การจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

Farm Management for Aquaculture

1. เข้าใจการจัดทำโครงการธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และระบบการตลาดเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2. เข้าใจหลักการวิเคราะห์ธุรกิจฟาร์ม การจัดทำบัญชีฟาร์มสัตว์น้ำ 3. เพื่อให้นักศึกษามีเจตคติและลักษณะนิสัยที่ดีในการจัดการธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยความรับผิดชอบ ละเอียด รอบคอบ และมีคุณธรรมจริยธรรม
เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รวมทั้งทักษะการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผ่านทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ฝึกค้นหาข้อมูลและวิทยาการใหม่ๆ จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง และนำมาแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยการเสวนาแบบโต๊ะกลม (Share information)
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการธุรกิจฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดการธุรกิจ การบันทึกกิจการ การจัดทำบัญชีฟาร์ม การวัดผลสำเร็จและการวิเคราะห์ธุรกิจฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ให้คำปรึกษาจำนวน 1.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทุกวันพุธ  เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาประมง
- มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม - มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ - มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม - เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- สอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมระหว่างการสอน เช่น ความซื่อสัตย์ การไม่คัดลอกผลงาน เป็นต้น - สังเกต บันทึกพฤติกรรมการเรียน การปฏิบัติการการทดลอง การบันทึกผลและรายงานผลการทดลอง การแต่งกายและตรงต่อเวลา - มอบหมายงานกลุ่ม
- ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา - ประเมินความมีวินัยและความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย - ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ - เคารพในการแสดงออกทางความคิดของผู้ร่วมงาน และการรับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน
- มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา - สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา - สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- มอบหมายให้ศึกษาบทเรียนและทำความเข้าใจล่วงหน้า - บรรยายเนื้อหาโดยใช้สื่อประกอบ และยกตัวอย่างกรณีศึกษา - แบ่งกลุ่มนักศึกษา และให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง โดยไปหาข้อมูลจากสถานประกอบการที่สนใจ - ยกตัวอย่างสถานการณ์ในปัจจุบัน
- ประเมินผลจากการสอบด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี - ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย - ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา
- มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ - มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
- ระดมสมองในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างเป็นระบบ - ทำการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องอย่างเป็นระบบ - ทำการวิเคราะห์ข้อมูล/คำนวณ (ถ้ามี )
- ประเมินผลจากรายงานผลการทดลอง และการตอบปัญหาในชั้นเรียน
- มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี - มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ - สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม - สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- การเรียนแบบร่วมมือ ร่วมคิด โดยจัดกิจกรรมกลุ่มย่อย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนำเสนอด้วยการรายงานหน้าชั้น
- ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม การแบ่งหน้าที่
- สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม - สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม - สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การบรรยายจากวิทยากรภายใน - การสาธิตลงมือปฏิบัติ - กำหนดโจทย์ให้นักศึกษาไปสืบค้นโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประเมินจากการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข/จัดเก็บข้อมูลการทดลองอย่างเป็นระบบ - ประเมินจากใบงาน และความเข้าใจในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2
1 BSCAG308 การจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 2.1, 2.2, 3.1, 5.2 แบบทดสอบ ตลอดภาคการศึกษา 50%
2 2.2, 3.2, 3.3, 4.1, 5.1 งานมอบหมาย, รายงาน ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1, 3.2, 4.1, 4.2 จิตพิสัย (พฤติกรรมในการเรียน) ตลอดภาคการศึกษา 10%
สะเทื้อน ปิ่นน้อย. 2547. หลักการจัดการฟาร์มสัตว์น้ำ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะประมง ภาควิชาการจัดการประมง, กรุงเทพฯ.
อุธร  ฤทธิลึก. 2548. การจัดการฟาร์มสัตว์น้ำ. ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 176 น.
จำลอง  มังคละมณี. บทที่ 1 สภาพทั่วไปธุรกิจฟาร์มสัตว์น้ำ. วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์. แหล่งที่มา http://sites.google.com/site/fishfarm53/xeksar-wichakar-cadkar-farm-satw-na/bththi1sphaphthawpithurkicfarmsatwna
จำลอง  มังคละมณี. บทที่ 2 หลักเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ในการจัดการฟาร์มสัตว์น้ำ. วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์. แหล่งที่มา http://sites.google.com/site/fishfarm53/xeksar-wichakar-cadkar-farm-satw-na
จุฑามาศ  ทะแกล้วพันธุ์. การจัดการฟาร์มสัตว์น้ำ. สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. แหล่งที่มาhttps://docs.google.com/viewer?a=v&pid=sites&srcid=ZGVmYXVsdGRvbWFpbnxjaHV0aGFtYXRhdWl8Z3g6NmQ3YzZlY2I2ZGJiMGVlYg
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
     1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2  การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน
     1.3  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
     2.1 การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอน  การตอบสนอง  การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
     2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
     2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
     - อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาทุกภาคการศึกษา มีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
           มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   ปรับปรุงสื่อการสอนให้ทันกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย