การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

International Business Management

รู้เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยเกื้อหนุนต่อการขยายตัวของธุรกิจระหว่างประเทศ เข้าใจกระบวนการและขั้นตอนของการจัดการในองค์การธุรกิจระหว่างประเทศเข้าใจวิธีการทำงาน วิธีการวิเคราะห์และปรับปรุงวิธีการทำงาน รู้วิธีดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศด้วยการจัดการสมัยใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ ของบริษัทข้ามชาติ เข้าใจผลกระทบของความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการระหว่างประเทศ ด้วยความรู้ คุณธรรมและจริยธรรมที่ดี
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน และความเข้าใจต่อสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในระดับสากล ทั้งนี้นักศึกษาจะได้มีการเตรียมความพร้อมต่อการนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสม ด้วยการบูรณาการร่วมกับสาระการเรียนรู้ของศาสตร์อื่น ๆ เช่น เทคนิคการจัดการสมัยใหม่ กระบวนการจัดการการผลิต ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการและการวางแผน รวมทั้งนักศึกษาจะได้มีการปรับตัวและเรียนรู้ถึงการทำงานร่วมกันบนความแตกต่างของวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างเหมาะสม
ศึกษาพื้นฐานของการขยายตัวของธุรกิจระหว่างประเทศ ปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยเกื้อหนุนต่อการขยายตัวสู่ธุรกิจระหว่างประเทศ กระบวนการทางการจัดการที่เกิดขึ้นในองค์การระหว่างประเทศ การลงทุนในต่างประเทศ กระบวนการวางแผน การจัดองค์การ การนำพาธุรกิจ และการควบคุมการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ศึกษาผลกระทบในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม และศึกษากลยุทธ์ทางการจัดการสมัยใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการของบริษัทข้ามชาติในยุคปัจจุบัน To study the expansion of international business. Fundamentals and factors are supported to expansion of international business. Managerial process that occurs in international organizations, Foreign Direct Investment, planning process, organizing, leading businesses and control of international operations. This course focuses on the effects of various forms which arise from cultural differences. And to study modern management and strategies in various forms used in the management of multinational companies at present
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ จำนวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก (●) และความรับผิดชอบรอง (○)

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ● 1.มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์ สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ○ 2. มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึก รับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม ○ 3. มีความเคราระต่อกฎระเบียบ และข้อบังคบต่างๆขององค์กรและสังคม ○ 4. มีความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ   5.มีทัศนะคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์   6.สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม
หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา Covid-19 ยังไม่เป็นปกติ การเรียนการ
สอนต้องมีปรับเปลี่ยนรูปแบบจากปกติแบบในห้องเรียนเป็นการสอนแบบ Online อาจารย์ผู้สอนจะบรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ได้รับมอบหมาย การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลาตามเวลานัดหมาย
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก (●) และความรับผิดชอบรอง (○)

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ด้านความรู้ ● 1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา วิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาที่ศึกษากับความรู้ในศาตรณอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง ○ 2. มีความรู้ความเข้าใจสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรง
ชีวิตประจำวัน ● 3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการะบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์กร การปฏิบัติ การควบคุมและผลดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ○ 4. มีความรู้กับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน   5.สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบ องค์ประกอบต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด   6.สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง   7.รู้ เข้สาใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง   8.มีความรู้ในแนวกวางของสาขาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกี่ยวข้อง   9.มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟแวร์ที่ใช้งานได้จริง
หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา Covid-19 ยังไม่เป็นปกติ การจัดรูปแบบการ
สอนในห้องเรียนจะเปลี่ยนเป็นการเรียนการสอน online โดยใช้โปรแกรม Microsoft Team ใช้เป็นห้องเรียนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เพื่อสนับสนุนด้านการเรียนการสอนให้เป็นไปตามตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก้เพื่อนร่วมชั้นเรียน
หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา Covid-19 ยังไม่เป็นปกติ การสอบกลางภาค
และปลายภาคที่จัดสอบในชั้นเรียน จะมีการปรับเปลี่ยนเป็นการทำข้อสอบผ่านระบบ Microsoft forms หรือ RMUTL education และปรับเปลี่ยนลักษณะข้อสอบให้เหมาะสมกับสถานการณ์และการประเมินผล ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย และ การเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย
รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้าในชั้นเรียน
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก (●) และความรับผิดชอบรอง (○)

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ด้านทักษะทางปัญญา ○ 1.สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง ● 2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ ○ 3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพท่อให้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป   4. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ   5.สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงาน การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนรวมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความเห็น
ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและ
เอกสารรายงาน
โดยแสดงความรับผิดชอบหลัก (●) และความรับผิดชอบรอง (○)

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ● 1.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคาระความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมและสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ ○ 2. มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ๆได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม   3. มีความสามารถในหารประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้องทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงานในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน ○ 4. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง   5.สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ   6.มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม   7.สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการนำเสนอ
โดยแสดงความรับผิดชอบหลัก (●) และความรับผิดชอบรอง (○)

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ○ 1.สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตักสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน ● 2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจโดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการเครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ ○ 3. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ   4. มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์   5.สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์   6.มีสามารถใช้เทคโนโลยีสาสรสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้า และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยงข้อง
2. จัดกิจการรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
3. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2.พฤติกรรม การนำเสนอผลงาน และความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสารของนักศึกษาเพื่อการสื่อสาร
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6
1 BBABA209 การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 - การสอบกลางภาค - การสอบปลายภาค 9,17 30% 30%
2 1.1, 2.1,3.1,4.1,51 วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและ ผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1 การเข้าชั้นเรียน เข้าร่วมกิจกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
หลักการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ, 2561. รศ.ดร.สมชนก ภาสกรจรัส
การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ, 2548. ดร.ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์
การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ, 2560. รศ.ดร.ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน
3. ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาระหว่างเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชา
มีการเพิ่มกรณีศึกษาให้ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบันและแลกเปลี่ยนความเห็นในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการ
เรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบกลางภาคและปลายภาค และหลังจากการตัดเกรดผลการเรียนในรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในรายวิชาดังนี้
4.1 การทวนสอบจากการออกข้อสอบ การให้คะแนนสอบ หรืองานที่มอบหมาย และรวมถึงการให้คะแนนพฤติกรรมโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างการเข้าเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการ
สอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะผละผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือปรับปรุงกิจกรรม/โครงการ/โครงการที่มอบหมายเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการประยุกต์ความรู้นี้กับสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง