฏิบัติงานหรือพื้นที่ทำงาน
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆและให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.2.2 การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
5.2.3 มอบหมายงานโดยการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองและใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอผลงาน
5.2.4 มอบหมายให้ทำรายงานนำเสนอการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมในการทำงานโดยจำลองสถานการณ์ขึ้นมา
5.2.5 มอบหมายให้ศึกษาค้นคว้าสัญลักษณ์ที่ใช้งานในรายวิชาที่ศึกษาจากเทคโนโลยีสารสนเทศและนำเสนอ
5.3.1 ประเมินจากรายงานและการใช้ภาษาไทยที่กระชับและเข้าใจได้ง่ายโดยการนำเสนอ
5.3.2 ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
5.3.3 ประเมินจากรายงานนำเสนอทักษะในการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองและการนำเสนอผลงาน
5.3.4 ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
5.3.5 ประเมินจากผลการศึกษาค้นคว้าและการนำเสนอ
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างเหมาะสม
6.2.1 ปลูกฝังและเน้นย้ำให้นักศึกษามีการวางแผนการทำงานก่อนลงปฏิบัติงาน
6.3.1 ประเมินจากการสังเกต การลงฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6 - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค ไม่มี 0%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2, 4.1 – 4.6 - ปฏิบัติงานด้านการฝึกงานเครื่องมือกลตามแต่ละหัวข้อ - วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม - การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 90%
3 1.1 – 1.7, 3.1 - การเข้าเรียน การตรงต่อเวลา - การมีส่วนร่วมงานกลุ่มการเสนอความคิดเห็นในกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 10%
[1]  วิโรจน์  สุวรรณรัตน์,งานเครื่องมือกลเบื้องต้น 1,กรุงเทพฯ : เอมพันธ์, 2538
[2]  ชะลอ การทวี, งานเครื่องมือกลเบื้องต้น, กรุงเทพฯ:เอมพันธ์, 2546
[3]  บุญศักดิ์  ใจจงกิจ, ทฤษฎีเครื่องมือกล, กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2556
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อการประมวลผลที่เกี่ยวกับงานเครื่องมือกล
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนจากอาจารย์ในหลักสูตร
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่นในหลักสูตร หรือผู้ทรงคุณวุฒิ
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4