การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Data Communication and Computer Network System

เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย แบบจำลองเครือข่าย รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย เครือข่ายแลนอีเทอร์เน็ต เครือข่ายไร้สาย โพรโตคอล เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฝึกปฏิบัติการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายเลขไอพี การทำซับเน็ต การติดตั้งระบบปฏิบัติการเครือข่าย
- เพื่อความทันสมัย และความสอดคล้องของรายละเอียดเนื้อหากับเทคโนโลยีในปัจจุบัน
- เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำเนื้อหาไปประยุกต์ใช้งานได้
ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย แบบจำลองเครือข่าย รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย เครือข่ายแลนอีเทอร์เน็ต เครือข่ายไร้สาย โพรโตคอล เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฝึกปฏิบัติการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายเลขไอพี การทำซับเน็ต การติดตั้งระบบปฏิบัติการเครือข่าย
Study of communication and network foundation, network model, network topology, local area network and ethernet, wireless network, protocol, and Internet. Practice in networking installation, IP address, subnet assignmet, and network operating system.
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
ฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม (1.5) สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม (1.6)
 
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
1.2.2    มอบหมาย และชี้แจงข้อกำหนดในการส่งงาน เพื่อฝึกในเรื่องการตรงต่อเวลา และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
1.2.3    สอดแทรกคุณธรรม และจริยธรรมในระหว่างการพูดคุยซักถามปัญหา และให้คำปรึกษา
1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.2   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (2.1)
2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา (2.2)
 2.1.3 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด (2.3)
2.1.4 รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง (2.5)
2.1.5 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ (2.6)
2.2.1 บรรยายประกอบสื่อ
2.2.2 ทำแบบทดสอบ
2.2.3 มอบหมายงานค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุป และนำเสนอ
2.3.1 สอบกลางภาค และปลายภาคด้วยข้อสอบ
2.3.2 นำเสนอจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
  พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์โจทย์ และแก้ไขปัญหาโดยสอดคล้องกับคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้
              3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ   (3.1)
              3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  (3.3)
              3.1.3 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่าง
เหมาะสม  (3.4)
  3.2.1   มอบหมายงานให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาในกรณีศึกษา นำความรู้ที่ได้เรียนมาแก้ไขปัญหาในกรณีศึกษา และนำเสนอผลการแก้ปัญหา
3.3.1 การทดสอบ โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์กรณีศึกษาและประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา
3.3.2 การประเมินแบบฝึกหัด ในการวิเคราะห์กรณีศึกษาและประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ (4.1)
4.1.2  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม (4.3)
4.1.3  มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง  (4.6)
4.2.1   ให้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มอบหมายงานกลุ่มและรายบุคคล และการนำเสนอรายงาน
4.3.1   ให้คะแนนผลงานเป็นกลุ่ม
     5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (5.1)
      5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม (5.3)
5.1.3 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม (5.4)
5.2.1   มอบหมายงานให้นักศึกษาไปค้นคว้าด้วยตนเอง ทางอินเทอร์เน็ต
5.2.2   นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากความสามารถในการอภิปราย กรณีศึกษาต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการนำเสนอ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลละความรับผิดชอบ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 2 5 1 2 4 5 4 6
1 BSCCT603 การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การทดสอบกลางภาค ทดสอบ 8 30 %
2 การทดสอบปลายภาค ทดสอบ 17 30 %
3 การทำรายงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
4 การทำใบงานการทดลอง การนำเสนอผลการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา 10 %
5 การทำแบบฝึกหัดท้ายบท จำนวนแบบฝึกหัดที่ส่ง ตลอดภาคการศึกษา 10 %
6 การเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน จำนวนครั้งที่เข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2552). เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมเกียรติ รุ่งเรืองลดา.  (2551).  คู่มือดูแลระบบ Network ฉบับมืออาชีพ.  กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2540).  สร้างและพัฒนาระบบ  LAN ปฏิบัติได้จริง.  กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
แชทท์, สแตน.  (2540).   เรียนรู้และเข้าใจการทำงาน Local Area Networks.  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เดอร์เฟลอ, แปรงค์ เจ., (2538). นำทางสู่การเชื่อมโยงเครือข่าย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เทเนนบาม, แอนดรูว์.  (2542).  Computer Networks: คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก.   กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
ปิยะ สมบุญสำราญ และไพโรจน์ ไววานิชกิจ.  (2546). ศาสตร์และศิลปะในการติดตั้งระบบเครือข่ายชั้นเซียน 2.  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 
ปิยะ สมบุญสำราญ.  (2545).  ศาสตร์และศิลปะในการติดตั้งระบบเครือข่ายชั้นเซียน.  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 
พิพัฒน์ หิรัณย์วณิชชากร. (2542). ระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์.  กรุงเทพฯ,  ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วิรินทร์ เมฆประดิษฐสิ.  (2550).  คัมภีร์ตรวจซ่อมระบบเครือข่าย.  กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน,
ฝ่ายผลิตหนังสือตำราวิชาการคอมพิวเตอร์ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).  (2551).  คอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปองภพ เหล่าชัยกุล & อัฐภรณ์ ผ่านสำแดง.  (2551).  การทดสอบเจาะระบบกรณีศึกษาระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น.  [ขอนแก่น] : ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
e-Learning รายวิชา การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- หนังสือที่เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

    3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาสอบถามผลการสอบเพื่อทราบถึงข้อผิดพลาด  และสามารถนำไปปรับปรุงตนเองและเตรียมพร้อมในการสอบครั้งต่อไป
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   พัฒนาวิธีการสอนโดยนำระบบ e-Learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4